รอยเตอร์ส รายงาน ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลงเล็กน้อยใน วันศุกร์ (20 ธ.ค.) เนื่องจากตลาดมีความกังวลต่ออุปสงค์ของ จีนและการคาดการณ์การปรับลดอัตราดอกเบี้ย หลังจาก ข้อมูลแสดงให้เห็นว่าอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐชะลอตัวลงใน เดือนพ.ย.
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ล่วงหน้าปิดตลาดเพิ่มขึ้น 6 เซนต์ หรือ 0.08% ที่ 72.94 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ขณะที่ราคาน้ำมันดิบ เวสต์เท็กซัสอินเตอร์มีเดียตของสหรัฐปิดตลาดลดลง 8 เซนต์ หรือ 0.12% ที่ 69.46 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันในทั้งสองตลาดปิดตลาดลดลงประมาณ 2.5% ในสัปดาห์นี้
วันศุกร์ ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงจากระดับสูงสุดใน รอบ 2 ปี หลังจากข้อมูลแสดงให้เห็นว่าอัตราเงินเฟ้อ (PCE ) ของสหรัฐ ชะลอตัวลงในเดือนที่ผ่านมา ขณะที่เมื่อวันพุธ ธนาคารกลางสหรัฐ ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยตามคาด แต่ยังปรับลดแนวโน้มการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในปีหน้าลงเป็น 2 ครั้ง จาก 4 ครั้งที่เคยคาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้
ค่าเงินดอลลาร์ที่อ่อนค่าลงทำให้ราคาน้ำมันถูกลงสำหรับผู้ถือเงินสกุลอื่น ขณะที่การปรับลดอัตราดอกเบี้ยอาจช่วยกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจและส่งเสริมอุปสงค์น้ำมัน
จอห์น คิลดัฟฟ์ หุ้นส่วนของ ที่ปรึกษาการลงทุน Again Capital ในนิวยอร์ก กล่าวว่า
อัตราเงินเฟ้อ PCE รายเดือนชะลอตัวลงในเดือนพฤศจิกายน หลังจากที่ปรับตัวขึ้นเล็กน้อยในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ส่งผล ให้ดัชนีหลักของวอลล์สตรีทปรับตัวสูงขึ้นในการซื้อขายที่ ผันผวนในวันศุกร์ หลังนักลงทุนเริ่มมีความหวังว่าเฟดอาจจะ ลดดอกเบี้ยได้มากขึ้น “ความกลัวที่เฟดจะเลิกให้การสนับสนุนตลาดด้วยการชะลอ อัตราดอกเบี้ยได้จางหายไปแล้ว”
“มีข้อกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มอุปสงค์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อ เกี่ยวข้องกับจีน และหากเราจะสูญเสียการสนับสนุนจาก นโยบายการเงินจากเฟด ก็เท่ากับเป็นการถูกชก 2 หมัด”
บริษัท Sinopec ซึ่งเป็นบริษัทกลั่นน้ำมันของรัฐบาลจีน ระบุ ในแนวโน้มพลังงานประจำปีเมื่อวันพฤหัสบดีว่า การนำเข้า น้ำมันดิบของจีนอาจถึงจุดสูงสุดเร็วสุดในปี 2025 และการบริโภคน้ำมันของประเทศจะถึงจุดสูงสุดในปี 2027 เนื่องจากความต้องการน้ำมันดีเซลและน้ำมันเบนซินลดลง
เอมริล จามิล ผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัยอาวุโสของบริษัท วิเคราะห์ข้อมูล LSEG กล่าวว่าโอเปกพลัส (OPEC+) จะต้องมีวินัยด้านอุปทานเพื่อกระตุ้นราคาและบรรเทาความกังวล ของตลาดจากการปรับลดแนวโน้มการเติบโตของอุปสงค์ อย่างต่อเนื่อง
เมื่อไม่นานนี้ OPEC+ ซึ่งเป็นกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมันและ พันธมิตร ได้ปรับลดคาดการณ์การเติบโตของอุปสงค์น้ำมัน โลกในปี 2024 ลงเป็นเดือนที่ห้าติดต่อกัน
ด้านธนาคาร JPMorgan มองว่าตลาดน้ำมันจะเปลี่ยนจาก ภาวะสมดุลในปี 2024 เป็นภาวะผลิตเกินความต้องการ 1.2 ล้านบาร์เรลต่อวันในปี 2025 เนื่องจากธนาคารคาดการณ์ว่า อุปทานน้ำมันนอกกลุ่ม OPEC+ จะเพิ่มขึ้น 1.8 ล้านบาร์เรล ต่อวันในปี 2025 และปริมาณการผลิตของโอเปก OPEC ยัง คงอยู่ที่ระดับปัจจุบัน
ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐ โดนัลด์ ทรัมป์ กล่าวเมื่อวันศุกร์ว่า สหภาพยุโรปอาจเผชิญกับภาษีศุลกากรหากสหภาพยุโรปไม่ ลดการขาดดุลที่เพิ่มขึ้นกับสหรัฐ ด้วยทำการซื้อน้ำมันและ ก๊าซในปริมาณมากจากสหรัฐซึ่งเป็นเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดใน โลก