"ลดราคาน้ำมัน" หนึ่งในนโยบายที่ถูกตจับตามองมากที่สุดภายใต้ ครม.เศรษฐา1 ภายใต้การบริหารงานโดย นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
สำหรับแนวทางที่นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน จะลดราคาพลังงาน ได้พิจารณาองค์ประกอบ ดังนี้ 1.ภาษี 2.ค่าการตลาด 3.ภาระการเงินและเงินกู้ รวมถึงบางองค์ประกอบที่ควบคุมไม่ได้ เช่น ต้นทุนของก๊าซธรรมชาติในการผลิตไฟฟ้า โดยรัฐบาลจะพิจารณาโครงสร้างและองค์ประกอบของราคาพลังงานที่ลดลงได้
อีกทั้งยังมองราคาน้ำมันราคาถูกพิเศษสำหรับประชาชนบางกลุ่ม เช่น น้ำมันเขียวสำหรับกลุ่มชาวประมง ซึ่งจะดำเนินการเช่นนี้ กับเกษตรกรกลุ่มอื่นด้วย
นอกจากนี้ จะเปิดเสรีการหาน้ำมันสำเร็จรูปที่ไม่ต้องมีค่าการกลั่นหรือค่าใช้จ่ายอื่น โดยถ้าใคร นำพลังงานราคาถูกเข้ามาได้ก็ควรเปิดให้ทำได้ โดยภาครัฐจะกำกับดูแลให้การจัดหาพลังงานเป็นไปโดยสะดวกและรวดเร็ว ซึ่งกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับพลังงานมี 4 ฉบับ จะมีการปรับแก้หากเป็นอุปสรรคต่อการนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูป
จากกาารตรวจสอบของ "ฐานเศรษฐกิจ" เกี่ยวกับการลดราคาน้ำมันนั้น พบว่า
การ"ลดราคาน้ำมัน" กลุ่มดีเซล รัฐบาลน่าจะทำให้ลงมาอยู่ที่ 30 บาทต่อลิตร จากปัจจุบันที่มีนโยบายตรึงราคาไว้ไม่ให้เกิน 32 บาทต่อลิตร โดยใช้กลไกลจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเข้าไปช่วยอุกหนุน ซึ่งล่าสุดอยู่ที่ประมาณลิตรละกว่า 6 บาท
แหล่งข่าวจากกระทรวงพลังงาน ระบุว่า หากจะให้เป็นไปตามนโยบาย น้ำมันดีเซลน่าจะต้องถูกปรับลดให้เหลือ 30 บาท เพราะหากตรึงให้อยู่ราคาเดิมคงไม่ได้เรียกว่า"ลดราคาน้ำมัน"
ส่วนกลไกลที่จะใช้นั้น ปัจจุบันยังไม่ได้มีการหารือร่วมกัน โดยคาดว่าหลังจากที่รัฐบาลแถลงนโยบายตค่อรัฐสภาฯเรียบร้อยแล้วน่าจะชัดเจนมากยิ่งขึ้น
ขณะที่แนวทางที่จะใช้ในการปรับลดราคามองว่าน่าจะใช้คู่กันระหว่างการปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตดีเซล และกลไกลจากกองทุนน้ำมันฯ เพราะรัฐบาลเองเวลานี้ก็มีความเป็นห่วงเรื่องของงบประมาณ อีกทั้งอาจจะมองว่าที่ผ่านมากองทุนน้ำมันฯ ก็สามารถแบกรับภาระได้
สำหรับมาตรการลดภาษีสรรพสามิตดีเซลของรัฐบาลชุดที่ผ่านมา มีการปรับลดทั้งหดมราว 7 ครั้ง กระทบรายได้รัฐ 158,000 ล้านบาท ประกอบด้วย
ด้านฐานะกองทุนน้ำมันฯล่าสุดวันที่ 3 กันยายน 2566 ติดลบอยู่ที่ 57,132 ล้านบาทแบ่งเป็น