กลุ่มผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในภาคอสังหาริมทรัพย์และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง ได้รวมตัวกันเพื่อแสดงจุดยืนและเรียกร้องให้ทุกภาคส่วนร่วมกันขับเคลื่อนเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเร่งมาตรการกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์อย่างเร่งด่วน
กลุ่มผู้ประกอบการดังกล่าวประกอบด้วยธุรกิจตั้งแต่ระดับสตาร์ตอัปที่เปิดดำเนินการไม่ถึง 10 ปี ไปจนถึงโรงงานที่ดำเนินกิจการมากว่า 60 ปี ระบุว่า วิกฤตในครั้งนี้รุนแรงที่สุดเท่าที่เคยเผชิญมา และเทียบได้กับวิกฤตต้มยำกุ้งในปี 2540 แม้จะเกิดขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไป
ผู้ประกอบการที่ร่วมยื่นข้อเสนอในครั้งนี้ ประกอบด้วยบริษัทในหลายธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอสังหาริมทรัพย์ ดังนี้ บริษัท กรีนสเปซ จำกัด ผู้รับเหมาก่อสร้างงานภูมิทัศน์, บริษัท คริสตัลวิว วินโดว์แอนด์ดอร์ จำกัด ผู้ผลิตและติดตั้งประตูหน้าต่างอะลูมิเนียม, บริษัท จินดาโชติ จำกัด ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง, บริษัท ไทย สแทร์ จำกัด ธุรกิจงานเหล็กบันได, บริษัท ใบหญ้า สตูดิโอ จำกัด ธุรกิจออกแบบสถาปัตยกรรมและตกแต่งภายใน, บริษัท ฟายด์ เวอร์ค จำกัด ผู้รับเหมาก่อสร้างและผลิตชิ้นส่วนพรีคาสต์, บริษัท เฟรมเทค วินโดว์ แอนด์ ดอร์ จำกัด ผู้ผลิตและติดตั้งประตูหน้าต่างอะลูมิเนียม, บริษัท สยามแกรนด์ อลูมิเนียม จำกัด ผู้ผลิตและติดตั้งประตูหน้าต่างอะลูมิเนียม, บริษัท เอส.เอช.แอล.พาราวู้ด จำกัด ผู้ผลิตพื้นไม้เอ็นจิเนียร์และวัสดุปูพื้น, และ บริษัท เอ็ม.เอ็ม.เค คอมเมอร์เชียล จำกัด ธุรกิจจำหน่ายพื้นไม้ลามิเนตและพื้นสำหรับภายในอาคาร
ทั้งนี้ ผู้ประกอบการได้พยายามปรับตัวมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงโควิด-19 ทั้งการปรับโครงสร้างพนักงาน ลดสวัสดิการ ลดเวลาทำงาน และขยายฐานลูกค้าใหม่ แต่ยังคงมีภาระเงินกู้และดอกเบี้ยที่กู้ยืมในช่วงโควิด-19
ส่งผลให้สถานะการเงินในปัจจุบันฝืดเคือง ขณะเดียวกัน ผู้ประกอบการบางรายต้องนำเงินทุนสะสมมาใช้ในการจ่ายภาระที่เป็นค่าใช้จ่ายคงที่ (Fixed cost) ซึ่งหากสถานการณ์ไม่ดีขึ้นเงินทุนสะสมก็จะหมดลงและนำไปสู่การปลดคนงานได้
ทั้งนี้ กลุ่ม SMEs ได้เสนอ 7 มาตรการเร่งด่วนเพื่อกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์และธุรกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
นอกจากนี้ มาตรการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์ที่รัฐบาลออกมา รวมถึงที่อยู่ระหว่างการพิจารณา กลุ่มผู้ประกอบการมองว่า จะเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยกระตุ้นการตัดสินใจซื้อได้เป็นอย่างดี ซึ่งหวังว่าภาคส่วนที่เกี่ยวข้องจะมีการร่วมมือกันสนับสนุนให้เกิดขึ้นจริง เพื่อบรรเทาปัญหาที่อาจจะก่อให้เกิดวิกฤตในกลุ่มของตนในอนาคตอันใกล้นี้
ก่อนหน้านี้ ในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจเติบโต ผู้ประกอบการได้เกิดแนวคิดในการจ้างงานใหม่ที่จะเติบโตและมีส่วนช่วยเหลือสังคมได้ เช่น นโยบายสร้างงานให้กับกลุ่มชาวบ้านที่เดิมยึดอาชีพทำไร่ ซึ่งกิจกรรมบางส่วนกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งปัจจุบันผู้ประกอบการหลายภาคส่วนได้ทำการปลดพนักงานไปแล้วจำนวนมาก บางแห่งลดพนักงานไปมากกว่าครึ่ง
อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการแสดงความกังวลว่าหากสถานการณ์ไม่ดีขึ้น อาจนำไปสู่การเลิกจ้างพนักงานอีกจำนวนมาก ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อของประเทศในวงกว้าง นอกจากนี้ ยังมีความเสี่ยงที่แรงงานที่ถูกเลิกจ้างอาจกลับไปประกอบอาชีพเดิมที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การเผาป่าหรือถางป่าเพื่อทำการเกษตร
กลุ่ม SMEs จึงได้เรียกร้องให้ทุกภาคส่วนร่วมมือกันผลักดันมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจให้เกิดขึ้นจริง เพื่อบรรเทาปัญหาและป้องกันวิกฤตที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้