สิ้นสุดลงแล้วกับการแข่งขัน Green Mission by Chula x GULF ภารกิจรักษ์ยั่งยืน โครงการสุดสร้างสรรค์ที่ชวน นักเรียนทั่วประเทศมาปลุกปั้นไอเดียเพื่อสิ่งแวดล้อม ในโจทย์ "Beware Your Step ก้าวต่อไปไร้รอยเท้า" ที่จัดโดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถานีวิทยุแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับบริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) (GULF) จากผู้สมัครกว่า 670 ทีมทั่วประเทศ เลือกเฟ้นเหลือ 20 ทีมที่ได้เข้าค่ายและแข่งขัน Hackathon อย่างเข้มข้น ณ ศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค จุฬาฯ จังหวัดสระบุรี ก่อนเหลือเพียง 8 ทีมสุดท้ายที่ได้นำเสนอรอบชิงชนะเลิศ และทีมที่คว้ารางวัลชนะเลิศไปครองคือ ทีมจากโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย 2 จ.สงขลา รับโล่และทุนการศึกษา 40,000 บาท จากโครงการ อาหารกุ้งจากผำ โปรตีนสูง คาร์บอนต่ำ ส่งเสริมเกษตรชุมชนอย่างยั่งยืน
ตลอดระยะเวลาของโครงการ น้อง ๆ ได้เรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างเต็มที่ ผ่านกิจกรรมที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการเยี่ยมชมโรงไฟฟ้าอุทัยของกลุ่มบริษัทกัลฟ์ รับความรู้เกี่ยวกับกระบวนการผลิตไฟฟ้าและอุตสาหกรรมพลังงาน การเข้าร่วมค่าย Bootcamp ณ ศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค จุฬาฯ อัดแน่นไปด้วยความรู้เน้น ๆ จากผู้เชี่ยวชาญคณะวิศวฯ จุฬาฯ และพี่ๆ ทีม ‘กัลฟ์อาสา’ ที่ให้คำแนะนำและดูแลน้องๆ ตลอดงาน เริ่มด้วยเวิร์คช็อป Brainstorm เรื่อง Carbon Footprint และ Climate Change เพื่อฝึกการทำสื่อการสอน กิจกรรมการฝึกทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์ (Critical Thinking) ผ่านการโต้วาทีในหัวข้อเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม กิจกรรมฐานการเรียนรู้สิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ทั้งหมด 5 ฐาน รวมไปถึงกิจกรรม The Magic of Mindset ที่จะช่วยให้เกิดแนวทางวางแผนชีวิตและการเรียน น้อง ๆ ได้ฝึกฝนการทำงานเป็นทีม รวมถึงการนำเสนอผลงานอย่างมืออาชีพ และปิดที่การแข่งขัน Hackathon คิดนวัตกรรมเร่งด่วนสุดเข้มข้น ในโจทย์ ‘Beware Your Step, Step to the Future การพัฒนาชุมชนเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน และเป็นกลางทางคาร์บอน’ ก่อนคณะกรรมการจะคัดเลือก 8 ทีมสุดท้าย เพื่อนำเสนอผลงานรอบชิงชนะเลิศ (Final Pitching) โดยมีเกณฑ์การให้คะแนนคือความถูกต้องทางวิชาการ (25%) ความเป็นไปได้ต่อการประยุกต์ใช้ (30%) ความโดดเด่นของแนวทางการพัฒนา (30%) และความน่าสนใจของการนำเสนอ (15%)
สำหรับรางวัลชนะเลิศ คือโครงการอาหารกุ้งจากผำ คาร์บอนต่ำ จากโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย 2 จ.สงขลา ที่ต้องการผลักดันอุตสาหกรรมกุ้งสงขลาให้ก้าวสู่ความยั่งยืนด้วยการใช้ผำ พืชน้ำจืดที่มีโปรตีนสูงและช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ มาเป็นส่วนผสมหลักในการผลิตอาหารกุ้งแทนปลาป่น ส่วนทีมโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ จ.นครปฐม คว้ารองชนะเลิศอันดับ 1 ด้วยโครงการ การทำนาเปียกสลับแห้ง ชุมชนบ้านท่ามะปรางค์ นครราชสีมา สอดคล้องกับแนวคิด Local Low Carbon การทำนาที่ลดการใช้น้ำ ลดการปล่อยก๊าซมีเทน และลดการใช้สารเคมี และรองชนะเลิศอันดับที่ 2 คือโรงเรียนมหาวชิราวุธ จ.สงขลา กับโครงการเก้าเส้งโมเดล ที่มุ่งพัฒนาชุมชนเก้าเส้ง ชุมชนประมงและแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของจังหวัดสงขลา โดยมุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมและส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนให้เติบโตอย่างยั่งยืน
นอกจาก 3 ทีมชนะเลิศแล้ว ยังมีอีก 5 ทีมที่น่าสนใจ ได้แก่ ได้แก่ โรงเรียนคณะราษฏร์บำรุง จ.ยะลา กับโครงการ Yala Durian Peal Application พัฒนาแอปพลิเคชั่นแปรรูปเปลือกทุเรียน ช่วยลดขยะ และสอนคนในชุมชน โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณ์ราชวิทยาลัย จ.มุกดาหาร กับการให้ชุมชนทำโรงงานผลิตอาหารโคขุนโพนยางคำ โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย กรุงเทพฯ กับโครงการ Energy Manager Model เพื่อผลักดันให้โรงเรียนเป็นต้นแบบ Green School โรงเรียนเซนต์โยเซฟ บางนา จ.สมุทรปราการ กับโครงการลด Co2 และน้ำเสียจากการฟอกหนังสัตว์ จ.สมุทรปราการ ด้วยวิธีการฟอกหนังแบบ Co2-intensified tanning ไม่ใช้น้ำ ไม่เกิดน้ำเสีย ลดการปล่อย Co2 และโรงเรียนอัมพวันวิทยาลัย จ.สมุทรสงคราม กับผลิตภัณฑ์โคโคชาร์ กากมะพร้าวแปรรูป ลดการสร้าง Co2 และได้ถ่านที่ดูดซับ Co2 นำวัสดุชีวมวลที่อยู่ในชุมชนมาสร้างเป็นนวัตกรรม ทุกโครงการแสดงให้เห็นถึงความคิดสร้างสรรค์ ศักยภาพและความใส่ใจสิ่งแวดล้อมของเด็กไทย
แม้กิจกรรมจะจบลง แต่ความสนุกยังไม่จบ GULF ชวนโหวตกันต่อให้กับทีมที่มีไอเดียคอนเทนต์สุดสร้างสรรค์ ผ่านการกดไลก์ แชร์ และคอมเมนต์โพสต์ใน Facebook Page Gulf Spark เพื่อชิงรางวัล Popular Vote By GULF ได้ โดยทีมที่ชนะจะได้รับทุนการศึกษา 10,000 บาท โหวตได้เลยที่โพสต์ใน Facebook Page Gulf Spark เริ่มโหวตได้ตั้งแต่วันนี้ จนถึง 8 พฤศจิกายน เวลา 16.00 น.
ติดตามภาพกิจกรรม และข้อมูลข่าวสารของ GULF ได้ที่เฟซบุ๊กแฟนเพจ GULF Spark: https://www.facebook.com/GULFSPARK.TH/ และ ช่องทาง Tiktok: https://www.tiktok.com/@GULFspark
ทีมชนะเลิศ: โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย 2 จ.สงขลา
โครงการ: อาหารกุ้งจากผำ คาร์บอนต่ำ
ผลักดันอุตสาหกรรมกุ้งสงขลาให้ก้าวสู่ความยั่งยืน ด้วยโครงการอาหารกุ้งจากผำ คาร์บอนต่ำ จากวิกฤตราคาตกต่ำของกุ้งสงขลาที่กินเวลายาวนานถึง 6 เดือน ทำให้เกษตรกรเดือดร้อน สาเหตุหลักมาจากต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น โดยเฉพาะวัตถุดิบหลักอย่างปลาป่นที่มีราคาแพงขึ้นเรื่อย ๆ ทีมนักเรียนมองเห็นโอกาสในการใช้ "ผำ" ซึ่งเป็นพืชน้ำจืดที่มีโปรตีนสูงและช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ มาเป็นส่วนผสมหลักในการผลิตอาหารกุ้งแทนปลาป่น โดยโปรตีนทดแทนอย่างผำ ไฟเบอร์สูง โปรตีนสูง เป็นอาหารกุ้งขาวคาร์บอนต่ำ 1,000 บาท/กระสอบ นอกจากนี้ผำเป็นพืชที่ปลูกง่าย ขยายพันธุ์เร็ว และช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ทำให้การผลิตกุ้งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น นอกจากนี้ยังทำ Breakeven Analysis (การวิเคราะห์จุดคุ้มทุน) ที่เป็นประโยชน์ต่อมุมนักลงทุนอีกด้วย
รองชนะเลิศอันดับ 1: โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ จ.นครปฐม
โครงการ: การทำนาเปียกสลับแห้ง ชุมชนบ้านท่ามะปรางค์ นครราชสีมา
พัฒนาชุมชนบ้านท่ามะปรางค์ จังหวัดนครราชสีมา ให้มีความยั่งยืนยิ่งขึ้น ด้วยโครงการ "การทำนาเปียกสลับแห้ง" ที่สอดคล้องกับแนวคิด Local Low Carbon โดยชุมชนบ้านมีโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ต้องการปรับปรุงระบบการทำนาให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นอยู่แล้ว จึงนำเสนอแนวคิดการทำนาเปียกสลับแห้ง ซึ่งเป็นวิธีการทำนาที่ช่วยลดการใช้น้ำ ลดการปล่อยก๊าซมีเทน และลดการใช้สารเคมีลงอย่างมาก ทำให้เกษตรกรประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากขึ้น เมื่อเทียบกับการทำนาแบบเดิม รวมถึงลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก อนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ และรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดิน นอกจากนี้ยังเสนอนำฟางข้าวที่เหลือจากการทำนาไปแปรรูปเป็นบรรจุภัณฑ์ เพื่อเพิ่มรายได้ให้ชุมชนและส่งเสริมการท่องเที่ยว น้องๆ มองว่าการทำนาเปียกสลับแห้ง จะทำให้ชุมชนบ้านท่ามะปรางค์เป็นต้นแบบชุมชนเกษตรกรรมที่ยั่งยืน และเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจมากยิ่งขึ้น
รองชนะเลิศอันดับที่ 2: โรงเรียนมหาวชิราวุธ จ.สงขลา
โครงการ: เก้าเส้งโมเดล
พัฒนาชุมชนเก้าเส้ง ซึ่งเป็นชุมชนประมงและแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของจังหวัดสงขลา โดยมุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมและส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนให้เติบโตอย่างยั่งยืน โดยปัจจุบันชุมชนเก้าเส้งเผชิญกับปัญหาขยะมูลฝอย น้ำเสีย และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติที่ไม่เหมาะสม ทีมจากโรงเรียนมหาวชิราวุธ จ.สงขลา จึงนำเสนอแนวคิด "เก้าเส้งโมเดล" ซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาแบบครบวงจร โดยเน้นการนำทรัพยากรที่มีอยู่ภายในชุมชนมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่น การจัดการขยะ นำผักตบชวามาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น ผ้าทอ กำไลข้อมือ และจัดตั้งระบบการคัดแยกขยะมูลฝอย การอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลด้วยผลิตอุปกรณ์ประมงที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น เอ็นเบ็ดตกปลา และอวนตกปลาที่ทำจากวัสดุธรรมชาติ เปลี่ยนเรือประมงให้ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ การปลูกดาวเรืองเพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และสร้างรายได้เสริมให้กับชาวชุมชน และปรับปรุงการจัดวางตลาดเพื่อลดปัญหาการจราจรติดขัด เก้าเส้งโมเดล เป็นตัวอย่างที่ดีในการพัฒนาชุมชนให้มีความยั่งยืน และสามารถนำไปเป็นแนวทางในการพัฒนาชุมชนอื่นๆ ได้
กิจกรรมศึกษาดูงานที่โรงไฟฟ้าอุทัยของกลุ่มบริษัทกัลฟ์
ฐานกิจกรรม Virtual Cycling โดยกลุ่มบริษัทกัลฟ์
ตัวแทนพนักงานกัลฟ์ให้ความรู้น้องๆ เรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (climate change) ก๊าซเรือนกระจกและการเปลี่ยนผ่านพลังงาน
บรรยากาศ Bootcamp และการแข่งขัน Hackathon
ศ. ดร.พิสุทธิ์ เพียรมนกุล รองคณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ
บรรยากาศรอบ Final Pitching