นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยแนวโน้ม เศรษฐกิจไทย ปี 2566 คาดว่า จะขยายตัว 3 – 4% โดยมีค่ากลางอยู่ที่ 3.5% โตจากปีก่อน ซึ่งขยายตัว 3.2% ประเมินอัตราเงินเฟ้ออยู่ในช่วง 2.5 - 3.5% เทียบกับ 6.3% ปีก่อน และบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 1.1% ของ GDP จากปีก่อนขาดดุล 3.6%
1. สศช. ประเมินตัวเลขเศรษฐกิจไทยปี 2566 ดังนี้
การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภค
การลงทุนรวม
คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 2.5% เทียบกับ 2.6% ในปี 2565 แยกเป็น
มูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐฯ
คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 1% เทียบกับ 7.5% ในปี 2565 แยกเป็น
มูลค่าการนำเข้าสินค้าในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐฯ
คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 1.6% เทียบกับ 17.8% ในปี 2565 ดังนี้
ดุลการค้า
คาดว่าจะเกินดุล 1.77 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เทียบกับการเกินดุล 1.91 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2565 ตามแนวโน้มการชะลอตัวของมูลค่าการส่งออกสินค้า
ขณะที่ดุลบริการมีแนวโน้มจะกลับมาเกินดุลตามการเพิ่มขึ้นของจ่านวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ ส่งผลให้คาดว่า ดุลบัญชีเดินสะพัดในปี 2566 มีแนวโน้มที่จะเกินดุล 5.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือคิดเป็น 1.1% ของ GDP เทียบกับการขาดดุล 1.82 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือคิดเป็นการขาดดุล 3.6% ของ GDP ในปี 2565
เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยทั้งปี 2566 จะอยู่ในช่วง 2.5 -3.5% เทียบกับ 6.3% ในปี 2565 สอดคล้องกับสมมติฐานราคาน้ำมันดิบ
2. ปัจจัยสนับสนุนเศรษฐกิจไทยปี 2566
3.ข้อจำกัดและปัจจัยเสี่ยงเศรษฐกิจไทยปี 2566
(1.) ความเสี่ยงจากการชะลอตัวมากกว่าที่คาดของเศรษฐกิจโลกและความผันผวนในตลาดการเงินโลก โดยมีเงื่อนไขความเสี่ยงที่ต้องติดตามและประเมินอย่างใกล้ชิด ประกอบด้วย
(2.) ภาระหนี้สินครัวเรือนและภาคธุรกิจที่อยู่ในระดับสูงท่ามกลางแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของภาระดอกเบี้ย
(3.) ความเสี่ยงจากการกลับมาแพร่ระบาดของโรคโควิด-19
แม้ว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ผ่อนคลายลงอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งการกระจายวัคซีนให้กับประชาชนมีความคืบหน้า แต่ยังคงมีความเสี่ยงจากการกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในการหลบหนีภูมิคุ้มกันที่ได้รับจากการติดเชื้อและการฉีดวัคซีน และมีแนวโน้มที่จะแพร่ระบาดได้เร็วและรุนแรงมากกว่าเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ก่อนหน้า
นอกจากนี้ อัตราการได้รับวัคซีนของประเทศที่มีรายได้น้อย ส่งผลให้เชื้อไวรัสโควิด-19 ยังมีโอกาสที่จะแพร่ระบาดเป็นวงกว้าง และเป็นความเสี่ยงที่จะท่าให้เชื้อไวรัสสามารถกลายพันธุ์ได้ในระยะต่อไป