กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เผยข้อมูล สถิติการฉีดวัคซีนโควิด-19 ทั่วโลก วานนี้ (2 มิ.ย.) พบว่า ทั่วโลกมีการฉีดวัคซีนไปแล้ว 1,947 ล้านโดส (ใน 197 ประเทศ/เขตปกครอง) โดยมีอัตราการฉีดล่าสุดเฉลี่ยทั่วโลกที่ 33.5 ล้านโดสต่อวัน และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้ หากพิจารณารายประเทศ พบว่า “อิสราเอล” เป็นประเทศที่มีการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ครอบคลุมประชากรเกินกว่าครึ่งหนึ่งของประเทศแล้ว ส่วนสหรัฐอเมริกามีจำนวนการฉีดวัคซีนสูงที่สุดที่ 296 ล้านโดส โดยมีชาวอเมริกันกว่า 136 ล้านคนได้รับวัคซีนป้องกันโควิด-19 ครบ 2 โดสแล้ว
สถิติการฉีดวัคซีนโควิดในอาเซียน
สำหรับสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ อาเซียน ขณะนี้ทุกประเทศได้ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ครบทั้ง 10 ประเทศแล้ว มียอดฉีดวัคซีนรวมกันที่ประมาณ 53.55 ล้านโดส โดยสิงคโปร์ฉีดวัคซีนในสัดส่วนประชากรมากที่สุดที่ 34.4% ของจำนวนประชากร ขณะที่ในแง่ปริมาณ อินโดนีเซียมีการฉีดวัคซีนโควิดแล้วจำนวนมากที่สุดที่ 27.727 ล้านโดส ส่วนประเทศไทย ข้อมูล ณ วันที่ 2 มิ.ย. 2564 พบว่า มีการฉีดวัคซีนโควิดแล้วกว่า 3,753,718 โดส โดยฉีดให้กับประชาชนในพื้นที่เสี่ยงมากที่สุดในสัดส่วนกว่า 31.8%
ข้อมูลการฉีดวัคซีนแยกรายประเทศอาเซียน ได้แก่
* คำนวณจากจำนวนฉีด/จำนวนประชากร/2 เหมือนกันทุกประเทศ
ทั้งนี้ ข้อมูลการฉีดวัคซีนล่าสุดของประเทศไทย ณ วันที่ 2 มิถุนายน 2564 นั้น จัดสรรวัคซีนแล้วทั้งหมด 4,235,266 โดส จำนวนการฉีดวัคซีนสะสม 3,753,718 คน ใน 77 จังหวัด แบ่งเป็น เข็มแรก 2,591,372 โดส เข็มสอง 1,162,346 โดส
ลงลึกสถิติโลก
ในการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ทั่วโลกจำนวน 1,947 ล้านโดสนี้ มีสถิติที่สำคัญ คือ
ประเทศที่ฉีดวัคซีนแล้วมากที่สุด 4 ลำดับแรก มีการฉีดวัคซีนกว่า 100 ล้านโดส หรือรวมกันเกือบ 60% ของปริมาณการฉีดวัคซีนทั่วโลก และ 4 ประเทศดังกล่าว ได้แก่
1. จีน ฉีดวัคซีนแล้วจำนวน 661.47 ล้านโดส (23.6% ของจำนวนการฉีดทั่วโลก)
2. สหรัฐอเมริกา จำนวน 296.40 ล้านโดส (46.2%)
3. สหภาพยุโรป (อียู) จำนวน 250.19 ล้านโดส (28.2%)
4. อินเดีย จำนวน 218.36 ล้านโดส (8.0%)
ประเทศที่ฉีดวัคซีนครอบคลุมประชากรมากที่สุด มี 10 ประเทศที่ฉีดวัคซีนให้กับประชากรอย่างน้อย 25% แล้ว ได้แก่ (เฉพาะประเทศที่มีประชากรมากกว่า 500,000 คน)
1. มัลดีฟส์ (64.2%) (ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca/Oxford และ Sinopharm)
2. สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ หรือ ยูเออี (60.3%) (ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca/Oxford, Pfizer/BioNTech, Sinopharm และ Gamaleya หรือที่รู้จักในนาม “สปุตนิก วี”)
3. อิสราเอล (58.5% ของประชากร) (ฉีดวัคซีนของ Pfizer/BioNTech และ Moderna)
4. บาห์เรน (58.4%) (ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca/Oxford, Pfizer/BioNTech, Sinopharm และ Gamaleya)
5. ชิลี (48.9%) (ฉีดวัคซีนของ Pfizer/BioNTech และ Sinovac)
6. อังกฤษ (48.8%) (ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca/Oxford Moderna และ Pfizer/BioNTech)
7. สหรัฐอเมริกา (46.2%) (ฉีดวัคซีนของ Pfizer/BioNTech , Moderna และ Johnson&Johnson)
8. กาตาร์ (46.1%) (ฉีดวัคซีนของ Pfizer/BioNTech)
9. ฮังการี (45.2%) (ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca/Oxford, Pfizer/BioNTech, Sinopharm และ Gamaleya)
10. อุรุกวัย (40.5%) (ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca, Pfizer และ Sinovac)
จำนวนการฉีดวัคซีนแยกตามภูมิภาค
1. เอเชียและตะวันออกกลาง 56.09%
2. อเมริกาเหนือ 18.55%
3. ยุโรป 17.07%
4. ลาตินอเมริกาและแคริบเบียน 6.34%
5. แอฟริกา 1.69%
6. โอเชียเนีย 0.26%
แหล่งข้อมูล Bloomberg Vaccine Tracker, กระทรวงสาธารณสุข
ประมวลข้อมูลโดย กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
ข่าวที่เกี่ยวข้อง