"อุตสาหกรรมปศุสัตว์"ผู้ร้ายทำลายโลก ? โจทย์ท้าทายวิกฤติโลกร้อน

30 ต.ค. 2566 | 23:00 น.

"อุตสาหกรรมปศุสัตว์" ผู้ร้ายทำลายโลก ? โจทย์ท้าทายวิกฤติโลกร้อน ขณะที่การประชุม COP 28 จะหารือว่าการผลิตอาหารทั่วโลกจะต้องยั่งยืนเพื่อให้อยู่ภายในอุณหภูมิ 1.5 องศาเซลเซียสได้อย่างไร

ภาคเกษตรและอาหารมีส่วนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ Climate Change โดยปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงเกือบ 1 ใน 3 ของปริมาณก๊าซเรือนกระจกทั้งโลก หรือราว 1.7 หมื่นตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า จากข้อมูลของ Food and Agriculture Organization of the United Nations (FAO)  ชี้ว่าภายในปี 2050 ภาคเกษตรกรรมและอาหารทั่วโลก จะปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพิ่มขึ้นเป็น 2 หมื่นล้านตัน

ตลอดห่วงโซ่การผลิต ภาคเกษตรและอาหารในกลุ่มต้นน้ำมีการปล่อยก๊าซมากที่สุด คิดเป็น 65% ครอบคลุม ตั้งแต่การทำลายป่าเพื่อเปลี่ยนเป็นพื้นที่เกษตรกรรม และเพาะปลูกพืช สำหรับทำอาหารสัตว์ กระบวนการเพาะปลูกและเลี้ยงปศุสัตว์ ที่เหลืออีก 35% เป็นภาคเกษตรและอาหารในกลุ่มกลางน้ำถึงปลายน้ำ ตั้งแต่กระบวนการแปรรูป บรรจุขนส่ง และการจัดจำหน่ายจนถึงมือผู้บริโภค

 

ที่ผ่านมาการหารือเกี่ยวกับระบบอาหารของโลก ความเปราะบางและผลกระทบ ถูกตั้งคำถามว่ามีอย่างจำกัดเพียงแค่นอกรอบของการเจรจาประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศประจำปีของสหประชาชาติ และได้รับความสนใจเพียงเล็กน้อยเท่านั้น  ส่วนหนึ่งมาจากลักษณะความรับผิดชอบของสหประชาชาติที่ถูกแบ่งแยก โดยอาหารภายใต้องค์การอาหารและการเกษตร (FAO) ซึ่งมีกลไกการประชุมสุดยอดเป็นเเบบเฉพาะตัว เช่น การประชุมสุดยอดระบบอาหาร ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงโรมในเดือนกรกฎาคม สภาพภูมิอากาศเป็นเพียงแง่มุมหนึ่งของภัยคุกคามต่อระบบอาหารเท่านั้น  

แต่ปีนี้อาจแตกต่างออกไป เเละถือเป็นครั้งแรกที่ อาหาร เกษตรกรรม และน้ำ จะเป็นจุดสนใจในช่วง 2 สัปดาห์ของ การประชุมว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งสหประชาชาติครั้งที่ 28 หรือ COP28 ซึ่งเป็นเวทีให้ผู้นำและตัวแทนรัฐบาลหารือกัน เพื่อหาทางเตรียมความพร้อมและลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกในอนาคต จะจัดขึ้นที่นครดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ระหว่างวันที่ 30 พ.ย. - 12 ธ.ค. นี้

และจะเป็นครั้งแรกเช่นกันที่ FAO จะสรุปว่าระบบอาหารต้องเปลี่ยนแปลงอย่างไรเพื่อให้โลกอยู่ภายในเป้าหมายที่ตกลงกันไว้ ในการจำกัดอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นให้สูงกว่าระดับก่อนอุตสาหกรรมถึง 1.5 องศาเซลเซียส เนื่องจากผลกระทบจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศที่มีต่อระบบอาหารอาจกลายเป็นหายนะอย่างรวดเร็ว และในบางกรณีอาจแก้ไขไม่ได้

มีการคาดการณ์การเลี้ยงสัตว์สำหรับเนื้อและผลิตภัณฑ์จากนม จะต้องได้รับการฟื้นฟูจากการเติบโตอย่างต่อเนื่องทั่วโลก หากบรรลุเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงครึ่งหนึ่งภายในปี 2030  และบรรลุเป้าหมายสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2050

ผลการวิจัย ระบุว่า การเลี้ยงสัตว์สำหรับเนื้อและผลิตภัณฑ์จากนม จะต้องได้รับการฟื้นฟูจากการเติบโตอย่างต่อเนื่องทั่วโลกหากผู้นำโลกสามารถมารวมตัวกันเพื่อหารือเกี่ยวกับพันธกรณีในการดูความเชื่อมโยงระหว่างอาหารและสภาพภูมิอากาศ จะถือเป็นประวัติศาสตร์ รวมถึงการจัดหาเงินทุนสำหรับการปรับตัว การสูญเสียและความเสียหายที่จะมุ่งตรงไปยังเกษตรกรรายย่อยในประเทศกำลังพัฒนา

หลายประเทศที่ร่ำรวยกว่าของโลก เช่น สหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป การลดการบริโภคเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์นมลงอย่างมากควรเป็นส่วนหนึ่งของความมุ่งมั่นที่จะทำเพื่อแก้ไขวิกฤติสภาพภูมิอากาศ แต่สำหรับประเทศอื่นๆ ที่ยากจนกว่า ซึ่งอัตราการบริโภคเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์นมต่อหัวมักจะต่ำมาก ซึ่งจะไปเกี่ยวข้องกับความมั่นคงทางอาหาร โภชนาการ การปรับตัว และการฟื้นฟูมากกว่า

ประเทศไทย งานศึกษาของ Attavanich 2017 ติดตามผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อภาคเกษตรไทยตั้งแต่ปี 2011 มองอนาคตจนถึงปี 2045 ผลกระทบหรือความเสียหายของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อภาคเกษตรของไทย อยู่ที่ประมาณ 6.1 แสนล้านบาทถึง 2.85 ล้านล้านบาท คิดเป็นรายปี ปีละ 1.7 หมื่นล้านบาทไปจนถึง 8.3 หมื่นล้านบาท ไม่ว่าจะเป็นการปลูกพืช ปศุสัตว์ ประมง 

ถือเป็นโจทย์ว่าจะทำอย่างไรให้อุตสาหกรรมการเกษตรที่เกี่ยวข้องในประเทศไทยลดก๊าซเรือนกระจกมากขึ้นจนถึงปี 2030 ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมปศุสัตว์  เพราะปัจจุบันกระแสตลาดอาหารสัตว์โลกให้ความสำคัญต่อกระบวนการผลิตวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

นโยบายการบริหารจัดการของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า ล่าสุด ตั้งคณะกรรมการบริหารนโยบายการจัดการทรัพยากรทางการเกษตร ทำการเกษตรที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม (Go Green) ด้วย BCG และ Carbon Credit ทำงานร่วมกับหน่วยงานราชการในสังกัด ขับเคลื่อนนโยบายการจัดการทรัพยากรทางการเกษตรที่ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม แลกเปลี่ยนข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนางานจากผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้อง ในการส่งเสริมพัฒนาองค์ความรู้ให้กับเกษตรกร ประสานหน่วยงานภายนอกที่เกี่ยวข้องในการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรม โรงฆ่าสัตว์ ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมตลอดห่วงโซ่ปศุสัตว์

ที่มาข้อมูล