รายงานที่ออกโดย สถาบันนโยบายพลังงานแห่งมหาวิทยาลัยชิคาโก (EPIC) ระบุว่า มลพิษทางอากาศจากฝุ่นละอองยังคงเป็นความเสี่ยงต่อสุขภาพของมนุษย์มากที่สุดในโลก ยกตัวอย่างเช่น ฝุ่นละอองขนาดเล็กที่เกิดจากเพลิงไหม้ กิจกรรมทางอุตสาหกรรม และยานยนต์ เป็นสารก่อมะเร็งและเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคปอด โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมอง
ตามตัวเลข องค์การอนามัยโลก (WHO) พบว่า 36% ของมะเร็งปอดเชื่อมโยงกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมเหล่านี้ เช่นเดียวกับ 34% ของโรคหลอดเลือดสมองและ 27% ของโรคหัวใจ
ในยุโรปตะวันออกเผชิญกับมลพิษทางอากาศมากกว่าประเทศเพื่อนบ้านทางตะวันตก โดย 98.4 % ของยุโรปไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ใหม่ของ WHO ที่ 5 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
รายงานระบุว่า โดยทั่วไปแล้ว คุณภาพอากาศในยุโรปได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้นในช่วง 2-3 ทศวรรษที่ผ่านมา แต่ความพยายามทั้งหมดนี้ถูกคุกคามด้วยจำนวนไฟป่าที่เพิ่มขึ้นทั่วโลก ซึ่งเกิดจากอุณหภูมิที่สูงขึ้นและความแห้งแล้งที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง ซึ่งเชื่อมโยงกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศซึ่งทำให้เกิดมลพิษทางอากาศถึงจุดสูงสุด
แต่ถึงอย่างนั้นก็จะแตกต่างกันไปทั่วยุโรป ผู้อยู่อาศัยในยุโรปตะวันออกมีชีวิตเหลืออยู่น้อยกว่าเพื่อนบ้านทางตะวันตกถึง 7.2 เดือน เนื่องจากอากาศไม่สะอาด นักวิทยาศาสตร์ EPIC กล่าว
6 ประเทศได้รับผลกระทบจากมลพิษทางอากาศ 3 ใน 4 ของโลก
บังคลาเทศ อินเดีย ปากีสถาน จีน ไนจีเรีย และอินโดนีเซีย เป็นประเทศที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดรายงานฉบับนี้อธิบายว่า ผู้อยู่อาศัยในประเทศเหล่านี้เสียชีวิตไปในระยะเวลา 1-6 ปี เพราะอากาศที่พวกเขาหายใจ
อย่าง "นิวเดลี" ยังคงเป็นเมืองที่มีมลพิษมากที่สุดในโลก อายุขัยเฉลี่ยลดลงมากกว่า 10 ปี โดยมีฝุ่นอนุภาคเล็กเฉลี่ยต่อปีอยู่ที่ 126.5 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร WHO แนะนำให้รักษาคุณภาพอากาศให้ต่ำกว่า 5 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
รายงานระบุว่า อินเดียมีส่วนรับผิดชอบต่อมลภาวะของโลกที่เพิ่มขึ้นประมาณ 59% นับตั้งแต่ปี 2556 เนื่องจากอากาศที่เป็นอันตรายคุกคามชีวิตที่สั้นลงในภูมิภาคที่มีมลพิษมากขึ้นของประเทศ
ในทางกลับกัน จีนกำลังดำเนินการเรื่องคุณภาพอากาศ สามารถลดมลพิษโดยเฉลี่ยลงได้ 42.3% ระหว่างปี 2556 - 2564 พลเมืองจีนโดยเฉลี่ยสามารถมีชีวิตอยู่ได้นานขึ้น 2.2 ปี หากการลดลงนั้นยังคงอยู่ต่อไป อย่างไรก็ตาม มลพิษในจีนยังคงสูงกว่าแนวทางของ WHO ถึง 6 เท่า ตามรายงาน EPIC
มาตรการระหว่างประเทศบางประการในการต่อสู้กับมลพิษทางอากาศ
สิ่งที่ไม่ได้ทำให้ดีขึ้นตามที่นักวิทยาศาสตร์จาก EPIC กล่าวคือ ประเทศที่มีมลพิษหลายแห่งขาดโครงสร้างพื้นฐานด้านมลพิษทางอากาศขั้นพื้นฐาน
เอเชียและแอฟริกา มีเพียง 6.8 % และ 3.7% ของรัฐบาลในเอเชียและแอฟริกา ตามลำดับ ที่ให้ข้อมูลคุณภาพอากาศแบบเปิดแก่ประชาชน
รายงานยังระบุว่า แม้ว่ากองทุนโลกจะใช้จ่าย 3.7 พันล้านยูโรเพื่อต่อสู้กับ HIV วัณโรค หรือมาลาเรีย แต่ไม่มีแผนระหว่างประเทศเพื่อต่อสู้กับมลพิษทางอากาศ
ข้อมูล
India, Pakistan, China: Air pollution is now cutting life short in these 6 countries
Air pollution now a major risk to life expectancy in South Asia - study