รายงานข่าวแจ้งว่า เมื่อวันที่ 24 มี.ค. 2566 ที่ผ่านมาพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและประธานกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ได้ลงนามคำสั่งคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) ที่ 2/2566 เรื่อง แต่งตั้งเลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ว่า
ตามที่ พ.ร.บ.เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก 2561 กำหนดให้มีเลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (เลขาฯ อีอีซี) ซึ่ง กพอ.แต่งตั้ง โดยมีหน้าที่รับผิดชอบในการดำเนินงานของสำนักงานและขึ้นตรงต่อคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
ในคราวประชุม กพอ.ครั้งที่ 5/2565 เมื่อวันที่ 28 ธ.ค. 2565 ที่ประชุมได้มีมติแต่งตั้ง นายจุฬา สุขมานพ ดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ตามที่คณะอนุกรรมการสรรหาเลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกเสนอนั้น
เพื่อให้การดำเนินงานของคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกและสำนักงานเป็นไปด้วยความเรียบร้อย อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 16 แห่ง พ.ร.บ.เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก 2561 จึงแต่งตั้ง นายจุฬา สุขมานพ เป็นเลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. 2566 เป็นต้นไป
ประวัติการศึกษา
ปริญญาเอก Doctor of Philosophy, University of Southampton, United Kingdom
ประวัติการฝึกอบรม
หลักสูตรผู้บริหารระดับสูงด้านการค้าและการพาณิชย์ รุ่นที่ 5
ประวัติการทำงาน
นอกจากนี้ในช่วงที่นายจุฬา สุขมานพ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) ตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 48/2559 โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้า คสช.เป็นผู้ลงนามเมื่อวันที่ 18 ส.ค. 2559 ขณะนั้นประเทศไทยถูกองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) ขึ้นธงแดง
ทั้งนี้จากการตรวจพบว่ามาตรฐานการบริหารความปลอดภัยด้านการบินของประเทศไทยมีข้อบกพร่องจำนวน 572 ข้อ และมีข้อบกพร่องที่มีนัยสำคัญต่อความปลอดภัย (Significant Safety Concerns : SSC) อยู่ 33 ข้อ โดย กพท.เป็นหน่วยงานหลักในการแก้ข้อบกพร่อง และ ICAO ได้ปลดธงแดงให้ไทยเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2560 รวมใช้เวลาดำเนินการกธงแดง 2 ปี 4 เดือน
อย่างไรก็ตามในปัจจุบันยังมีภารกิจที่รอเลขาธิการอีอีซีคนใหม่ขับเคลื่อนต่อ มีทั้งโครงการโครงสร้างพื้นฐานสำคัญที่รัฐร่วมลงทุนเอกชน (PPP) จำนวน 5 โครงการ คือ 1. รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) 2. สนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก 3. ท่าเรือแหลมฉบัง เฟส 3
4. ท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด เฟส 3 และ5. ศูนย์ซ่อมอากาศยาน (MRO) ปัจจุบันแผนหยุดชะงัก เนื่องจาก บมจ.การบินไทย เข้าสู่การฟื้นฟู