ในเวทีสัมมนา “Geopolitics : The Big Challenge for Business โลกแบ่งขั้ว ธุรกิจพลิกเกม” จัดโดย “กรุงเทพธุรกิจ” นายโรเบิร์ต เอฟ. โกเดค เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา ประจำประเทศไทย ได้ชี้ให้เห็นถึงความท้าทายทางการค้าท่ามกลางภูมิรัฐศาสตร์ ที่ต้องเคารพกฎกติการะหว่างประเทศ และหากมีประเทศที่ไม่ปฏิบัติตามกฎกติการะหว่างประเทศ สหรัฐฯจำเป็นต้องยืนหยัดร่วมกันอย่างที่ประชาคมโลกได้ยืนหยัดร่วมกับยูเครน ต่อต้านสงครามที่ปราศจากการยั่วยุและไร้ซึ่งความชอบธรรม รวมถึงการพยายามสร้างความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนและผลกระทบที่สำคัญกับจีน ซึ่งครอบคลุมความร่วมมือหลากหลายมิติตลอดจนการแข่งขันระหว่างกัน
สอดรับกับ นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ที่มองว่า ยุคที่โลกแบ่งขั้วมีความท้าทายทั้งภาครัฐและเอกชน ที่ไทยต้องปรับตัวในการรักษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอย่างสมดุล ปรับจุดยืนของประเทศในห่วงโซ่อุปทานให้มีความยืดหยุ่น เตรียมความพร้อม และแสวงหาโอกาสรองรับจากการแบ่งขั้วของห่วงโซ่อุปทานทางเทคโนโลยีที่สำคัญของประเทศอย่างสหรัฐฯกับจีน ขณะที่ภาคเอกชนจะรับมืออย่างไรเมื่อโลกแบ่งขั้ว กับความขัดแย้งที่จะเกิดขึ้นนั้น
นายวิศิษฐ์ ลิ้มลือชา รองประธานกรรมการ หอการค้าไทย และนายกกิตติมศักดิ์สมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยนับจากนี้จะต้องเผชิญกับ ปัจจัยที่ท้าทายอย่างน้อยใน 5 เรื่อง คือ
1.สังคมคาร์บอนต่ำ ที่โลกได้ตกลงกันไว้ และไทยได้ไปตกลงไว้กับโลกในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ที่ต้องดำเนินการให้บังเกิดผล ซึ่งขณะนี้เรื่องคาร์บอนได้ถูกนำมาใช้เป็นมาตรการทางการค้าของโลก เช่น สหภาพยุโรป (อียู) จะเริ่มนำมาตรการ CBAM มาบังคับใช้ในปีนี้ เริ่มใน 5 กลุ่มสินค้านำร่อง อีกด้านหนึ่งจะเป็นโอกาสตลาดซื้อขายคาร์บอนเครดิต และการปลูกป่าเพื่อขายคาร์บอนเครดิตในไทย
2.ต้นทุนธุรกิจสูงขึ้นจากค่าไฟฟ้าที่สูงขึ้น ราคาพลังงานยังอยู่ระดับสูง รวมถึงค่าแรง ค่าวัตถุดิบต่าง ๆ ที่ปรับขึ้นไปแล้วก่อนหน้านี้ ซึ่งในธุรกิจที่ร่อแร่อยู่แล้วอาจอยู่ไม่ได้
3.ดอกเบี้ยขาขึ้น ซึ่งในส่วนของไทยมีแนวโน้มปรับขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่อง โดยอาจปรับตัวสูงขึ้นสู่ระดับ 2.00-2.50% ในช่วง 2 ปีนี้ ทำให้มีต้นทุนทางการเงินเพิ่ม
4.เศรษฐกิจโลกชะลอตัวถึงถดถอยที่ต้องติดตามว่าจะรุนแรงแค่ไหนใน 3 ไตรมาสนับจากนี้ ซึ่งจะมีผลกระทบกับภาคส่งออก
5.ภาคการท่องเที่ยวฟื้นตัวที่ถือเป็นปัจจัยบวก และสัญญาณที่ดี โดยจะเป็นเครื่องยนต์หลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในปีนี้
ทั้งนี้ มี ข้อแนะนำภาคเอกชนในการเตรียมความพร้อมรับมือกับวิกฤติต่างๆ ได้แก่
ขณะเดียวกัน ต้องวางกลยุทธ์พลิกวิกฤติให้เป็นโอกาส เช่น เพิ่มมูลค่าสินค้า ผลิตสินค้าตามความต้องการของตลาดหรือตามออเดอร์ ไม่สต๊อกมาก, หาคู่ค้าในตลาดใหม่ๆ ที่มีศักยภาพ และปรับเปลี่ยนสู่ดิจิทัลมาร์เก็ต เป็นต้น
ด้าน นายสัมพันธ์ ศิลปนาฎ นายกสมาคมนายจ้างอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ กล่าวว่า ตลอด 50 ปีที่ผ่านมาอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ไทยมีการเติบโตมาก เป็นสินค้าส่งออกอันดับหนึ่งของประเทศ มีแรงงานเกือบ 8 แสนคน ปัญหาของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ณ ปัจจุบัน ไม่ใด้อยู่ที่เรื่องชิปขาดตลาด แต่เป็นเรื่อง
ดังนั้นอย่าไปสับสน Geopolitics ไม่ใช่ปัญหา แต่เป็นกฎเกณฑ์เงื่อนไข
“ดังนั้นหากอยากคบทั้ง 2 ขั้ว ไม่ต้องสนใจเรื่องซูเปอร์ไฮเทค เพราะโจทย์ยากมาก ถ้าต้องการดึงซูเปอร์ไฮเทคเข้ามาลงทุนตอนนี้คุยกันหลัก 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ล่าสุดบางประเทศยอมจ่าย 400,000 ล้านบาท เพื่อดึงอุตสาหกรรมซูเปอร์ไฮเทคมาลงทุน ซึ่งไทยอยู่ในตลาดระดับกลาง ที่มีการเติบโตอยู่แล้ว ต้องรักษาจุดแข็งเอาไว้”
ทั้งนี้ ยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ไทย ช่วงที่ผ่านมาไทยสามารถปรับปรุงประสิทธิภาพดีมาก ถ้ารักษาตรงนี้ไว้ได้ ไทยสามารถเติบโตไปได้อีก 3-5 ปีข้างหน้า อีกทั้งต้องก้าวให้ทันการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี และต้องมีการเรียนรูปแบบธุรกิจใหม่ โมเดลใหม่ เตรียมพร้อมรับกับกรีนเทคโนโลยีที่จะตามมา