thansettakij
ESG  Bond ฮอต ยอดระดมทุนพุ่ง 6.9 แสนล้านบาท
zero-carbon

ESG Bond ฮอต ยอดระดมทุนพุ่ง 6.9 แสนล้านบาท

    สมาคมตราสารหนี้ ผนึก CMDF ให้ทุนหนุนออก ESG Bond เตรียมพร้อมรับมือกับมาตรการดูแลสิ่งแวดล้อมทั่วโลก ชี้แนวโน้ม ESG bond ในไทยโตต่อเนื่อง มูลค่าคงค้างกว่า 6.9 แสนล้านบาท

สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) ร่วมกับกองทุนส่งเสริมการพัฒนาตลาดทุน (CMDF) จัดทำโครงการให้ทุนสนับสนุนและส่งเสริมการออกตราสารหนี้กลุ่มความยั่งยืน (ESG Bond Issuance Grant Scheme)”  โดย CMDF จะสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบหรือการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้ด้านความยั่งยืน (ESG Bond) ตามเกณฑ์ที่กำหนด โดย ESG bond ที่สามารถขอรับการสนับสนุนดังกล่าวจะต้องออกเสนอขายระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม 2566 ถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2567

เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2566ที่ผ่านมา สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย และ CMDF ได้ร่วมกันจัดสัมมนา “Enable ESG Bond Issuance # 2: Global Dynamic & Thailand Framework Development” เพื่อประชาสัมพันธ์โครงการฯ โดยมีผู้แทนจากองค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน โดยงานในวันนี้ได้รับเครื่องหมาย Carbon Neutral Event ซึ่งเป็นการจัดงานอีเวนต์ที่มีการชดเชยปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิจนเป็นศูนย์อีกด้วย

สัมมนา “Enable ESG Bond Issuance # 2: Global Dynamic & Thailand Framework Development” สัมมนา “Enable ESG Bond Issuance # 2: Global Dynamic & Thailand Framework Development”

ดร.สมจินต์ ศรไพศาล กรรมการผู้จัดการ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย(ThaiBMA)เปิดเผยว่า การระดมทุนผ่านการออกหุ้นกู้ ESG bond ในประเทศไทย มีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่องจนมีมูลค่าคงค้างกว่า 6.9 แสนล้านบาท ประกอบด้วยผู้ออกภาครัฐ 6 องค์กร และภาคเอกชน 25 บริษัท ขณะที่ภาครัฐยังได้ส่งเสริมการจัดตั้งกองทุนไทยเพื่อความยั่งยืน (Thailand ESG Fund) ซึ่งนักลงทุนจะได้สิทธิลดหย่อนภาษีจากการลงทุนในหุ้นและตราสารหนี้กลุ่มความยั่งยืน ซึ่งคาดว่าจะเสนอขายต่อผู้ลงทุนได้ภายในต้นเดือนธันวาคมนี้

ดร.สมจินต์ ศรไพศาล กรรมการผู้จัดการ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย(ThaiBMA) ดร.สมจินต์ ศรไพศาล กรรมการผู้จัดการ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย(ThaiBMA)

นางสาวชิดชนก อันโนนจารย์ Associate Economics Officer, Asian Development Bank (ADB)กล่าวว่า การเติบโตของตลาดตราสารหนี้ ESG bond ในกลุ่มอาเซียน+3 (อาเซียนรวมกับจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้) คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 1.4% ของตลาดตราสารหนี้ทั่วโลก โดยภาคเอกชนเป็นหน่วยงานหลักในการออก ESG bond และ Green bond มีสัดส่วนการออกมากที่สุดที่ 51.7% คิดเป็นมูลค่ากว่า 30 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

นางสาวชิดชนก อันโนนจารย์ Associate Economics Officer, Asian Development Bank (ADB) นางสาวชิดชนก อันโนนจารย์ Associate Economics Officer, Asian Development Bank (ADB)

“ทาง ADB ยังมีส่วนช่วยสนับสนุนและส่งเสริมผู้ออกตราสารหนี้ทั้งหน่วยงานรัฐวิสาหกิจและภาคเอกชนครอบคลุมตราสารหนี้ ESG bond ทุกประเภท และในอนาคตจะให้ความสำคัญกับการดำเนินการด้าน Local verifier, Sustainability disclosures, Transition finance and Sustainability-linked loans”นางสาวชิดชนกกล่าว

นายสุชาย บูรณะวลาหก Senior Green Investment Officer, Global Green Growth Institute (GGGI)กล่าวว่า การดำเนินการขององค์กรในการมีส่วนช่วยสนับสนุนประเทศสมาชิกและหุ้นส่วนในการระดมทุนสีเขียว เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย “การมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด” (Nationally Determined Contributions : NDCs)  และเป้าหมายการเติบโตของเศรษฐกิจสีเขียว โดยมุ่งสนับสนุนใน 3 ด้าน ได้แก่ Sustainable energy, Sustainable landscapes และ Green cities

นายสุชาย บูรณะวลาหก Senior Green Investment Officer, Global Green Growth Institute (GGGI) นายสุชาย บูรณะวลาหก Senior Green Investment Officer, Global Green Growth Institute (GGGI)

สำหรับประเทศไทยให้การสนับสนุนผ่านทางกรอบการวางแผนและพัฒนาของประเทศไทย 2022 - 2026 (Thailand Country Planning Framework : CPF) ซึ่งเน้นการส่งเสริม 3 ด้านคือ Waste management, Green building และ Green Industry ตัวอย่างโครงการที่ดำเนินการสนับสนุน ได้แก่ การจัดการขยะมูลฝอยชุมชน (Municipal Solid Waste : MSW) การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ (Energy Efficiency : EE) และ Thailand Circular Economy Financing Facility (T-CEFF) เป็นต้น

ดร.อรศรัณย์ มนุอมร Specialist Consultant, Climate Bonds Initiative (CBI) นำเสนอแนวทางการนำมาตรฐานการจัดกลุ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจ (Thailand Taxonomy) ไปใช้เป็นเครื่องมือสำหรับภาครัฐและภาคธนาคารในการส่งเสริมเศรษฐกิจสีเขียว (Green finance) โดยปัจจุบันเฟสแรกจะครอบคลุมเฉพาะภาคขนส่งและพลังงานซึ่งปล่อยก๊าซเรือนกระจกรวมกันเกือบ 70% และส่งเสริมการเงินเพื่อการเปลี่ยนผ่าน (Transition finance) ของภาคธุรกิจไปสู่ธุรกิจสีเขียว

ESG  Bond ฮอต ยอดระดมทุนพุ่ง 6.9 แสนล้านบาท

ซึ่งในปัจจุบันตราสารหนี้/เงินกู้ ส่งเสริมความยั่งยืน Sustainability-Linked Bond และ Sustainability-linked loan (SLBs และ SLLs) ที่มีการเชื่อมโยงเป้าหมายความยั่งยืนในระดับองค์กรมีแนวโน้มจะได้รับความนิยมมากขึ้น รวมถึง Transition bond ที่เติบโตมากในจีนและญี่ปุ่น

นางสาวกรรณิการ์ ศรีธัญญลักษณา ผู้เชี่ยวชาญด้านการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ, บริษัท เดอะ ครีเอจี จำกัด. กล่าวว่า มาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป หรือ EU Carbon Border Adjustment Mechanism (EU-CBAM) ที่จะส่งผลกระทบกับบริษัทที่มีการส่งออกสินค้าไปสู่ประเทศยุโรป ซึ่งในระยะแวลาปลี่ยนผ่านระหว่าง 1 ตุลาคม 2566 ถึง 31 ธันวาคม 2568 ต้องมีการรายงานการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของผลิตภัณฑ์ที่ต้องการจะนำเข้าประเทศในแถบยุโรป

ทั้งนี้ CBAM เริ่มบังคับใช้ตั้งแต่ 1 มกราคม 2569 เป็นต้นไป จะต้องมีการจ่ายค่า CBAM certification สำหรับผลิตภัณฑ์ที่ไม่สามารถควบคุมการชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด ประเทศไทยจึงต้องเตรียมความพร้อมรับมือกับมาตรการต่างๆที่จะเกิดขึ้นและพลวัตที่เปลี่ยนแปลงไปของโลกในอนาคต

นางสาวพวงพันธ์ ศรีทอง ผู้จัดการสำนักรับรองธุรกิจคาร์บอนต่ำ, องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ให้ข้อมูลเป้าหมายสำคัญของประเทศไทยโดยจะเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี 2050 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero GHG Emissions) ภายในปี 2065 รวมทั้งเพิ่มเป้าหมาย NDC เป็น 40%  โดยมีมาตรการสําคัญ ได้แก่

  • การเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนในการผลิตไฟฟ้า อย่างน้อย 68% ในปีค.ศ. 2040  และ 74%  ในปีค.ศ. 2050
  • การใช้ยานยนต์ไฟฟ้า 69% ในปีค.ศ. 2035
  • ยุติการใช้ถ่านหิน ในปี ค.ศ. 2050
  • การใช้เทคโนโลยีการดักจับ การใช้ประโยชน์ และการกักเก็บคาร์บอน
  • การใช้พลังงานไฮโดรเจนในภาคขนส่งและอุตสาหกรรม

นางสาวพวงพันธ์กล่าวถึงการเตรียมความพร้อม โดยสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับผู้ประกอบการส่งออก ในด้านการคำนวณ การรายงาน และทวนสอบค่า Embedded Emissions และค่าคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์โดยใช้แพลตฟอร์มของ อบก.เป็นเครื่องมือ ที่ได้รับการยอมรับจากสหภาพยุโรป, และศึกษาแนวทางในการลดค่า Embedded Emissions ของผลิตภัณฑ์ภายใต้ข้อกำหนดของมาตรการปรับคาร์บอนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป

นางสาวอริยา ติรณะประกิจ รองกรรมการผู้จัดการ T็้haiBMA  กล่าวว่า  CMDF จะสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบหรือการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้ด้านความยั่งยืน (ESG Bond) ตามเกณฑ์ที่กำหนด ได้แก่ เป็น ESG Bond (ไม่จำกัดสกุลเงิน) ที่มีอายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป ระดมทุนขั้นต่ำ 100 ล้านบาทต่อรุ่น โดย CMDF จะให้ทุนสนับสนุนตามค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง แต่ไม่เกิน 2 ล้านบาทต่อประเภทของ ESG Bond โดยมีวงเงินโครงการรวมทั้งสิ้น 100 ล้านบาท ซึ่งปัจจุบันมีผู้ออก ESG bond ที่ได้รับทุนสนับสนุนแล้ว 4 องค์กร มูลค่าการออกตราสารหนี้รวม 21,366 ล้านบาท

นางสาวอริยา ติรณะประกิจ รองกรรมการผู้จัดการ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย นางสาวอริยา ติรณะประกิจ รองกรรมการผู้จัดการ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย