คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กำหนดให้มีการเลือกตั้ง ส.ส. เป็นการทั่วไป พ.ศ.2566 ในวันอาทิตย์ที่ 14 พฤษภาคม 2566 พร้อมกำหนดให้มีหย่อนบัตรลงคะแนนในวันเลือกตั้งล่วงหน้าก่อนหนึ่งสัปดาห์ คือ ในวันอาทิตย์ที่ 7 พฤษภาคม 2566 ตั้งแต่เวลา 08.00 – 17.00 น.
ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้ กกต. ได้เปิดให้ผู้มีสิทธิลงคะแนนเลือกตั้ง ส.ส. ทั้งในเขต นอกเขต และนอกราชอาณาจักรยื่นคําขอลงทะเบียนเลือกตั้ง ส.ส. ล่วงหน้า ได้ตั้งแต่วันที่ 25 มีนาคมที่ผ่านมา ซึ่งในวันนี้ 9 เมษายน 2566 เป็นวันสุดท้ายแล้ว
การขอใช้สิทธิเลือกตั้งก่อนวันเลือกตั้ง "ในเขตเลือกตั้ง"
ผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ได้รับคําสั่งจาก ทางราชการให้ไปปฏิบัติหน้าที่นอกเขตเลือกตั้งสามารถยื่นคําขอลงทะเบียนใช้สิทธิ ภายใน 20 วัน ก่อนวันเลือกตั้ง โดยยื่นคําขอลงทะเบียนขอใช้สิทธิ ต่อนายทะเบียนอําเภอ หรือ นายทะเบียนท้องถิ่น ภายในระยะเวลาที่ กกต. กําหนด ณ ที่เลือกตั้งกลางในเขตเลือกตั้งที่ตนมีสิทธิเลือกตั้ง
สามารถยื่นด้วยตนเอง มอบหมายผู้มีสิทธิรับยื่นแทน หรือยื่นทางไปรษณีย์
วิธียื่นขอลงทะเบียนใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้า "ในเขตเลือกตั้ง"
-ยื่นคําขอลงทะเบียนต่อนายทะเบียนอําเภอ หรือนายทะเบียนท้องถิ่นที่ตนมีถิ่นที่อยู่
-เขียนรายละเอียดลงแบบคําร้องขอ พร้อมเอกสาร และหลักฐานที่เกี่ยวข้องโดยยื่นคําขอลงทะเบียน ได้ 2 ช่องทาง ดังนี้
1.ยื่นคําขอด้วยตนเอง (หรือมอบหมาย ผู้อื่นยื่นแทน)
2.ยื่นคําขอทางไปรษณีย์
สิ่งที่ต้องเตรียม
-สําเนาบัตรประจําตัวประชาชนหรือ
-สําเนาบัตรที่มีรูปถ่ายและหมายเลขประจําตัวประชาชนที่ทางราชการออกให้
-คําสั่งของทางราชการ หรือหนังสือ รับรองจากหน่วยงานของรัฐ
-แบบคําร้องขอใช้สิทธิฯ คลิกดาวโหลดได้ที่นี่ (คำขอลงทะเบียนใช้สิทธิออกเสียงลงคะแนนก่อนวันเลือกตั้งในเขตเลือกตั้ง)
การขอใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้า "นอกเขตเลือกตั้ง" คือ
-ผู้ที่อยู่นอกเขตเลือกตั้งที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน
-ผู้ที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งไม่ถึง 90 วัน นับถึงวันเลือกตั้ง สามารถไปลงคะแนนเลือกตั้ง ส.ส. ก่อนวันเลือกตั้ง ณ ที่เลือกตั้งกลางของจังหวัดที่ทํางานหรืออาศัยอยู่ได้
-ยื่นคําขอลงทะเบียนเพื่อขอใช้สิทธิเลือกตั้งก่อนวันเลือกตั้ง นอกเขตเลือกตั้ง ต่อนายทะเบียนอําเภอ หรือนายทะเบียนท้องถิ่น 30 วัน ก่อนวันเลือกตั้ง
กรณีเขตเลือกตั้งใดมีพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้ง ส.ส. แทนตําแหน่งที่ว่าง หรือมีการเลือกตั้งใหม่ ผู้ลงทะเบียนสามารถเดินทางกลับไปใช้สิทธิลงคะแนนเลือกตั้ง ณ หน่วยเลือกตั้งที่ตนมีชื่อ อยู่ในทะเบียนบ้านได้
การยื่นคําขอลงทะเบียนขอใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้า "นอกเขตเลือกตั้ง"
-ยื่นคําขอลงทะเบียนต่อนายทะเบียนอําเภอ หรือนายทะเบียนท้องถิ่นที่ตนมีถิ่นที่อยู่
-เขียนรายละเอียดลงแบบคําร้องขอ พร้อมเอกสาร และหลักฐานที่เกี่ยวข้องโดยยื่นคําขอลงทะเบียน ได้ 3 ช่องทาง ดังนี้
1.ยื่นคําขอ ด้วยตนเอง (หรือมอบหมาย ผู้อื่นยื่นแทน)
2.ยื่นคําขอ ทางไปรษณีย์
3.ยื่นคําขอ ทางอินเทอร์เน็ต (หรือทางแอปฯ Smart Vote)
สิ่งที่ต้องเตรียม
-สําเนาบัตรประจําตัวประชาชนหรือ
-สําเนาบัตรที่มีรูปถ่ายและหมายเลขประจําตัวประชาชนที่ทางราชการออกให้
-แบบคําร้องขอใช้สิทธิฯ คลิกดาวน์โหลดได้ที่นี่ (คำขอลงทะเบียนใช้สิทธิออกเสียงลงคะแนนก่อนวันเลือกตั้งนอกเขตเลือกตั้ง)
ระบบลงทะเบียนนอกเขตเลือกตั้ง
https://stat.bora.dopa.go.th/Election/regoutvote/#/main
หรือทางแอปฯ Smart Vote
การยื่นขอใช้สิทธิเลือกตั้ง "นอกราชอาณาจักร"
1.กรณีอยู่ "นอกราชอาณาจักร"
-ยื่นแบบคําร้องขอใช้สิทธิเลือกตั้งฯ พร้อมเอกสารแสดงตน เพื่อลงทะเบียนขอใช้สิทธิฯ 30 วัน ก่อนวันเลือกตั้ง ในวันและเวลาราชการ ณ สถานเอกอัครราชฑูตแห่งเขตรับผิดชอบที่ตนมีถิ่นที่อยู่ หนังสือเดินทาง บัตรประจําตัวประชาชน หรือบัตรที่มีรูปถ่าย ซึ่งทางราชการออกให้ และมีเลขประจําตัวประชาชน โดยสามารถยื่นขอลงทะเบียนได้ 3 ช่องทาง
แบบคำร้องขอใช้สิทธิฯ คลิกดาวน์โหลดได้ที่นี่ (คำขอลงทะเบียนใช้สิทธิออกเสียงลงคะแนนก่อนวันเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร)
2.กรณีอยู่ในประเทศไทยแต่จะเดินทางไปต่างประเทศในช่วงการเลือกตั้งโดยสามารถยื่นขอลงทะเบียนได้ 3 ช่องทาง
แบบคำร้องขอใช้สิทธิฯ คลิกดาวน์โหลดได้ที่นี่ (คำขอลงทะเบียนใช้สิทธิออกเสียงลงคะแนนก่อนวันเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร)
วิธีลงทะเบียนขอใช้สิทธิล่วงหน้า "นอกราชอาณาจักร" ทางอินเทอร์เน็ต
ผู้ที่ประสงค์ยื่น คําขอลงทะเบียนฯ เลือกตั้งล่วงหน้านอกราชอาณาจักร สามารถดําเนินการยื่นคําขอลงทะเบียนด้วยตนเองได้ทางเว็บไซต์หรือทางแอปพลิเคชัน โดยสามารถลงทะเบียนได้ตลอด 24 ชั่วโมง และไม่ต้องนําส่งเอกสารและหลักฐานประกอบการลงทะเบียน
-ระบบลงทะเบียนนอกเขตเลือกตั้ง https://stat.bora.dopa.go.th/Election/popout/#/popout
-หรือทางแอปฯ Smart Vote
คุณสมบัติผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
1.มีสัญชาติไทย หรือ หากเคยแปลงสัญชาติ
2.ต้องได้สัญชาติไทยมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี
3.อายุไม่ตํ่ากว่า 18 ปี ในวันเลือกตั้ง
4.มีชื่อ อยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งมาแล้ว
5.เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 90 วัน นับถึงวันเลือกตั้ง
ลักษณะต้องห้ามของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
1.เป็นภิกษุ สามเณร นักพรต หรือนักบวช
2.อยู่ในระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิการเลือกตั้ง
3.ต้องคุมขังโดยหมายของศาล หรือคําสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
ทั้งนี้ สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วน 1444 ทุกคำถามมีคำตอบ หรือ www.ect.go.th