4บิ๊กคอร์ปไทยหนุนClimate Tech ชี้เป็นโอกาศใหม่ทางธุรกิจ

28 มิ.ย. 2566 | 12:56 น.
อัปเดตล่าสุด :28 มิ.ย. 2566 | 13:09 น.

เอกชน มอง Climate Change โอกาสพัฒนา Climate Technology แห่งอนาคต ย้ำทุกภาคส่วนต้องร่วมกันอย่างจริงจังเปลี่ยนMindset เพื่อให้มีคุณภาพที่ดี

นายปิยบุตร จารุเพ็ญ กรรมการผู้จัดการ บริษัท บางกอกอินดัสเทรียลแก๊ส จำกัด กล่าวในช่วงเสวนา Climate Tech คำตอบโลกและธุรกิจว่า ในงานสัมมนา Climate Tech Forum: Infinite Innovation….Connrction Business to Net Zero ว่า สำหรับหลักความยั่งยืนของ BIG และแอร์โปรดักต์ ที่เป็นบริษัทแม่ในสหรัฐได้เน้นหลักความยั่งยืนคือ ดูแลทั้งแวดล้อมและสังคม เพื่อให้มีคุณภาพที่ดี ซึ่งการใช้ไฮโดรเจนจะช่วยดึงกำมะถันให้ต่ำลงเพื่อให้รถยนต์ปลอดภัย และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม 

4บิ๊กคอร์ปไทยหนุนClimate Tech ชี้เป็นโอกาศใหม่ทางธุรกิจ

โดยในยามวิกฤติที่ผ่านมา พบว่าผลิตภัณฑ์ของ BIG ช่วยชีวิตทีมหมูป่า และช่วยให้ประเทศไทยก้าวผ่านโควิด-19 จากการขาดออกซิเจน รวมถึงช่วยบำบัดบึงน้ำให้สะอาดขึ้นจากความร่วมมือกับกรุงเทพมหานคร ซึ่งลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 50%

4บิ๊กคอร์ปไทยหนุนClimate Tech ชี้เป็นโอกาศใหม่ทางธุรกิจ

ทั้งนี้ ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นปัญหาใหญ่ ซึ่งมองว่าถึงเวลาแล้วที่ต้องลุกขึ้นมาลงมือทำเพื่อสร้างความแตกต่างที่หลากหลายจากความมุ่งมั่นที่ไม่ได้แค่ผลิต แต่จะนำความเชี่ยวชาญที่มีมาแก้ปัญหาด้วยนวัตกรรม อาทิ การผลิตให้คุ้มค่ามีประสิทธิภาพ และมีความยั่งยืนมากขึ้น

“เป้าหมาย BIG เชื่อว่าสอดคล้องกับทุกภาคส่วนคือ บรรลุเป้าหมาย Net Zero ที่บางบริษัทวางเป้าไว้สอดคล้องกันปี 2050 ไวกว่าเป้าหมายประเทศ และวันนี้เราลงมือทำไปแล้ว สามารถลดการปล่อยคาร์บอนสุทธิได้ 20% และในปี 2030 จะได้ลด 30% และปี 2040 และปี 2050 จะสามารถเป็นศูนย์ จากการใช้ Climate Technology”

4บิ๊กคอร์ปไทยหนุนClimate Tech ชี้เป็นโอกาศใหม่ทางธุรกิจ

สิ่งที่อยากเน้นย้ำใน 5 เรื่อง คือ 1.เทคโนโลยีการดักจับการใช้ประโยชน์ และการกักเก็บคาร์บอน (CCUS) กำลังได้รับแรงขับเคลื่อน และการมุ่งสู่เป้าหมายการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ในอนาคต

2.ไฮโดรเจน โดย BIG เชี่ยวชาญ และเป็นรายใหญ่สุดของโลก บริษัทแม่ลงทุน 1.5 หมื่นล้านดอลลาร์ โดยเน้นบลูไฮโดรเจน และกรีน ไฮโดรเจน ซึ่งคืบหน้า 20-30% และพร้อมใช้งานเต็มรูปแบบปี 2026-2027 

3. โซลูชันลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสร้างการเติบโตให้กับเศรษฐกิจประเทศ

4. แพลตฟอร์ม เพื่อตอบโจทย์ภาคธุรกิจที่ตรวจจับว่าภาคอุตสาหกรรมปล่อยคาร์บอนปริมาณเท่าไร รวมถึงการตรวจจับการใช้พลังงาน วิธีการลดคาร์บอนในรูปแบบตามความเหมาะสมของธุรกิจ และซื้อขายคาร์บอนเครดิตผ่านแพลตฟอร์มของบีไอจีได้

5.การนำไบโอ เซอร์คูลาร์ กรีน มาใช้เพื่อแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

4บิ๊กคอร์ปไทยหนุนClimate Tech ชี้เป็นโอกาศใหม่ทางธุรกิจ

ทั้งนี้ เพื่อตอบรับกับอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ ที่ปัจจุบันใช้ลดการปลดปล่อยกำมะถัน บีไอจี ร่วมกับกลุ่ม บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) และบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด เปิดสถานีนำร่องทดลองใช้เชื้อเพลิงไฮโดรเจนสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าเซลล์เชื้อเพลิง (Fuel Cell Electric Vehicle: FCEV) แห่งแรกของไทยที่ อ.บางละมุง จ.ชลบุรี

นายสุรศักดิ์ สุทองวัน ผู้ช่วยบริการกรรมการผู้จัดการใหญ่และผู้ช่วยบริหารประธานคณะกรรม บริษัทโตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด

ดร.สุรศักดิ์ สุทองวัน ผู้ช่วยบริการกรรมการผู้จัดการใหญ่และผู้ช่วยบริหารประธานคณะกรรม บริษัทโตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัดกล่าวว่า ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศใหญ่เกินกว่าที่จะทำคนเดียวได้จึงต้องอาศัยความเชี่ยวชาญที่หลากหลายมาร่วมเป็นอีโคซิสเต็ม และหากนำอีโคซิสเต็มมาจับภาคธุรกิจจะทำให้ระบบนิเวศน์ภาคธุรกิจอุตสาหกรรมดีขึ้น เพราะปัญหาความท้าทายของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต้องอาศัยความหลากหลาย ความเป็นมนุษย์ และภาวะผู้นำ จะดึงประโยชน์จากความแตกต่างที่เข้าใจความเป็นมนุษย์มาใช้ปัญหา คิดสร้างสรรค์จากการใช้หัวใจทำงานร่วมกัน

4บิ๊กคอร์ปไทยหนุนClimate Tech ชี้เป็นโอกาศใหม่ทางธุรกิจ

โตโยต้าได้นำรถยนต์ไฟฟ้าเซลล์เชื้อเพลิง รุ่นมิไร (Mirai) ของโตโยต้า มาทดสอบใช้งานให้บริการรับ-ส่งระหว่างสนามบินอู่ตะเภา จ.ชลบุรี สำหรับนักท่องเที่ยว และผู้โดยสารในพัทยา และพื้นที่ใกล้เคียง เพื่อลดการใช้ฟอสซิลฟิลจากภาคไฟฟ้า 30% โดยเฉลี่ยมีคาร์บอนต่ำถึง 60% และสร้างไฮโดรเจน อีโคโนมี โดยนำไปใช้ในตอนกลางคืน รวมถึงภาคผลิตไฟฟ้า และหลายอุตสาหกรรมในมาบตาพุด

4บิ๊กคอร์ปไทยหนุนClimate Tech ชี้เป็นโอกาศใหม่ทางธุรกิจ

นายฉัตรชัย เลื่อนผลเจริญชัย ประธานบริหารกลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย กล่าวว่าการจะผลักดันให้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศใหญ่ที่จะทำให้สำเร็จคือ การหาเทคโลยีที่ผสมผสานหลายๆอย่างเข้าด้วยกัน ระบบสาธารณูปโภคของไทนเองมีพร้อมหรือยังความร่วมมือของทุกฝ่ายตเองไปในทิศทางเดียวกัน

นายฉัตรชัย เลื่อนผลเจริญชัย ประธานบริหารกลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย

ภาครัฐเองต้องเข้ามาสนับสนุนมีการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างจริงจังและสุดท้ายคือการเปลี่ยนมายเซ็ตของคนให้ไปในทิศทางเดียวกันให้ได้ไมว่าจะเป็นบริษัทเล็กหรือบริษัทใหญ่ต้องมีความเห็นที่ต้องการจะช่วยกันแก้ไขเปลี่ยนแปลงโลกให้ดีขึ้น

ดร.บุรณิน รัตนสมบัติ  ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจใหม่และโครงสร้างพื้นฐาน บริษัทปตท.จำกัด (มหาชน)

ด้านดร.บุรณิน รัตนสมบัติ  ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจใหม่และโครงสร้างพื้นฐาน บริษัทปตท.จำกัด (มหาชน)กล่าวว่าความร่วมมือเป็นสิ่งที่ทุกภาคส่วนต้องร่วมกันอย่างจริงจังเปลี่ยนความคิดที่ตัวใครตัวมันแล้วหันหน้ามาเปลี่ยนแปลงโลกให้น่าอยู่ ปตท.เองมีโครงการที่ทำเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม การปล่อยคาร์บอน และมุ่งสู่ซีโร่คาร์บอนตามเป้าหมายที่วางไว้เช่นกัน