ในช่วง “ฤดูฝน” ที่ฝนตกหนักส่งผลให้หลายพื้นที่มีน้ำท่วมขังเป็นระยะเวลานาน อาจก่อให้เกิดการระบาดของโรคติดต่อหรือโรคติดเชื้อต่างๆ จึงจำเป็นต้องป้องกันและหลีกเลี่ยงการติดเชื้อ อยู่ในภาวะเสี่ยงที่จะเจ็บป่วย ซึ่งโรคที่มักระบาดในหน้าฝน ได้แก่
1.โรคติดเชื้อระบบทางเดินอาหาร
อาทิ โรคอุจจาระร่วง, อาหารเป็นพิษ, อหิวาตกโรค, โรคตับอักเสบ, โรคบิด และไทฟอยด์ ฯลฯ)
ลักษณะอาการ :
ถ่ายอุจจาระเหลวหรือเป็นน้ำ หรือถ่ายเป็นมูกเลือด วิงเวียนศีรษะ มีไข้ ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ปวดเมื่อยเนื้อตัว เบื่ออาหาร หรือมีอาการตัวเหลือง ตาเหลือง
การป้องกัน :
2.โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ
อาทิ ไข้หวัด, ไข้หวัดใหญ่, ปอดบวม ฯลฯ
ลักษณะอาการ : มีไข้ มีน้ำมูก มีเสมหะ คัดจมูก ไอ เจ็บคอ ปวดเมื่อยเนื้อตัว ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย และเบื่ออาหาร
การป้องกัน :
3.โรคน้ำกัดเท้า
ลักษณะอาการ : คันตามซอกนิ้วเท้า ผิวหนังลอกเป็นขุย มีผิวหนังอักเสบบวมแดงเป็นผื่นพุพอง หรือมีลักษณะเท้าเปื่อยและเป็นหนอง
การป้องกัน :
4.โรคฉี่หนู หรือ โรคเลปโตสไปโรซิส
ลักษณะอาการ : มีไข้สูงฉับพลัน ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะบริเวณน่อง โคนขา หรือหลัง บางรายอาจมีอาการตาแดง เบื่ออาหาร มีจุดเลือดออกตามผิวหนัง ไอมีเลือดปน ตัวเหลือง ตาเหลือง และปัสสาวะน้อย
การป้องกัน :
5.โรคตาแดง
ลักษณะอาการ : ระคายเคืองตา ตาแดง หนังตาบวม ตาสู้แสงไม่ได้ มีน้ำตาไหล หนังตาบวม เยื่อบุตาขาวอักเสบแดง
การป้องกัน :
6.โรคไข้เลือดออก
ลักษณะอาการ : มีไข้สูงตลอดทั้งวัน ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว มีจุดเลือดออกตามผิวหนังตามลำตัว หรืออาจมีเลือดออกตามไรฟัน ถ่ายดำ ไอปนเลือด
การป้องกัน :
7.โรคหัด
ลักษณะอาการ :
ไอ จาม มีเสมหะ น้ำมูก น้ำลาย อาการหลังจากได้รับเชื้อ 8 – 12 วัน มีไข้ ตาแดง พบจุดขาวๆ เล็กๆ ในกระพุ้งแก้ม
การป้องกัน :
8.โรคไข้มาลาเรีย
ลักษณะอาการ :
หลังรับเชื้อ 7 – 10 วัน จะปวดศีรษะ โดยทั่วไปคล้ายไข้หวัด แต่หลังจากนั้นจะหนาวสั่นและไข้สูงตลอดเวลา อันตรายถึงขั้นเสียชีวิต
การป้องกัน :