นายคงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยในงานสัมมนา “ASEAN Economic Outlook 2025: The Rise of ASEAN, A Renewing Opportunity” ในหัวข้อ ASEAN Energy ransition Towards Sustainability จัดโดยกรุงเทพธุรกิจ ว่า การเปลี่ยนผ่านพลังงานให้ไปสู่พลังงานสะอาดมากขึ้น จะเชื่อมโยงกับความยั่งยืนอย่างไรให้มีความสมดุลทั้งสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม
ทั้งนี้ เป็นที่รู้กันดีว่าภูมิภาคอาเซียนมีจำนวนประชากรมากเกือบ 700 ล้านคน โดยถือเป็นเขตเศรษฐกิจที่สำคัญ มีวัยทำงานมากขึ้น มีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ หรือจีดีพี (GDP) สูงถึง 6% ของโลก
รวมถึงมีการดึงดูดการลงทุนที่ดี ผ่านการขับเคลื่อนในหลายปัจจัย โดยเฉพาะปัจจัยเรื่องของพลังงานที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ว่าโลกต้องไปสู่พลังงานสะอาดที่การเปลี่ยนแปลงต้องราบรื่น
อย่างไรก็ดี ปัจจุบันพลังงานหมุนเวียนยังมีข้อจำกัด ทั้งน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ และถ่านหิน โดยถ่านหินและน้ำมันเริ่มมีการใช้ลดลง เนื่องจากมีการปล่อยคาร์บอนสูงกว่าก๊าซธรรมชาติ เพราะฉะนั้น ก๊าซฯ จึงยังคงเป็นพลังงานที่สำคัญและยังต้องใช้ต่อเนื่อง
นอกจากนี้ ในบริบทสำคัญของอาเซียน ก๊าซฯ ยังถือเป็นแหล่งเชื้อเพลิงที่สำคัญของทั้งไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย และเมียนมา
นายคงกระพัน กล่าวอีกว่า รัฐบาลได้พยายามผลักดันเจรจาการนำทรัพยากรจากพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล หรือ OCA (Overlapping Claims Area) ซึ่งก่อนหน้านี้ได้เจรจาและใช้มาแล้วกับมาเลเซีย ซึ่งแม้จะตกลงเรื่องเขตแดนไม่ได้ก็ใช้การร่วมใช้ทรัพยากรที่มีค่า มาสร้างพัฒนาเศรษฐกิจความเจริญประเทศได้
อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่าจากการนำก๊าซฯ มาผลิตไฟฟ้ามีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงอยู่ จึงต้องทำเรื่องลดการปลดปล่อยคาร์บอนด้วย โดยกลุ่มปตท. จะดำเนินควบคู่ 2 วิธี ได้แก่ การพัฒนาโครงการ Carbon Capture and Storage (CCS) โดย CCS เป็นการนำก๊าซฯ ในอากาศมาเก็บไว้ใต้ดินหรือใต้ทะเล เพื่อลดโลกร้อน ซึ่งไม่ใช่เรื่องใหม่ ทั้งสหรัฐอเมาริกา ยุโรป และเอเชียทำมานานแล้ว ดังนั้นไทยจะมุ่งไปสู่เป้าหมาย Net Zero ก็ต้องมีการนำเทคโนโลยี CCS มาช่วย
และการใช้เชื้อเพลิงไฮโดรเจนในส่วนผสมในกลุ่มอุตสาหกรรมตามแผนพลังงานชาติ (PDP) ของประเทศที่สัดส่วน 5% รวมถึงการปลูกป่า เป็นต้น
นายคงกระพัน กล่าวด้วยว่า จากการเติบโตของ ปตท. ต้องสร้างความมั่นคงพลังงาน สร้างการเติบโต ควบคู่กับการลดก๊าซเรือนกระจก โดยตั้งเป้าหมาย Net Zero ปี 2593 ซึ่งจะมาจากการใช้ C3 ประกอบด้วย