นาย ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังโพสต์บทความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว Thirachai Phuvanatnaranubala วานนี้ (1 พ.ค.) เรื่อง “เฝ้าระวังมหาวิกฤตเศรษฐกิจ” ซึ่งเป็นบทความชิ้นที่ 49 มีรายละเอียดน่าสนใจอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่ติดตาม สถานการณ์โลก ที่มี ปัจจัยลบทางเศรษฐกิจ เกิดขึ้นมากมายตั้งแต่ต้นปีจนถึงขณะนี้ ราวพายุที่โหมกระหน่ำลูกแล้วลูกเล่า แล้วเราควรจะเตรียมรับมืออย่างไร
“เฝ้าระวังมหาวิกฤตเศรษฐกิจ” บทความที่ 49
ไตรมาสสี่ปีนี้ อาจจะมี The Perfect Storm เพราะหลายประเทศอาจจะเผชิญปัญหาพร้อมกัน
สหรัฐ สู้กับเงินเฟ้อ โดยปฏิบัติตามตำรา ดูดสภาพคล่องออก บีบเศรษฐกิจลดกำลังซื้อ เพื่อให้เงินเฟ้อชะลอ
แต่เฟดเริ่มช้าเป็นปี มาจังหวะนี้จึงเจอพายุซ้อน ทั้งจากสงครามยูเครน และจากปัญหาห่วงโซ่อุปทาน
ใน จีน ปัญหา Evergrande และภาคอสังหาริมทรัพย์ยังแก้ไขไม่เสร็จ เจอปัญหาเพิ่ม นโยบายโควิดซีโร่ทำให้ต้องไล่ปิดเมืองใหญ่ ตัดทอนกำลังซื้อ
ใน รูป 1 จุดสีเขียวและสีแดง คือเรือจำนวนมากที่ทอดสมอ ต้องรอคิวเข้าเทียบท่าที่เซี่ยงไฮ้ เพิ่มปัญหาห่วงโซ่อุปทานไปทั่วโลก
ยุโรป กำลังจะชะลอตัว รายได้ธุรกิจจากรัสเซียหายไป และกำลังคิดจะแซงชั่นน้ำมันรัสเซีย ซึ่งถ้าเกิดขึ้น ก็จะทำให้ราคาน้ำมันโลกสูงขึ้น
แต่ปัญหาหนักจะเกิดจากก๊าซ ถ้ายอมจ่ายเป็นรูเบิล เมื่อรูเบิลแข็งขึ้น จะทำให้ราคาก๊าซสูงขึ้น กระทบกำลังซื้อ
ถ้ารัสเซียตัดก๊าซ เศรษฐกิจยุโรปจะถดถอยฉับพลัน
แต่ รัสเซีย เอง เศรษฐกิจอันดับ 11 ก็จะกระทบอย่างหนัก
รูป 2 ถึงแม้รูเบิลแข็งทำให้เงินเฟ้อลดลง แต่แซงชั่นทำให้สินค้านำเข้าขาดแคลน ข้อมูลอัตราเงินเฟ้อ PPI ล่าสุด สูงขึ้น 27% จากปีก่อน
รูป 3 ผู้ว่าการธนาคารชาติรัสเซียสรุปไว้ชัดเจน รัสเซียต้องขวนขวายหาแหล่งนำเข้าทดแทนของเดิม ซึ่งจะใช้เวลาหลายปี
และถ้าหาซื้อชิ้นส่วนเทคโนโลยีรุ่นใหม่ไม่ได้ ก็จำเป็นต้องย้อนยุค กลับไปใช้เทคโนโลยีรุ่นเก่า ซึ่งย่อมจะกระทบต่อ productivity ในอนาคต
รัสเซียประสบปัญหาขนส่งทางเรือด้วย
เรียงจากบริษัทใหญ่สุด MSC (สวิส) Maersk (เดนมารก์) CMA (ฝรั่งเศส) Ocean Network Express (สิงคโปร์) และ Hapag Lloyd (เยอรมนี)
ขณะนี้ ห้าบริษัทใหญ่สุดไม่รับส่งสินค้า ยกเว้นอาหารและสินค้ามนุษยธรรม
ปัญหาสำหรับรัสเซีย ในฝั่งนำเข้าน่าจะแก้ปัญหายากกว่าฝั่งส่งออก
รูป 4 แสดงสินค้าที่รัสเซียนำเข้า ซึ่งสองอันดับแรกน่าจะมีปัญหามากที่สุด คือ เครื่องจักร/คอม 31% ของนำเข้า
รูป 5 แสดง 10 อันดับประเทศนำเข้า ปรากฏว่าเป็นประเทศกลุ่มตะวันตกที่ขายสินค้าเทคโนโลยีถึง 6 ประเทศ
รัสเซียอาจจะหาแหล่งใหม่ได้จากจีน แต่ก็ต้องใช้เวลา และคงจะได้เป็นเพียงบางส่วนเท่านั้น
รูป 6 รายงานข้อมูลว่า ความพยายามพัฒนาซอฟต์แวร์ของรัสเซียไม่ได้คืบหน้ามากนัก และต่อไปจะแย่ลง เพราะบริษัทตะวันตกย้ายออก
สินค้าสำคัญที่รัสเซียจะแก้ปัญหายากที่สุด คือการนำเข้าชิปคอมพิวเตอร์ ใน รูป 7 (ยอดนำเข้าปี 2020 ลดลงเพราะล็อกดาวน์)
ทั้งนี้ แท่งสำหรับปี 2021 เป็นข้อมูลแค่ 6 เดือนเท่านั้น
และ รูป 8 ประเทศที่เป็นแหล่งซัพพลายชิปให้แก่รัสเซีย 6 ใน 10 อันดับแรกอยู่ในกลุ่มศัตรู โดยเยอรมนีนำโด่ง ถึงแม้ลดลงแล้วในปี 2020-21
ดังนั้น ถ้ารัสเซียจะหันไปพึ่งจีนสำหรับชิปทั้งหมด ก็ต้องไปต่อคิว เพราะเวลานี้ชิปขาดตลาดมาก
แต่รัสเซียจะไม่ชะลอคนเดียว จะพาเศรษฐกิจอื่นชะลอลงไปด้วย ทั้งตะวันตก และทั่วโลก
รูป 9 แสดงดัชนีปัญหาด้าน supply chain ทั่วโลก ซึ่งพุ่งขึ้นช่วงล็อคดาวน์โควิด แล้วลดลง แต่ขณะนี้กลับสูงกว่าช่วงล็อคดาวน์แล้ว
รูป 10 แสดง PPI ของสเปนและเยอรมนี ซึ่งพุ่งสูงขึ้นอย่างหนัก ซึ่งส่วนหนึ่งจะดันให้ CPI ยุโรปสูงขึ้น ลดกำลังซื้อ อีกส่วนหนึ่งผู้ผลิตจึงต้องรับไว้เอง จะกระทบกำไร และสภาวะตลาดทุน
รูป 11 แสดงราคาอาหารโลก ปี 2020 อยู่ที่ระดับ 100 ล่าสุดขึ้นไปถึง 160 แล้ว เงินเฟ้อกำลังจะกระทบการเมืองสหรัฐ
พรรครีพับลิกันมีแนวโน้มจะชนะ mid term election แบบแลนด์สไลด์ การเมืองของไบเดนกำลังสั่นคลอน รวมทั้งส่ออาการปัญหาสุขภาพส่วนตัวอีกด้วย
น่าคิดว่า ภาพ The Perfect Storm ที่กำลังตั้งเค้า จะช่วยให้มีการลดความทะเยอทะยานทางสงครามลงไปบ้างหรือไม่
รูป 12 รมว.ตปท.รัสเซียแสดงท่าทีพร้อมจะเจรจามากขึ้น โดยระบุการยกเลิกแซงชั่นเป็นเงื่อนไขหนึ่ง อาจจะบ่งชี้เช่นนี้
(เครดิตภาพตามแหล่งที่แสดงชื่อ)
หมายเหตุ: การกล่าวถึงชื่อบุคคลใดมิใช่เป็นการกล่าวหากระทำความผิด แต่เป็นเพื่อประกอบการบรรยายทางวิชาการเพื่อประโยชน์แก่ทางราชการในการรักษาประโยชน์ของประเทศชาติเป็นสำคัญ