ไปต่อไม่ไหว"โรงแรม"อ่วม"ภาษีที่ดิน"100% กระทบภาพรวมธุรกิจ93.6%

04 เม.ย. 2565 | 05:39 น.
อัปเดตล่าสุด :04 เม.ย. 2565 | 12:54 น.

เสียงสะท้อนโรงแรมไทย ชี้รัฐ"ภาษีที่ดิน"100%ทำ หมดแรงไปต่อ เผยการเรียกเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างทั้ง100% ส่งผลกระทบต่อธุรกิจ ภาพรวม มากถึง 93.6%สวนทางธุรกิจที่ยังขาดสภาพคล่องจากโควิด-19 วอนขอผ่อนปรนและยึดเวลาการจัดเก็บออกไปอย่างน้อย 2 ปี

สมาคมโรงแรมไทย (THA) เผยผลกระทบของภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างหากมีการจัดเก็บ 100% ต่อภาคธุรกิจโรงแรม โดยระบุว่า

 

"เสียงสะท้อนผู้ประกอบการ หมดแรงที่จะไปต่อ" เข้าสู่โค้งสุดท้าย ธุรกิจโรงแรมจำยอม

 

ต้องเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ได้รับแจ้งการประเมินในการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในอัตราที่สูงกว่ารายได้ ณ ปัจจุบัน ซึ่งประกอบกับภาคธุรกิจโรงแรมและภาคบริการยังได้รับ

ผลกระทบจากโควิด 19 เผชิญกับภาวะขาดทุนยาวนาน ยังคงต้องแบกภาระหนี้ที่เกิดจากวิกฤตโควิดอีกอย่างน้อย 2 ปีจนกว่าสถานการณ์ท่องเที่ยวจะเริ่มกลับสู่ภาวะปกติ ภาคธุรกิจโรงแรมและภาคบริการได้รับผลกระทบโดยตรงมากกว่าหลายธุรกิจอื่น

 

หากรัฐบาลยังคิดอัตราการจ่ายภาษี 100% ประเมินตามมูลค่าที่ดินและสินทรัพย์ โดยไม่ได้นำการขาดรายได้ของธุรกิจโรงแรมมาร่วมพิจารณา จะทำให้ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างกลายเป็นต้นทุนก้อนใหญ่ของธุรกิจโรงแรม เพราะโรงแรมเป็นธุรกิจที่มีมูลค่าสินทรัพย์สูงหากเปรียบเทียบกับธุรกิจอื่น รวมถึงผู้ประกอบการโรงแรมยังมีภาระต้นทุนภาษีและค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจที่ยังต้องรับผิดชอบ อาทิ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ค่าธรรมเนียมประกอบธุรกิจโรงแรม ฯลฯ

1.การเรียกเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง (100%) ภาษีที่ถูกจัดเก็บ คิดเป็นสัดส่วน (%) ของภาคบริการทั้งหมด เมื่อเทียบกับรายได้เฉลี่ยอยู่ 15.7 %

 

 

2.การเรียกเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง (100%) ส่งผลกระทบต่อธุรกิจ (ภาพรวม) มากถึง93.6% เหตุผลเพราะ

 

  • ต้นทุนในการดำเนินธุรกิจที่เพิ่มสูงขึ้น สวนทางกับรายรับอาจส่งผลกระทบต่อการจ้างงาน และอื่นๆ ในสภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัวจากโควิด-19

 

  • ธุรกิจขาดสภาพคล่อง ไม่พร้อมเสียภาษีในอัตราปกติเนื่องจากธุรกิจยังไม่พื้นตัว และรายรับไม่สอดคล้องกับรายจ่าย ไปจนถึงในบางช่วงขาดทุน

 

  • ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างของธุรกิจมีราคาประเมินค่อนข้างสูง เนื่องจากอยู่ในทำเลธุรกิจ แต่รายได้ไม่สมดุลกับราคาประเมินบางครั้งไม่สร้างประโยชน์ให้กับธุรกิจได้ โดยเฉพาะในธุรกิจที่พักโรงแรม

 

  • กำไรของธุรกิจลดลง ทั้งที่ปัจจุบันรายรับแทบจะไม่ครอบคลุมค่าใช้จ่าย

 

3.แนวทางผู้ประกอบการในการรับมือหรือปรับตัว เมื่อภาครัฐจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง(100%)

 

  • ควบคุมและลดต้นทุนในการดำเนินธุรกิจลง อาทิเช่น ลดการจ้างงาน ลดต้นทุนในการผลิต ลดค่าใช้จ่ายอื่นๆที่ไม่จำเป็น

 

  • พิจารณาปรับเพิ่มราคาสินค้า/บริการให้สอดรับกับต้นทุนที่อาจจะเพิ่มขึ้น

 

  • ปรับแผนการในการดำเนินธุรกิจ ให้สอดคล้องกับสถานณ์ที่จะเกิดขึ้น

 

  • ชะลอการขยายธุรกิจ การลงทุน ในระยะสั้นไปก่อน

 

  • อาจจะพิจารณาเลิกกิจการหรือปิดกิจการเป็นการชั่วคราว

 

  • ขายให้ชาวต่างชาติ

 

4.ข้อเสนอแนวทางเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเพื่อลดผลกระทบต่อธุรกิจ

 

  • ขยายการลดหย่อนภาษีไปอีก 1-2 ปี หรือจนกว่าเศรษฐกิจและธุรกิจจะเริ่มกลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง

 

  • ปรับปรุงเงื่อนไขในการจัดเก็บภาษี โดยพิจารณาอ้างอิงจากประเภทธุรกิจ รวมถึงรายได้ของธุรกิจมาคำนวณในการจัดเก็บ เพื่อความเป็นธรรม

 

  • การเรียกเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง (100%) ภาษีที่ถูกจัดเก็บ คิดเป็นสัดส่วน (%) ของภาคบริการทั้งหมด เมื่อเทียบกับรายได้เฉลี่ยอยู่ 15.7 %

 

* การเรียกเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง (100%) ส่งผลกระทบต่อธุรกิจ (ภาพรวม) มากถึง 93.6% เหตุผลเพราะ

 

  • ต้นทุนในการดำเนินธุรกิจที่เพิ่มสูงขึ้น สวนทางกับรายรับอาจส่งผลกระทบต่อการจ้างงาน และอื่นๆ ในสภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัวจากโควิด-19

 

  • ธุรกิจขาดสภาพคล่อง ไม่พร้อมเสียภาษีในอัตราปกติเนื่องจากธุรกิจยังไม่ฟื้นตัว และรายรับไม่สอดคล้องกับรายจ่าย ไปจนถึงในบางช่วงขาดทุน

 

  • ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างของธุรกิจมีราคาประเมินค่อนข้างสูง เนื่องจากอยู่ในทำเลธุรกิจ แต่รายได้ไม่สมดุลกับราคาประเมินบางครั้งไม่สร้างประโยชน์ให้กับธุรกิจได้ โดยเฉพาะในธุรกิจที่ พัก/โรงแรม

 

  • กำไรของธุรกิจลดลง ทั้งที่ปัจจุบันรายรับแทบจะไม่ครอบคลุมค่าใช้จ่าย

 

 

6.ข้อเสนอแนวทางเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเพื่อลดผลกระทบต่อธุรกิจ

 

  • ขยายการลดหย่อนภาษีไปอีก 1-2 ปี หรือจนกว่าเศรษฐกิจและธุรกิจจะเริ่มกลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง

 

  • ปรับปรุงเงื่อนไขในการจัดเก็บภาษี โดยพิจารณาอ้างอิงจากประเภทธุรกิจ รวมถึงรายได้ของธุรกิจมาคำนวณในการจัดเก็บ เพื่อความเป็นธรรม

 

  • อยากให้จัดเก็บเป็นรูปแบบขั้นบันได ให้สอดคล้องกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ เช่น ทยอยเก็บเพิ่มขึ้นปีละ 5-10%

 

  • ออกนโยบายช่วยเหลือผู้ประกอบการโรงแรม ที่อยู่ในวงจรธุรกิจให้เช่าที่พักอาศัย

 

  • ไม่ควรจัดเก็บหรือทำการปรับขึ้นในสภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัว

 

  • ธุรกิจโรงแรมเป็นธุรกิจที่มีความอ่อนไหว เกิดปัจจัยภายนอกไม่สามารถควบคุมได้ เช่น โรคระบาดสถานการณ์การเมืองในประเทศ สงคราม ทำให้ส่งผลต่อการท่องเที่ยวเดินทางโดยตรง

 

แต่อย่างไรก็ตามสถานการณ์เศรษฐกิจ รายได้ยังฟื้นตัวช้ากลับมาไม่เหมือนเดิม และยังอยู่ในสถานการณ์ความเสี่ยงและความไม่แน่นอน แต่หากว่ากระทรวงการคลัง ยังคงยืนยันไม่ลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ผู้ประกอบการได้รับผลกระทบในการประกอบธุรกิจ รายได้ไม่เพียงพอ ไม่มีความพร้อมที่จะชำระภาษี และส่งผลกระทบธุรกิจเป็นลูกโซ่ ขาดสภาพคล่อง มีต้นทุนในการดำเนินธุรกิจเพิ่มขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อการจ้างงาน และตันทุนอื่นๆ อีกด้วย

 

สมาคมโรงแรมไทย (THA) ขอให้รัฐบาล รับทราบถึงความเดือนร้อนและพิจารณาหลักเกณฑ์การจัดเก็บภาษีสำหรับธุรกิจโรงแรมเป็นการเฉพาะ "อีกครั้ง" โดยขอผ่อนปรนและยึดเวลาการจัดเก็บออกไปอย่างน้อย 2 ปี เพื่อประเมินสถานการณ์ของไวรัสโควิดและการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวอีกครั้ง  ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการสามารถประดับประคองธุรกิจ เกิดการจ้างงานและดำเนินธุรกิจต่อไปได้อย่างต่อเนื่อง