พลโท ดร.ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล ผู้เชี่ยวชาญด้านยุทธศาสตร์และการป้องกันประเทศ ได้ประมวลและนำเสนอข้อพิจารณาเกี่ยวกับโอกาสของไทย จากการที่มีการคาดการณ์ว่า ภายในปี 2025 (พ.ศ.2568) ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค หรือ RCEP (Regional Comprehensive Economic Partnership) ซึ่งในปัจจุบันมีประเทศสมาชิก 15 ประเทศที่ร่วมลงนาม ได้แก่ อาเซียน 10 ประเทศ รวมทั้งจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ โดยจะผลักดันให้การส่งออกเพิ่มขึ้น 10.4% รวมทั้งการลงทุนจากต่างชาติเพิ่มขึ้น 2.6 % และ GDP ของประเทศสมาชิก RCEP จะเพิ่มขึ้นอีก 1.8%
ทั้งนี้ เนื่องจากการบรรลุความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) เป็นเหตุการณ์เชิงสัญลักษณ์ของความเป็นหนึ่งเดียวทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก และการที่ RCEP ได้มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2565 จะช่วยปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการประกอบธุรกิจให้ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
อีกทั้งยังจะช่วยส่งเสริมการปรับปรุงห่วงโซ่อุตสาหกรรม และห่วงโซ่อุปทานในภูมิภาคนี้ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นอีกด้วย จึงถือเป็นการกระตุ้นศักยภาพของความร่วมมือ รวมทั้งขยายความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและการค้าในภูมิภาคนี้ให้เพิ่มมากขึ้น
นอกจากนี้ การที่รัฐบาลไทยได้ประกาศให้การขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศด้วย BCG โมเดลเศรษฐกิจใหม่ หรือ Bio-Circular-Green Economy Model เป็นวาระแห่งชาติ อันจะเป็นการสร้างโอกาสให้กับประเทศไทยได้มากขึ้นจากความร่วมมือด้านการค้าภาคบริการอีกด้วย
นอกจากนี้ พลโท ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล ยังได้นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับผลประโยชน์ที่เป็นรูปธรรมของโครงการรถไฟความเร็วสูงตามข้อริเริ่ม “สายแถบและเส้นทาง” (Belt and Road Initiative : BRI) ใน 2 เส้นทาง ได้แก่ เส้นทางรถไฟความเร็วสูงจาการ์ตา-บันดุง และเส้นทางรถไฟความเร็วสูงจีน-ไทย
โดยเมื่อเร็วๆ นี้ หลังจากการขนส่งทางทะเลเป็นเวลา 11 วัน ขบวนรถไฟความเร็วสูงจากจีนที่ส่งออกไปยังจาการ์ตา ได้เดินทางมาถึงท่าเรือจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซียแล้ว ซึ่งเป็นรถไฟความเร็วสูงขบวนแรกที่มาถึงอินโดนีเซียภายใต้โครงการรถไฟความเร็วสูงจาการ์ตา-บันดุง และเป็นรถไฟความเร็วสูงสายแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งหมด
ทั้งนี้ รถไฟความเร็วสูงจาการ์ตา-บันดุง เป็นโครงการสำคัญในการก่อสร้างร่วมกันของโครงการตามข้อริเริ่ม “สายแถบและเส้นทาง" และความร่วมมือเชิงปฏิบัติระหว่างจีนและอินโดนีเซีย โดยมีความยาวรวม 142 กิโลเมตร หลังจากสร้างเสร็จและเปิดให้สัญจรแล้ว จะใช้เวลาเดินทางจากกรุงจาการ์ตา เมืองหลวงของอินโดนีเซีย ไปยังเมืองบันดุง ลดลงจาก 3 ชั่วโมงในปัจจุบัน เหลือเพียง 40 นาที
ในขณะที่เส้นทางรถไฟความเร็วสูงจีน-ไทย เมื่อสร้างแล้วเสร็จจะให้ประโยชน์ ดังนี้
1.ส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทย โดยจำนวนนักท่องเที่ยวจีนที่มาเยือนประเทศไทยทุกปีอาจเพิ่มขึ้นถึง 2 ล้านคน ในขณะเดียวกันรถไฟความเร็วสูงจีน-ไทย จะมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย
2. เหมาะสำหรับการขนส่งที่จะอำนวยความสะดวกในการส่งสินค้าไทยไปจีน และหากเปิดการสัญจรได้ทั้งสายจะทำให้สามารถส่งออกสินค้าของไทยไปยังยุโรปได้ภายใน 12 วัน
3. จีนและไทยจะยิ่งกระชับความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์ระดับชาติขนาดใหญ่ และยังคงเสริมสร้างความร่วมมือในด้านโครงสร้างพื้นฐาน การค้าและการลงทุน
4. ภายหลังการเปิดรถไฟความเร็วสูงจีน-ไทย จากนครคุนหมิง เมืองเอกของมณฑลยูนนานไปกรุงเทพฯ จะประสบความสำเร็จในอนาคตอันใกล้นี้ อันสนับสนุนในการเชื่อมต่อการคมนาคมขนส่งระหว่างจีน-อาเซียน โดยมีไทยเป็นศูนย์กลางในการเชื่อมต่อ
5. โครงการรถไฟความเร็วสูงจีน-ไทยจะส่งผลในเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญและยั่งยืนต่ออุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ของไทยทั้งในระหว่างและหลังการเปิดดำเนินการ
ข้อมูลจากเว็บไซต์ https://www.sohu.com/a/487699427_115239
ข้อมูลจากเว็บไซต์ https://www.163.com/dy/article/HGH2LEQU05529MQ6.html และ https://cn.tgcondo.com/.../246-china-thai-railway-eia... )