เยอรมนี เผยยอดโหลด ‘แอปฯ เตือนโควิด-19’ ทะลุ 18 ล้านครั้ง

25 ก.ย. 2563 | 01:19 น.
อัปเดตล่าสุด :25 ก.ย. 2563 | 08:31 น.

เผยเปิดให้ดาวน์โหลดภายใน 100 วันก่อน ได้ถูกดาวน์โหลดแล้วมากกว่า 18 ล้านครั้ง

เบอร์ลิน, 24 ก.ย. (ซินหัว) — เมื่อวันพุธ (23 ก.ย.) เฮลเกอ เบราน์ หัวหน้าสำนักนายกรัฐมนตรีเยอรมนี แถลงข่าวว่าแอปพลิเคชันแจ้งเตือนโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) ของทางการเยอรมนี ซึ่งเริ่มเปิดใช้งานเมื่อราว 100 วันก่อน ได้ถูกดาวน์โหลดแล้วมากกว่า 18 ล้านครั้ง ซึ่งนับเป็นตัวเลขที่ “ไม่ธรรมดา”

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

"หมอธีระ"ชี้โควิด-19 ยังติดกันโหด ทะลุสามแสนต่อวัน 

ทั่วโลกติดโควิด-19 ทะลุ 32.3 ล้านราย เสียชีวิตกว่า 9.8 แสนราย 

“ฟูจิฟิล์ม” เตรียมขออนุมัติใช้ยาอาวิแกน (Avigan) รักษาผู้ป่วยโควิดเป็นยาลำดับที่ 3 ในญี่ปุ่น

อ่วม! ทั่วโลกติดโควิด-19 ทะลุ 32 ล้านราย เสียชีวิตเพิ่ม 6,111 ราย 

เบราน์ กล่าวว่า ตัวเลขข้างต้นครอบคลุมยอดดาวน์โหลดจากต่างประเทศกว่า 400,000 ครั้ง ทำให้กลายเป็นแอปฯ เฝ้าระวังโรคโควิด-19 ที่มีคนใช้มากที่สุดในยุโรป

รัฐบาลเยอรมันระบุว่าแอปฯ ดังกล่าวถูกพัฒนาเพื่อแจ้งเตือนประชาชนที่สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยโรคโควิด-19 ให้ตรวจโรคและทำลายห่วงโซ่การแพร่เชื้อ โดยแอปฯ จะไม่เปิดเผยตัวตนของผู้ใช้ และจะลบข้อมูลจากโทรศัพท์เมื่อเวลาผ่านไป 14 วัน

 

เยนส์ ชพาห์น รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขของเยอรมนี กล่าวว่ามีการส่งต่อผลตรวจโรคผ่านเครือข่ายห้องปฏิบัติการมากกว่า 1.2 ล้านครั้ง และผู้ใช้ที่ติดเชื้อเกือบ 5,000 ราย ยังใช้แอปฯ เพื่อเตือนผู้สัมผัสใกล้ชิดกับพวกเขาด้วย

ชพาห์นย้ำว่าแอปฯ ดังกล่าว “ไม่ใช่วิธีที่จะสามารถแก้ไขได้ทุกปัญหา แต่เป็นหนึ่งในหลายเครื่องมือสำคัญ ท่ามกลางการแพร่ระบาดใหญ่ของโรค”

 

แอปฯ ได้รับการพัฒนาในนามรัฐบาลเยอรมัน โดยเอสเอพี (SAP) บริษัทซอฟต์แวร์ และดอยช์ เทเลคอม (Deutsche Telekom) บริษัทโทรคมนาคมรายใหญ่ของเยอรมนี ด้วยเงินทุนราว 20 ล้านยูโร (ประมาณ 737 ล้านบาท)

ที่มา:สำนักข่าวซินหัว

ทิโมเธียส เฮิตเกส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของดอยช์ เทเลคอม ระบุว่าการพัฒนาแอปฯ ข้างต้น “ไม่ใช่โครงการไอทีธรรมดาทั่วไป” สืบเนื่องจากการรับมือกับ “ปัญหาใหญ่” ในการทำงานของแอปฯ ร่วมกับระบบปฏิบัติการของกูเกิล (Google) และแอปเปิล (Apple)

 

อย่างไรก็ดี ปัญหาหลักของแอปฯ ได้รับการแก้ไขโดยความร่วมมือกับกูเกิลและแอปเปิล ด้านเฮิตเกสออกมายืนยันเมื่อวันพุธ (23 ก.ย.) ว่าบริษัทจะไม่ออกแบบให้แอปฯ สามารถใช้งานบนโทรศัพท์มือถือรุ่นเก่าบางรุ่นได้