สืบเนื่องมาจากคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) มีมติเห็นชอบให้ปรับค่าไฟฟ้างวดเดือน ม.ค.-เม.ย. 67 ส่งผลทำให้ค่าไฟฟ้าที่จะเรียกเก็บจากผู้ใช้ไฟฟ้าทุกประเภทเฉลี่ยรวมอยู่ที่ 4.68 บาทต่อหน่วย (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ปรับขึ้น 0.69 บาทต่อหน่วย จากงวดปัจจุบัน อยู่ที่ 3.99 บาทต่อหน่วย
หลังจากได้มีการประกาศอัตราค่าไฟดังกล่าวจาก กกพ. นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกฯ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ร่วมกันหาแนวทางปรับลดค่าไฟงวดใหม่ให้ต่ำกว่า 4.20 บาทต่อหน่วย โดยล่าสุด แหล่งข่าวกระทรวงพลังงาน ระบุว่า กำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาแนวทางการปรับลดค่าไฟฟ้าให้เหลือ ต่ำกว่า 4.20 บาทต่อหน่วย
ทั้งนี้ เบื้องต้นอาจให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) แบกรับภาระค่าไฟฟ้าแทนประชาชนที่ประมาณ 25 สตางค์ต่อหน่วยไปก่อน รวมถึงจะให้บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ลดราคาค่าก๊าซธรรมชาติสำหรับโรงไฟฟ้าลงเช่นเดียวกัน และให้ประชาชนทยอยจ่ายคืนในรูปแบบของค่าเอฟที(FT) ในภายหลัง
นอกจากนี้ ยังมีในส่วนของการของบประมาณจากภาครัฐเข้ามาชดเชยให้กับประชาชน โดยทั้งหมดจะเป็นมาตรการระยะสั้น แต่จะมีการปรับโครงสร้างราคาพลังงานระยะยาวต่อไป เพื่อที่ประชาชนและภาคอุตสาหกรรมจะได้ไม่ต้องคาดเดาราคาค่าไฟฟ้า ที่ยังไม่ปรับโครงสร้างทุก 4 เดือนอีก
ในส่วนของประชาชนและผู้ใช้งานไฟฟ้า ควรที่จะเตรียมความพร้อมและวางแผนการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้ากันให้ดี เพื่อที่จะเป็นการช่วยประหยัดพลังงาน และลดค่าใช้จ่ายจากค่าไฟที่อาจปรับสูงขึ้น ฐานเศรษฐกิจพาไปดู 15 อันดับ เครื่องใช้ไฟฟ้าที่กินไฟมากที่สุด จากการจัดอันดับของการไฟฟ้านครหลวง(กฟน.) โดยจะแบ่งเป็น 3 หมวดหมู่ ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าที่กินไฟมาก เครื่องใช้ไฟฟ้าที่กินไฟปานกลาง และ เครื่องใช้ไฟฟ้าที่กินไฟต่ำ ดังนี้
15 อันดับ เครื่องใช้ไฟฟ้าที่กินไฟมากที่สุด
เครื่องใช้ไฟฟ้าที่กินไฟมาก (High)
เครื่องใช้ไฟฟ้าที่กินไฟปานกลาง (Medium)
เครื่องใช้ไฟฟ้าที่กินไฟต่ำ (Low)
ขอบคุณที่มา : การไฟฟ้านครหลวง(กฟน.)
ทั้งนี้ เรื่องการปรับขึ้นและลงของราคาค่าไฟฟ้านั้น ยังไม่ได้ข้อสรุปอย่างเป็นทางการ เนื่องจากต้องมีการรวบรวมข้อมูลและเสนอให้คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) พิจารณา เพื่อที่จะดำเนินการนำเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไปได้