เมื่อวานที่ผ่านมา (29 มกราคม 2566) GISTDA เผยข้อมูลจากดาวเทียมซูโอมิ เอ็นพีพี (Suomi NPP) ของระบบเวียร์ (VIIRS) ไทยพบจุดความร้อน จำนวน 771 จุด ในขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านอย่าง กัมพูชาจุดความร้อนยังคงสูงถึง 1,996 จุด ลาว 683 จุด เมียนมาร์ 647 จุด เวียดนาม 384 จุด และมาเลเชีย 1 จุด
จุดความร้อน Hot Spot สำคัญอย่างไร
ปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้ต้องเฝ้าระวังเพราะที่ผ่านมา สิ่งที่มักจะเกิดขึ้นคือ ไฟป่าและจุดความร้อนคือ PM 2.5 สถานการณ์การจุดความร้อนจากประเทศเพื่อนบ้านอาจส่งผลให้เกิด PM 2.5 ได้ในพื้นที่บริเวณชายแดนเนื่องจากได้รับอิทธิพจากประแสลมที่จะพัดผ่านเข้ามา ปัญหาไฟป่าหมอกควัน ส่งผลกระทบให้กับระบบต่างๆ ของประเทศมาโดยตลอด โดยเฉพาะระบบเศรษฐกิจ ระบบสังคม
จุดความร้อน Hot Spot คืออะไร
ค่าความร้อนสูงผิดปกติจากค่าความร้อนบนผิวโลก ส่วนมากมาจากความร้อนจากไฟ ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ประเทศไทยพัฒนาระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ GIS (Geographic Information System) เพื่อใช้บริหารจัดการและการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อให้สามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงข้อมูลด้านต่างๆ ให้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนหนึ่งที่ได้จากการพัฒนาระบบนี้ขึ้นก็คือ การค้นหา “จุดความร้อน”
ปัจจุบันมีดาวเทียมหลายดวงตรวจวัดรังสีความร้อนได้จากหลากหลายประเทศ ได้แก่ ดาวเทียม Terra ดาวเทียม Aqua ดาวเทียม Suomi-NPP และดาวเทียม NOAA-20 ในจำนวนนี้มี 2 เซนเซอร์หลักที่ใช้เพื่อการตรวจวัดรังสีความร้อน ได้แก่ เซนเซอร์ MODIS (ติดตั้งบนดาวเทียม Terra และ Aqua) และเซนเซอร์ VIIRS (ติดตั้งบนดาวเทียม Suomi-NPP และ NOAA-20)
ข้อมูล : GISTDA