ล่าสุด 7 สายการบิน ได้ออกยื่นทวงถามซอฟท์โลนรัฐบาลและมาตรการช่วยเหลือเพื่อพยุงธุรกิจเเละชีวิตพนักงานเกือบ 2 หมื่นคน หลังยื่นพิจารณามาเเล้วกว่า 478 วันแต่ยังไรคำตอบ โดยหวังว่าซอฟต์โลนก้อนนี้จะเป็นลมหายใจเฮือกสุดท้ายของสายการบินประเทศไทย
โดยซีอีโอของแต่ละสายการบิน ต่างสะท้อนถึงผลกระทบจากโควิดตั้งแต่ต้นปีจนถึงมาตรการถูกสั่งห้ามปิดในประเทศที่เพิ่งเกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 21 กรกฏาคม2564 “ฐานเศรษฐกิจ” ได้ถอดมุมมองของแต่ละคนมานำเสนอ ดังนี้
ธุรกิจการบินวิกฤตสุดในรอบ10ปี
นายพุฒิพงศ์ ปราสาททองโอสถ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ สายการบินบางกอกแอร์เวย์ส ในฐานะ นายกสมาคมสายการบินประเทศไทย กล่าวว่าภาพรวมธุรกิจการบินของไทยนับจากเกิดโควิดต้นปี63 จนถึงขณะนี้ต้องถือว่าธุรกิจการบินวิกฤตหนักที่สุดในรอบ 10 ปี
ที่ผ่านมาทั้ง 7 สายการบินร่วมมือกับภาครัฐเป็นอย่างดีเสมอพร้อมปรับตัวหลายมิติ การออกมาตรการลดค่าใช้จ่าย การเพิ่มช่องทางหารายได้ บริหารฝูงบินและเส้นทางบินให้มีประสิทธิภาพ เป็นต้น ให้ธุรกิจคงอยู่ดำเนินการต่อไปได้
แต่จากการระบาดระลอกใหม่ ทุกสายในประเทศถูกให้ระงับเที่ยวบินเกือบทั้งหมด ทั้ง 7 สายต้องแบกภาระต้นทุนปฏิบัติการบินและบุคลากรมหาศาล โดยที่รายได้ที่จะเข้ามาเป็นศูนย์ แต่ค่าใช้จ่ายยังคงเท่าเดิม ทุกสายการบินต่างประเทศขาดทุนต่อเนื่องและเริ่มที่จะแบกภาระต้นทุนไม่ไหว อาจส่งผลกระทบต่อการกลับมาให้บริการและจ้างงานในอนาคต
จึงเป็นเหตุผลหลัก ที่ 7 สายการบินต้องการติดตามความคืบหน้าสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ หรือซอฟต์โลนจากรัฐบาลสมาคมได้ยื่นเรื่องขอสนับสนุนไปตั้งแต่การระบารอบแรก เดือนมี.ค.63 มีการติดตามต่อเนื่อง เราพบนายกรัฐมนตรี เมื่อ 28 ส.ค.63 เพื่อขอร้องให้ท่านเร่งสั่งการ ส่งหนังสือติดตามอีกครั้ง พ.ค.64 ปัจจุบันยังไม่ได้รับการพิจารณาจากรัฐ เป็นเวลากว่า 478 วันแล้ว เราพยายามติดตามความคืบหน้า เราต้องการเรียกร้องให้รัฐบาลเร่งพิจารณา ใน 2 เรื่อง
1.ขอซอฟต์โลนอย่างเร่งด่วน 2.มาตรการความช่วยเหลือพักและชำระค่าธรรมเนียมต่างๆของภาครัฐ เพื่อลดผลกระทบความเสียหายต่อเศรษฐกิจการท่องเที่ยว และธุรกิจการบินที่เป็นฟันเผื่อนสำคัญต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยวและฟื้นฟูธุรกิจในภาคส่วนอื่นที่เกี่ยวข้องด้วย
ถ้าไม่ได้ซอฟต์โลน ทำให้สายการบินรับภาระหนักอยู่แล้ว อาจไม่มีทางเลือกอื่น ไปดำเนินการปรับภายในองค์กรเพิ่มขึ้น ดำเนินการเรื่องบุคคลากร แต่ละสายก็คงมีแนวทางแตกต่างกันไป การที่กิจการไม่มีรายได้มีค่าใช้จ่ายแบกรับอยู่ ถึงสภาวะหนึ่งต้องปรับเปลี่ยนดาวน์ไซส์ หรือดำเนินการอื่นใด ให้คงอยู่ หรือแม้แต่อยู่ไม่ได้
ก็ไม่อยากเห็นภาพนี้เกิดขึ้นในไทย เราเห็นความจำเป็นสายการบินเป็นเสมือนเครื่องมือพัฒนาและดำเนินการ ให้มีการขนส่งสินค้าบุคคล หนุนการท่องเที่ยว โรงแรม จะส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง ถ้าเรายังอยู่เดินไปได้ ยังลำบาก แต่ยังอยู่ได้ อยากขอร้องให้รัฐช่วยพิจารณา ถ้าไปถึงสุดทาง แต่ละสายการบินก็คงมีมาตรการต่างกันไป
ห้ามบินเครื่องจอดนิ่ง140ลำ
นายสันติสุข คล่องใช้ยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายการบินไทยแอร์เอเชีย กล่าวว่า ธุรกิจการบินเราได้รับผลกระทบจากโควิดตั้งแต่แรก รวดเร็ว รุนแรง ยืดเยื้อ เราโดนก่อน โดนหนักสุด จนถึงป่านนี้ยังไม่จบ
ไทม์ไลน์จะเห็นว่าปี63 ไทยรับผลกระทบโควิด มีปิดเที่ยวบินต่างประเทศ เมื่อเดือนมี.ค63 จากกรณีที่หลายประเทศ และไทยปิดพรมไป ทำให้ในเดือน มี.ค63 ทั้ง 7 สายการบินต้องหยุดบินต่างประเทศ มาเกือบ 1 ปี
พอเดือนเมย.63รัฐบาลประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ให้งดเดินทาง เที่ยวบินน้อยมาก จากนั้นๆค่อยๆดีขึ้นโดยเดือนมิ.ย. ส.ค. ก.ย. ก็มีการปรับเที่ยวบินตามการเดินทาง บินไปเรื่อย มาเจอโควิดระลอก 2 ในเดือนธ.ค.63 ช่วงก่อนคริสตมาสต์ ก็ใช้เวลาตรงนั้นไปกว่า 1 เดือนครึ่ง เพิ่งจะกลับมาเริ่มบินเดือนก.พ. 64
พอเม.ย.64ก่อนสงกรานต์ เจอโควิดระลอก3 ก็ยืดเยื้อมาถึงปัจจุบัน ซึ่งจะเห็นว่า 17 เดือน พอบินลืมตาอ้าปากได้แค่ 4-5 เดือน และก็ได้แค่ทำการบินในประเทศ ส่วนต่างประเทศเป็นศูนย์ เป็นผลกระทบมหาศาลจากต้นทุนเราแบกมาปีกว่า
วันนี้เป็นวันแรกสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.)ประกาศงดบินพื้นที่สีแดง นั่นหมายถึงสนามบินดอนเมือง สนามบินสุวรรณภูมิ เป็นคำสั่งปลายเปิด ไม่รู้สิ้นสุดเมื่อไหร่ บอกแต่อาจล้อไปตาม พรบ.ฉุกเฉิน แสดงว่าถ้าไม่ดีขั้นก็หยุดบินต่อไป
ตอนนี้ยากลำบากมาก วันนี้เครื่องบิน 7 สายการบิน รวมกันอยู่ที่ 170 ลำ หยุดบินจอดนิ่ง มีพนักงาน 2หมื่นกว่าคน ที่ต้องแบกรับไว้ ค่าใช้จ่าย 1 พันล้านต่อเดือน รายได้เป็นศูนย์ นี่จึงเป็นที่มาที่ไป จึงอยากให้รัฐช่วยเหลือไม่งั้นธุรกิจการบินไปต่อไม่ได้
เดือนหน้าจะครบ 1 ปีครึ่งแล้ว เราแบกรับมาตลอดต้นทุนพนักงานความเสียหายของแต่ละสายการบิน ก็แตกต่างกันไป ขึ้นกับเครื่องบิน ขนาดธุรกิจ อย่างไทยแอร์เอเชีย พนักงานทุกสายการบินในเครือ ตกเดือนหนึ่ง เกือบพันล้านบาท
ปีนึงค่าพนักงานหมื่นล้านบาทที่แบกมารายได้ต่างประเทศไม่มี มีแต่ในประเทศที่บินเต็มที่ก็ได้แค่ 3-4 ดือนที่เหลือปรับลดความดีมานต์ แต่ละสายก็ขาดทุนกันไปตามขนาดธุรกิจ เฉพาะพนักงานอย่างเดียว คูณจำนวนที่ผ่านมา กับสิ่งหนักหนา
ขอซอฟต์โลน5พันล้านพยุงจ้างงาน
นายวรเนติ หล้าพระบาง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายการบินไทยเวียตเจ็ท กล่าวว่า เราขอซ็อฟโลน ไปเมื่อปลายเดือนมี.ค.63 เป็นค่าใช้จ่ายดำเนินงาน 2.4 หมื่นล้านบาท เราติดตามทวงถามมาโดยตลอด และ เราช่วยตัวเองมาตลอด ทั้งปรับลดเงินเดือนพนักงาน ลดค่าใช้จ่ายมากสุด ต้นปี64 เราทวงถามกระทรวงการคลังในรอบนั้นปรับก็ขอปรับลดซอฟต์โลนเหลือราว 1.5หมื่นล้านบาท ครอบคลุมค่าใช้จ่ายพนักงานอย่างเดียว1 ปี
เราไปหาประกันสังคม , เอ็กซิมแบงก์ ล่าสุดเราปรับรอบ 3 อยู่ที่ 5 พันล้านบาท เพื่อรักษาสภาพการจ้างงานพนักงานทั้ง 7 สายการบินราว 2 หมื่นคนอย่างเดียวล้วนๆ ทั้งเนื่องจากธุรกิจสายการบินไม่มีสินทรัพย์ค้ำประกันเงินกู้ แต่ถ้ามองบางธุรกิจก่อสร้างวันนี้ ก่อสร้างมีสัญญาภาครัฐค้ำเงินกู้ เราเองมีสล็อต (ตารางบิน)จากกพท.ถ้ารัฐมองตรงนี้เป็นหลักประกัน และอะลุ่มอล่วย ก็ทำให้เงินกู้งวดนี้เกิดขึ้น
การขอลดซอฟต์โลนครั้งล่าสุด ไม่ถึงครึ่งในการขอรอบ 2 ด้วยซ้ำ เราขอเฉพาะการรักษาสภาพการจ้างงาน ไม่เกี่ยวกับค่าเครื่องบินเค่าเช่าน้ำมัน ปรับมากกว่าครึ่ง เนื่องจากทุกสายการบินขอความร่วมมือพนักงาน ปรับลดเงินเดือนถึงขั้นต่ำสุดแล้ว
เราต้องการรักษาสภาพการจ้างพนักงานไว้ เราเป็นธุรกิจต้นน้ำ ถึงวันที่ต้องการกระตุ้นสภาวะเศรษฐกิจสายการบินจะเห็นหัวหอกนำธุรกิจมา ขอความเห็นใจจากรัฐและคลัง วงเงิน 5 พันล้านบาท ต่อลมหายใจให้เรารักษาสภาพการจ้างของพนักงานต่อไปได้
สถานการณ์วันนี้จำนวนผู้ติดเชื้อ การกระจายตัวของวัคซีน สภาพกระแสเงินสดของแต่ละสายการบินที่มีอยู่ กรณีเลวร้ายสุดถ้าเราหยุดบินมากกว่า 1 เดือน เป็น 2-3 เดือน คงอยู่ไม่ได้ ถ้าหยุดไปอีก 3 เดือน คงไม่เห็นเราอยู่ แต่ผมไม่อยากคิดกรณีเลวร้ายสุด
เราทุกคนทำงานด้วยความหวัง หวังว่ารัฐจะจัดหาวัคซีน กระจายวัคซีนอย่างรวดเร็ว หวังตัวเลขผู้ติดเชื้อที่ลดลง จะกลับมาทำการบินได้อีกในเวลาไม่นานเกินไป และซอฟต์โลน 5 พันล้าน เราจะประคองจ้างงานได้ถึงสื้นปี เมื่อรัฐกระตุ้นท่องเที่ยว ทุกสายพร้อมเป็นหัวหอกนำนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามา
หยุดบินแค่1เดือนแทบขาดใจ
นางชาริตา ลีลายุทธ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายการบินไทยสมายล์แอร์เวย์ส กล่าวว่า อยากให้รัฐบาลเร่งพิจารณาซอฟท์โลนเร็วที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ เพราะอย่างช้าที่สุดที่ทั้ง 7 สายการบินรอได้คือภายใน 1 เดือนนับจากนี้ซึ่งไม่สามารถทำการบินในประเทศได้ แค่ 1 เดือนนี้ก็แทบจะขาดใจแล้ว
เพราะที่ผ่านมาสมาคมฯไม่ได้นิ่งนอนใจ พยายามทุกช่องทางที่จะหาซอฟท์โลนเพื่อพยุงการจ้างงาน เราไปขอพบมาหมดแล้ว รวมทั้งกระทรวงแรงงาน และสำนักงานประกันสังคมซึ่งมีเงินกองทุนที่เหลืออยู่สำหรับการปล่อยกู้ แต่พบว่ายังติดขัดเรื่องที่สำนักงานประกันสังคมระบุว่าจะช่วยเหลือเฉพาะธุรกิจขนาดย่อม แต่สายการบินเป็นธุรกิจขนาดใหญ่
เพราะฉะนั้นวงเงินที่จะช่วยเหลือได้คืออยู่ที่ 15 ล้านบาท โดยทางสำนักงานประกันสังคมคงจะต้องหาทางแก้ไขข้อจำกัดตรงนี้ เพื่อช่วยเหลือสายการบิน ถ้าสามารถทำได้
แบกภาระต้นทุนอ่วม
นายอัศวิน ยังกีรติวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายการบินไทยไลอ้อนแอร์ กล่าวว่าต้นทุนหลักของสายการบิน ได้แก่ ค่าน้ำมัน ต้นทุนพนักงาน ค่าใช้จ่ายด้านการปฏิบัติการบิน เช่นปาร์กกิ้ง
เราพูดคุยกับเจ้าหนี้ต่างๆเพื่อชำระหนี้ ค่าบำรุงรักษา เช่นการรักษาไลเซ้นท์ กัปตัน ถึงแม้เราไม่บิน ก็รักษาไว้เพราะเป็นสิ่งสำคัญมากๆ เราต้องการเพื่อให้พนักงานอยู่รอด
2 ปัจจัยเดิมพันบินระหว่างประเทศ
นายนัตดา บุรณศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายการบินไทยแอร์เอเชีย เอ็กซ์ กล่าวว่า จากกรณีที่สหภาพยุโรปถอดเชื่อประเทศไทยออกจากWhite List จะกระทบต่อการเปิดประเทศ และเที่ยวบินระหว่างประเทศหรือไม่ขึ้นกับ 2 ปัจจัย คือ
ถ้า 2 ปัจจัยนี้ทำได้ เรามองกันอาจมีความพยายาม เปิดบินได้บ้าง ในช่วงปลายไตรมาส 4 หรือไตรมาส1 ปีหน้าน่าจะเห็นอะไรบ้าง แต่ในเรื่องความเป็นจริงเมื่อทุกอย่างเข้าที่เข้าทาง น่าจะปลายปีหน้า ที่การบินระหว่างปท.จะเริ่มกลับมาเห็นบ้าง 40-50%
ขอให้ช่วยเหลือเท่าเทียมกันทุกสาย
นายวุฒิภูมิ จุฬางกูร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายการบินนกแอร์ กล่าวว่านอกจากซอฟต์โลน ต้องการไรอีกบ้างอีกจากรัฐ ผมมองว่าต้นทุนของสายการบินหลักๆหนีไม่พ้นค่าน้ำมัน ค่าเช่าเครื่องบิน ค่าซ่อมบำรุง ยังมีต้นทุนอื่นๆที่เราต้องแบกรับ
จึงขอให้ภาครัฐช่วยเหลือ ซอฟต์โลน ปลอดหลักประกัน เยียวยา อย่างน้อยสิ้นปีนี้ ค่าบริหารจัดการจราจรทางอากาศ และภาษีสรรพสามิตน้ำมันอากาศยาน แม้คลังจะพิจารณาปรับลดจาก 4.276 บาท เหลือ 0.2 บาทต่อลิตร ถึงสิ้นปีนี้แล้วก็ตาม ก็อยากให้ยกเว้นไปก่อน
สายการบินมีความสำคัญต่อความมั่นคงและเศรษฐกิจของประเทศอย่างมาก เป็นศูนย์กลางขนส่งภูมิภาค มีส่วนสำคัญในการสนับสนุนอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ทำรายได้มหาศาล
หลายธุรกิจพึ่งพึงท่องเที่ยว การนำเข้าส่งออกสินค้า มาตรการรัฐยุทธศาสตร์เน้นเกษตรสินค้า อุตสาหกรรมท่องเที่ยว ก็ยังเป็นแหล่งรายได้สำคัญ ค่าใช้จ่ายที่รัฐจัดเก็บ เราแบกรับทำให้เรามีภาระต้นทุนสูงขึ้น ทำให้ความสามารถแข่งขันกับประเทศอื่นลดลง
ถ้ามีต้นทุนสูงแข่งขันกับประเทศอื่นไม่ได้ และถ้าอุตสาหกรรมการบินปิดตัวลง จะส่งผลกระทยต่อธุรกิจอื่นตามมา การขอซอฟต์โลน ก็เพื่อให้พนักงานมีเงินใช้ได้อยู่ต่อ และการช่วยเหลือควรช่วยเหลือทุกรายอย่างเท่าเทียมกัน เพื่อรักษาการแข่งขันอย่างเป็นธรรม