ย้อนรอย "คดีแอชตัน อโศก" ศรีสุวรรณ จรรยา นำชาวบ้านฟ้องคอนโดหรู

27 ก.ค. 2566 | 19:54 น.
อัปเดตล่าสุด :28 ก.ค. 2566 | 07:59 น.

ย้อนรอย "คดีแอซตันอโศก" ศรีสุวรรณ จรรยา" สวมหัวโขนนายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน นำชาวบ้านในพื้นที่ถนนสุขุมวิท ซอย 19 แยก 2 เขตวัฒนา กทม. 16 คน เป็นโจทก์ ยื่นฟ้องคอนโดหรู

กลายเป็นประเด็นร้อน สะเทือนวงการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของไทยและผู้บริโภคเมื่อศาลปกครองสูงสุด มีคำพิพากษาเมื่อวันที่27กรกฎาคม2566  ยืนตามศาลปกครองกลาง สั่งเพิกถอนใบอนุญาตก่อสร้างคอนโดมิเนียม "แอชตัน อโศก" ไม่ชอบด้วยกฎหมาย   ตามที่ นายศรีสุวรรณ จรรยา นายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน ร่วมกับร่วมกับชาวบ้านในพื้นที่ถนนสุขุมวิท ซอย 19 แยก 2 เขตวัฒนา กทม. จำนวน 16 คน เป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง

ผู้อำนวยการสำนักงานเขตวัฒนา ผู้อำนวยการสำนักการโยธากรุงเทพมหานคร   ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และคณะกรรมการผู้ชาญการพิจารณารายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านอาคาร การจัดสรรที่ดิน และบริการชุมชน เป็นผู้ถูกฟ้องที่ 1-5  ต่อศาลปกครองกลาง ตั้งแต่วันที่ 2 มิถุนายน 2559เป็นต้นมา

ฐานใช้อำนาจโดยมิชอบด้วยกฎหมายด้วยการอนุญาตให้ บริษัทอนันดา เอ็มเอฟ เอเชียอโศก ดำเนินการก่อสร้างโครงการอาคารชุดที่พักอาศัยแอชตัน อโศก โครงการอาคารสูงขนาดใหญ่พิเศษ ขนาดความสูง 50 ชั้น ชั้นใต้ดิน 1 ชั้น ในพื้นที่ขนาด 2 ไร่ 3 งาน 47.6 ตารางวาในซอยสุขุมวิท 19 แยก2 โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากที่ดินดังกล่าวมีด้านที่ดินถนนสาธารณะเพียง 6.40 เมตรเท่านั้น ไม่ถึง 12 เมตรตามที่กฎหมายกำหนด แม้จะขอเช่าจาก รฟม.เพิ่มอีก  6.60 เมตร แต่ก็หาใช่ที่สาธารณะไม่    

 ศาลปกครองกลางครั้งนั้นได้วินิจฉัยว่า ที่ดินที่ใช้เป็นที่ตั้งของอาคารโครงการแอชตัน อโศก ไม่มีด้านหนึ่งด้านใดของที่ดินยาวไม่น้อยกว่า 12 เมตร ติดถนนสาธารณะที่มีเขตทางกว้างไม่น้อยกว่า 18 เมตร ยาวต่อเนื่องกันโดยตลอดจนไปเชื่อมต่อกับถนนสาธารณะอื่นที่มีเขตทางกว้างไม่น้อยกว่า 18 เมตร ตามที่กำหนดไว้ในข้อ 2 วรรคสอง ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 33 (พ.ศ. 2535) ออกตามความใน พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522

 ในวันเดียวกันที่ศาลปกครองสูงสุดพิพากษา  นายประเสริฐ แต่ดุลยสาธิต ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายงานธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ บมจ.อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ กล่าวว่า ทางบริษัทเคารพในคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด ขณะนี้บริษัทและเจ้าของร่วม 580 ครอบครัว จำนวน 668 ยูนิต ได้รับผลกระทบร่วมกันบนความถูกต้องและสุจริต หลังจากนี้บริษัทจะต้องหาทางออกเพื่อเยียวยาต่อไป เบื้องต้นบริษัทจะมีการประชุมร่วมกับเจ้าของร่วมในโครงการทันทีคาดว่าใช้เวลา14วันนับจากวันที่ศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษา

 ย้อนคดีพิพาทกรณีเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และละเลย ต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติผู้ฟ้องคดีที่ 1 ถึงผู้ฟองคดีที่ 9 ผู้ฟ้องคดีที่ 15 ผู้พีองคดีที่ 16 ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1ถึงผู้ถูกฟ้องคดีที่ 4 และผู้ร้องสอดอุทธรณ์คำพิพากษาศาลปกครองกลาง คดีหมายเลขดำที่ ส.  53/2559 หมายเลขแดงที่ ส. 19/2564

คดีนี้ผู้ฟ้องคดีทั้ง16ฟ้องและแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องว่า ผู้ฟ้องคดีที่ 1 เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมสิทธิและหน้าที่ของประชาชนตามรัฐธรรมนูญในการจัดการด้านการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติให้ใช้ประโยชน์ได้อย่างสมดุล ยั่งยืนและเกิดความมั่นคงทางนิเวศ ได้รับหนังสือลงวันที่  26 กุมภาพันธ์  2558 จากผู้ฟ้องคดีที่ 2ถึงผู้ฟ้องคดีที่ 16

ให้ดำเนินการช่วยเหลือในการฟ้องคดีกรณีได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติและปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งห้า กล่าวคือ ผู้ฟ้องคดีที่ 2ถึงผู้ฟ้องคดีที่ 16 อาศัยอยู่ในชุมชนบริเวณชอยสุขุมวิท 19 (ซอยวัฒนา) แยก 2 และบริเวณข้างเคียงโครงการแอชต้น อโศก(ASHTON ASOKE)

ของบริษัท อนันดา เอ็มเอฟ เอเชีย อโศก จำกัด หรือบริษัท อนันดา ดีเวลลอปม้นท์ ทู จำกัด มาเป็นเวลานาน สามารถเข้าออกบ้านพักอาศัยและใช้ประโยชน์จากซอยสุขุมวิท 19 แยก 2 หรือซอยบ้านสามพี่น้องเดิม ซึ่งเป็นทางสาธารณประโยชน์ โดยที่ดินบริเวณที่ตั้งโครงการตามโฉนดที่ดินเลขที่ 2451 เลขที่ดิน 2122  และโฉนดที่ดินเลขที่ 2452เลขที่ดิน  2120ตำบลคลองเตยเหนือ อำเภอวัฒนา กรุงเทพมหานคร เดิมเป็นพื้นที่ว่างเปล่า

ตั้งอยู่ท้ายซอยสุขุมวิท  19 แยก 2 ที่ดินทั้งสองแปลงมีทางสาธารณประโยชน์คั่นกลางและสามารถเข้าออกได้ทางซอยสุขุมวิท 19 แยก 2 ซึ่งมีความกว้างประมาณ 3 เมตรเศษ เท่านั้นต่อมา บริษัท อนันดา เอ็มเอฟ เอเชีย อโศก จำกัด หรือบริษัท อนันดา ดีเวลลอปเมันท์ ทู จำกัดได้ซื้อที่ดินทั้งสองแปลงดังกล่าว

รวมทั้งที่ดินตามโฉนดที่ดินเลขที่ 2345  เลขที่ดิน 2160 ตำบลคลองเตยเหนือ อำเภอวัฒนา กรุงเทพมหานคร เพื่อใช้ดำเนินโครงการแอขตัน อโศกซึ่งเย็นโครงการก่อสร้างอาคารชุดพักอาศัย ความสูง 50ชั้น อันเป็นอาคารขนาดใหญ่พิเศษและผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ปฏิบัติราชการแทนผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 ในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.  2522ไต้ออกใบรับหนังสือแจ้งความประสงค์จะก่อสร้างดัดแปลง รื้อถอนหรือเคลื่อนย้ายอาคาร หรือเปลี่ยนการใช้อาคาร

โดยไม่ยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามมาตรา 39 ทวิ ตามแบบ กทม. 6 เลขที่ 68/ 2558 ลงวันที่  16  กรกฎาคม 2558  อนุญาตให้บริษัท อนันดา เอ็มเอฟ เอเชีย อโศก จำกัด หรือบริษัท อนันดา ตีเวลลอปเม้นท์ ทู จำกัดดำเนินการก่อสร้างอาคารดังกล่าว และผู้ถูกฟ้องคดีที่ 5 ได้ให้ความเห็นชอบรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ของบริษัท อนันดา เอ็มเอฟ เอเชีย อโศก จำกัด หรือบริษัท อนันดาดีเวลลอปมันท์ ทู จำกัด หลังจากนั้น บริษัท อนันดา เอ็มเอฟ เอเชีย อโศก จำกัด หรือบริษัทอนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ ทู จำกัด ได้ทำรั้วปิดกั้นที่ดินทั้งสามแปลง

ทำให้บุคคลทั่วไปไม่สามารถใช้ทางสาธารณประโยชน์ที่คั่นแบ่งแยกระหว่างที่ดินตามโฉนดที่ดินเลขที่ 2451 เลขที่ดิน  2122กับโฉนดที่ดินเลขที่ 2452เลขที่ดิน21206ได้ผู้ฟ้องคดีทั้ง16เห็นว่า ที่ดินทั้ง3แปลงดังกล่าวไม่สามารถใช้ทำการก่อสร้างอาคารสูงเกิน 23  เมตร หรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษได้เนื่องจากซอยสุขุมวิท 19 แยก2 ซึ่งเป็นทางเข้าออกโครงการมีความกว้างเพียง 3 เมตรเศษต้องห้ามทำการก่อสร้างอาคารสูงเกิน23  เมตร หรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษ ตามกฎกระทรวงฉบับที่33  (พ.ศ.2535 ) และกฎกระทรวง ฉบับที่ 55 (พ.ศ. 2543 )

ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ประกอบกับข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมอาคาร พ.ศ.2544  รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) โครงการแอชตัน อโศกซึ่งจัดทำโดยบริษัท ไท - ไท วิศวกร จำกัด มีการใช้ข้อมูลอันเป็นเท็จและบิดเบือนข้อเท็จจริงหลายประการ โดยเฉพาะการวางแผนผังโครงการและแบบแปลนอาคารทับทางสาธารณประโยชน์และลบทางสาธารณประโยชน์ที่คั่นแบ่งแยกระหว่างที่ดินตามโฉนดที่ดินเลขที่  2451 เลขที่ดิน 2122 กับโฉนดที่ดินเลขที่  2452 เลขที่ดิน  2120 ออกจากระวางที่ดิน

เพื่อนำพื้นที่ไปใช้ในการก่อสร้างโครงการดังกล่าวโดยมิชอบตัวยกฎหมาย แต่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ถึงผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 ละเลยต่อหน้าที่ในการดูแสรักษาทางสาธารณประโยชน์ตามประมวลกฎหมายที่ดิน พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2493 และระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการดูแสรักษาและคุ้มครองช่องกันที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน พ.ศ. 2553

ปล่อยให้บริษัท อนันดา เอ็มเอฟ เอเชีย อโศก จำกัต หรือบริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ ทู จำกัดยึดถือครอบครองที่ดินอันเป็นสาธารณประโยชน์ที่พลเมืองใช้ร่วมกัน บริษัท อนันดา เอ็มเอฟเอเชีย อโศก จำกัด หรือบริษัท อนันดา ตีเวลลอปเมันท์ ทู จำกัด ทำการตอกเสาเข็มจนถึงเวลา22ถึง24 นาฬิกา ซึ่งเป็นช่วงเวลาพักผ่อนของประชาชน มีเสียงตังเกินค่ามาตรฐานที่กฎหมายกำหนด รวมทั้งเกีดปัญหาความสั่นสะเทือน (Vibration)

เนื่องจากพื้นดินของกรุงเทพมหานครมีความอ่อนตัวสูง อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535เป็นเหตุให้ผนังอาคารหรือกำแพงบ้านของประชาชนในบริเวณใกล้เคียงแตกร้าวเสียหายบริษัท อนันดา เอ็มเอฟ เอเชีย อโศก จำกัด หรือบริษัท อนันดา ดีเวลลอปเมันท์ ทู จำกัดมีการปิดกั้นผ้าใบป้องกันฝุ่นละอองเฉพาะบริเวณด้านล่างอาคาร ทำให้กระแสลมสามารถพัดเอาฝุ่นละอองขนาดใหญ่ (SPM) และฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5) ซึ่งอยู่บริเวณด้านบนอาคารฟุ้งกระจายมายังบ้านเรือนของประชาชนในบริเวณใกล้เดียงรัศมีหลายร้อยเมตร

เมื่อโครงการแอชตัน อโศก ดำเนินการแล้วเสร็จจะเกิดผลเสียหายต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรวมทั้งบรรยากาศหรือสภาพอากาศโดยรวมของกรุงเทพมหานคร เพราะอาคารจะปิดกั้นแสงอาทิตย์และทิศทางสม และจะมีแสงตกมากระทบบ้านเรือนของผู้ฟ้องคดีที่ 2 ถึงผู้ฟ้องคดีที่ 16ในช่วงเวลาตั้งแต่หลังเที่ยงวันไปจนถึงเย็น แต่ในการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ไม่มีการจัดทำมาตรการลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมในเรื่องดังกล่าว

นอกจากนั้นผู้ถูกฟ้องคดีที่ 4 อนุญาตให้บริษัท อนันดา เอ็มเอฟ เอเชีย อโศก จำกัด หรือบริษัท อนันดาดีเวลลอปเม้นท์ ทู จำกัด ใช้ที่ดินของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)เป็นทางเข้าออกโครงการแอชตัน อโศก โดยไม่มีคำธิบายที่ชัดเจน และพื้นที่โดยรอบโครงการเป็นชุมชนขนาดใหญ่ มีอาคารสิ่งปลูกสร้างหนาแน่น โดยเฉพาะด้านทิศตะวันออกเป็นที่ตั้งของสำนักงานและอาคารสยามสมาคมในพระบรมราชปถัมภ์ ซึ่งมีอาคารอนุรักษ์ดีเด่นมากมายหลายอาคาร

เช่น อาคาร "เรือนคำเที่ยง" ซึ่งเป็นอาคารหลังแรกที่สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2475ใช้เป็นพิพิธภัณฑ์ชาติพันธุ์วิทยาภาคเหนือของไทยเพื่อประโยชน์ในด้านการศึกษา หากเกิดอัคคีภัยจะเป็นปัญหาและอุปสรรคทางด้านความปลอดภัย ที่ตั้งของโครงการแอซตันอโศกจึงไม่เป็นไปตามข้อ 2วรรคสอง ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 33(พ.ศ.2535 ) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522  

ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 4 อนุญาตให้บริษัท อนันดาเอ็มเอฟ เอเชีย อโศก จำกัด หรือบริษัท อนันดา ดีเวลลอปมันท์ ทู จำกัด ใช้ประโยชน์จากที่ดินที่ รฟม. เวนคืนมาจากประชาชนตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณทีที่จะดำเนินการเพื่อกิจการขนส่งมวลชนในท้องที่เขตจตุจักร เขตบางซื่อ เขตห้วยขวาง เขตดินแดง เขตราชเทวีเขตวัฒนา

เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตสัมพันธวงศ์ เขตปทุมวัน เขตบางรัก เขตคลองเตยและเขตสาทร กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2546  มีความกว้างประมาณ 13เมตร เป็นทางเข้าออกโครงการแอซตัน อโศก สู่ถนนอโศกมนตรี เนื่องจากที่ดินซึ่งเป็นที่ตั้งโครงการแอชตัน อโศกไม่ติดกับถนนสาธารณะที่มีความกว้างไม่น้อยกว่า 18เมตร ตามที่กฎหมายกำหนด

การกระทำของผู้ถูกท้องคดีที่ 4 ดังกล่าวจึงขัดหรือแย้งต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 และพระราชบัญญัติว่าด้วยการจัดหาอสังหาริมทรัพย์เพื่อกิจการขนส่งมวลชนพ.ศ.2540  อันแสดงให้เห็นว่า รฟม, ใช้อำนาจรัฐในการเวนคืนที่ดินโดยกำหนดขอบเขตพื้นที่เวนคืนกว้างเกินไปกว่าการใช้ประโยชน์เพื่อกิจการขนส่งมวลขนและไม่ได้คืนที่ดินส่วนที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ให้กับเจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืนแต่กลับนำที่ดินที่ได้มาจากการเวนคืนตามกฎหมายไปแสวงหาผลประโยชน์ในด้านอื่นที่ไม่มีส่วนเกี่ยวพันใด ๆ กับวัตถุประสงค์ของกิจการ รฟม.อันเป็นการกระทำที่ขัดต่อกฎหมาย

อีกทั้ง ที่ดินบริเวณดังกล่าวไม่มีสภาพเป็นถนนสาธารณะและบริษัท อนันดา เอ็มเอฟ เอเชีย อโศก จำกัด หรือบริษัท อนันดา ตีเวลลอปเม้นท์ ทู จำกัดไม่ได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินตามโฉนดที่ดินเลขที่ 2345 เลขที่ดิน 2160 ทางในที่ดินตามโฉนดที่ดินเลขที่ 23189  เลขที่ดิน  2161 ตำบลคลองเตยเหนือ อำเภอวัฒนากรุงเทพมหานคร ที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 4อนุญาตให้บริษัท อนันดา เอ็มเอฟ เอเชีย อโศก จำกัดหรือบริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ ทู จำกัด ใช้เป็นทางเข้าออกโครงการแอชตัน อโศกไม่สามารถใช้เป็นที่ตั้งอาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษ ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 33(พ.ศ. 2535) และกฎกระทรวง ฉบับที่ 55 (พ.ศ. 2543 )

ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ประกอบกับข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2544 ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 5 มีมติให้ความเห็นชอบรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA)ของบริษัท อนันดา เอ็มเอฟ เอเซีย อโศก จำกัด หรือบริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ ทู จำกัดตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535  โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายหลายประการ

เช่น ไม่มีมาตรการป้องกันการสะท้อนของกระจกผนังอาคารไม่มีมาตรการป้องกันและแก้ไขกรณีเกิดอัคคีภัย ไม่มีมาตรการรองรับผลกระทบจากเศษกระจกวัสดุตกหล่นหากมีการเกิดแผ่นดินไหว ฝ่าฝืนกฎหมายเกี่ยวกับทางเข้าออกโครงการที่ไม่มีทางสาธารณะ นำมาซึ่งปัญหาจราจร ปัญหาสังคม ความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับอาคารอนุรักษ์ในพื้นที่สยามสมาคมในพระบรมราชปถัมภ์

การใช้ที่ดินของ รฟม. ที่ได้มาจากการเวนคืนเป็นทางเข้าออกโครงการ การยึดถือครอบครองทางสาธารณประโยชน์ที่คั่นแบ่งแยกระหว่างที่ดินตามโฉนดที่ดินเลขที่ 2451 เลขที่ดิน2122  กับโฉนดที่ดินเลขที่ 2452 เลขที่ดิน 2120 โดยไม่ขอบด้วยกฎหมาย และปัญหาระบบบำบัดน้ำเสียมีการแสดงข้อมูลในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวตล้อม (EIA) ที่เป็นเท็จ ไม่มีมาตรการป้องกันผลกระทบที่เหมาะสม และไม่ผ่านกระบวนการหรือขั้นตอนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียอย่างถูกต้องตามระเบียบขั้นตอนของกฎหมาย

รวมทั้งไม่มีการบังคับให้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในมาตรการท้ายรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) การที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ถึงผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 และผู้ถูกฟ้องคดีที่ 5 ออกใบอนุญาตให้บริษัท อนันดา เอ็มเอฟ เอเขีย อโศก จำกัด หรือบริษัท อนันดา ดีเวลลอปเมันท์ ทู จำกัดก่อสร้างอาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษในโครงการแอซตัน อโศก จึงเป็นการกระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้ฟ้องคตีทั้ง16จึงนำคดีมาฟ้องต่อศาลปกครองขั้นต้นขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง ดังนี้

1. เพิกถอนใบอนุญาตก่อสร้างอาคารโครงการแอชตัน อโศก (ASHTON ASOKE)ของบริษัท อนันดา เอ็มเอฟ เอเชีย อโศก จำกัด หรือบริษัท อนันดา ตีเวลลอปเมันท์ ทู จำกัดหรือตามแต่ที่ศาลเห็นสมควร

2. เพิกถอนมติของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 5 ในการประชุมครั้งที่6/ 2558 เมื่อวันที่ 22มกราคม 2558 ที่ให้ความเห็นชอบรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) โครงการแอชตัน อโศก (ASHTON ASOKE) ของบริษัท อนันดา เอ็มเอฟ เอเขีย อโศก จำกัด หรือบริษัท อนันดาดีเวลลอปเม้นท์ ทู จำกัด ในส่วนที่ไม่ถูกต้องตามหลักวิซาการและไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์การจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) หรือดำเนินการกำหนดมาตรการอย่างชัดเจนที่สามารถตรวจสอบได้ว่าจะไม่ก่อให้เกิดผลกระทบทางด้านมลพิษและสิ่งแวดล้อมต่อผู้ฟ้องคดีทั้ง16และต่อสาธารณะ

3.ให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 และผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3ใช้อำนาจตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการดูแลรักษาและคุ้มครองป้องกันที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน พ.ศ.2553  ดำเนินการอย่างใด ๆ เพื่อนำทางสาธารณะในชอยสุขุมวิท 19 แยก สองที่คั่นแบ่งแยกระหว่างที่ดินตามโฉนดที่ดินเลขที่2451  เลขที่ดิน 2122 กับโฉนดที่ดินเลขที่  2452เลขที่ดิน 2120 ตำบลคลองเตยเหนือ อำเภอวัฒนา กรุงเทพมหานคร ที่บริษัท อนันดา เอ็มเอฟเอเชีย อโศก จำกัด หรือบริษัท อนันดา ตีเวลลอปเมันท์ ทู จำกัด ยึดถือครอบครองเพื่อก่อสร้างโครงการแอชตัน อโศก (ASHTON ASOKE) กลับมาเป็นทางสาธารณประโยชน์ดังเดิม

4.เพิกถอนนิติกรรมใด ๆ ของผู้ถูกฟ้องคดีที่4 เกี่ยวกับการอนุญาตให้บริษัทอนันดา เอ็มเอฟ เอเชีย อโศก จำกัด หรือบริษัท อนันดา ดีเวลลอปเมันท์ ทู จำกัด ใช้ที่ดินของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ซึ่งได้มาโดยการเวนคืนจากประชาชนเป็นทางเข้าออกโครงการแอชตัน อโศก (ASHTON ASOKE)

5. ให้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งอย่างใด ๆ ในประเด็นเกี่ยวกับการที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 4ออกประกาศกำหนดประเภทการอนุญาตให้ใช้ประโยชน์ในที่ดินของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยเป็นทางผ่าน พ.ศ.  2556 และฉบับที่ 2 พ.ศ.2557  เป็นการออกประกาศที่ไม่เป็นไปตามขั้นตอน วิธีการตามที่กฎหมายกำหนด และไม่ขอบด้วยกฎหมาย