นายเชิดชาย ใช้ไววิทย์ อธิบดีกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) กล่าวบรรยายสรุปแก่สื่อมวลชนวันนี้ (8 พ.ย.) ในประเด็นการเข้าร่วม การประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 30 และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในช่วงสัปดาห์การประชุมผู้นำ (APEC Economic Leaders’ Week: AELW) ของ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และคณะผู้แทนไทย ระหว่างวันที่ 12-17 พ.ย. 2566 ณ นครซานฟรานซิสโก ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยระบุว่า การเข้าร่วมการประชุมครั้งนี้เป็นไปตามคำเชิญของนายโจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐ
ทั้งนี้ การเข้าร่วมการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคของนายกรัฐมนตรี จะเป็นการสานต่อผลลัพธ์ของการเป็นเจ้าภาพเอเปคของไทยเมื่อปีที่ผ่านมา (2565) และสะท้อนบทบาทที่สร้างสรรค์ของไทยในการส่งเสริมความร่วมมือเพื่อการเติบโตที่เข้มแข็ง ยืดหยุ่น ยั่งยืน และครอบคลุมของเขตเศรษฐกิจสมาชิกเอเปคและของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกในภาพรวม ซึ่งจะช่วยยกระดับความเชื่อมั่นที่นานาชาติมีต่อไทย ส่งเสริมภาพลักษณ์การเป็นพันธมิตรที่เชื่อถือได้ ในด้านเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน และการพัฒนาที่ยั่งยืน เพื่อรับมือกับความท้าทายและส่งเสริมผลประโยชน์ร่วมกัน
สำหรับ ประเด็นสำคัญที่ไทยจะผลักดันในการประชุมผู้นำเอเปคครั้งนี้ มี 5 ประเด็นหลัก ได้แก่
ในปี 2566 นี้ สหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเขตเศรษฐกิจเอเปค ได้จัดการประชุมระดับรัฐมนตรีมาแล้ว 7 ครั้งนับตั้งแต่ต้นปี ส่วนในช่วง สัปดาห์การประชุมผู้นำ หรือ APEC Economic Leaders’ Week (AELW) นั้น จะมีการประชุมรัฐมนตรีคลังเอเปค และการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจ (ซึ่งประกอบด้วยรัฐมนตรีต่างประเทศและรัฐมนตรีการค้า) จากนั้นจึงเป็นการประชุมระดับผู้นำ ซึ่งมีไทม์ไลน์ ดังนี้
13 พ.ย.2566
14-15 พ.ย. 2566
15 พ.ย.2566
สำหรับการพบปะระหว่างนายกรัฐมนตรีกับภาคเอกชนของสหรัฐอเมริกา นอกเหนือจากงานดินเนอร์ที่กล่าวมาแล้วนั้น อธิบดีเชิดชายกล่าวว่า ณ ขณะนี้กล่าวได้เพียงว่า มีบริษัทเอกชนจำนวนมากและแทบจะทุกสาขาเทคโนโลยีที่จะได้พบ แต่ยังไม่สามารถกล่าวระบุชื่อบริษัทหรือชื่อองค์กรอย่างเจาะจงในเวลานี้ ขณะที่ไทยเองก็มีคณะนักนักธุรกิจร่วมเดินทางไป ซึ่งการพบกันระหว่างภาคธุรกิจเอกชนไทย-สหรัฐนั้น จะมีในหลายรูปแบบ เช่น การเจรจา Round Table การโร้ดโชว์โครงการแลนด์บริดจ์ ที่มีกระทรวงคมนาคมเป็นเจ้าภาพ และการพูดคุยแบบทวิภาคี ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้น ทางกต.จะสรุปผลการหารือให้ฟังแบบวันต่อวัน
17 พ.ย.2566
ทั้งนี้ เอเปคเป็นกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจชั้นนำของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ประกอบด้วย 21 เขตเศรษฐกิจสมาชิก ครอบคลุม 38% ของประชากรโลก ขนาดเศรษฐกิจของเอเปคเท่ากับ 62% ของจีดีพีโลก และมูลค่าการค้าเท่ากับ 48% ของมูลค่าการค้าโลก วัตถุประสงค์หลักก็เพื่อส่งเสริมการบูรณาการทางเศรษฐกิจของภูมิภาค และต่อมาได้ขยายไปยังมิติความร่วมมือด้านสังคมและการพัฒนา เป็นหนึ่งในกรอบความร่วมมือระดับภูมิภาคสำคัญที่ไทยมีบทบาทสร้างสรรค์ได้อย่างเต็มที่และเท่าเทียมกับสมาชิกที่มีระดับเศรษฐกิจที่ต่างกัน