สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยรายงานแนวโน้มเศรษฐกิจไทย ในปี 2567 โดยประเมินข้อจำกัดและปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่เป็นเสมือนกับดักใหญ่ ฉุดรั้งเศรษฐกิจไทยในปีนี้ให้ไม่สามารถเติบโตได้ตามเป้าหมาย 2.2 - 3.2% หรือขยายตัวเฉลี่ย 2.7%
โดย นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ขยายความว่า ข้อจำกัดและปัจจัยเสี่ยงที่อาจกระทบกับเศรษฐกิจไทยมีด้วยกัน 4 เรื่องหลัก ๆ นั่นคือ
สำหรับข้อจำกัดและปัจจัยเสี่ยงในแต่ละเรื่อง มีรายละเอียดแยกเป็นส่วนต่าง ๆ ดังนี้
เป็นผลจากปัจจัยข้อจำกัดที่สำคัญ คือ ความล่าช้าของกระบวนการงบประมาณในปีงบประมาณ 2567 ในกรณีฐานคาดว่างบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2567 จะสามารถเริ่มเบิกจ่ายได้ในช่วงเดือนพฤษภาคม 2567 หรือล่าช้าออกไปจากกรณีปกติ 7 เดือน เงื่อนไขดังกล่าวมีแนวโน้มที่จะทำให้การเบิกจ่ายเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจได้ในช่วงไตรมาสที่สามและไตรมาสที่สี่ของปีงบประมาณ 2567
ส่งผลให้การเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายโดยเฉพาะงบลงทุนภาครัฐในปี 2567 ต่ำกว่าปีงบประมาณก่อนหน้า โดยในกรณีฐานคาดว่าในปีงบประมาณ 2567 จะมีเงินจากการเบิกจ่ายงบลงทุน 4.61 แสนล้านบาท เทียบกับ 4.78 แสนล้านบาทในปีงบประมาณ 2566
เช่นเดียวกับแนวโน้มการลดลงของพื้นที่ทางการคลัง (Fiscal Space) ท่ามกลางสัดส่วนหนี้สาธารณะของไทยที่อยู่ในระดับสูงที่ 61.3% ต่อ GDP ณ สิ้นสุดไตรมาสที่ 4 ปี 2566
ขณะที่รายได้ของรัฐบาลมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง โดยประมาณการสัดส่วนรายได้ของรัฐบาลต่อ GDP ภายใต้แผนการคลังระยะปานกลาง ปีงบประมาณ 2567อยู่ที่ 14.7% ของ GDP เทียบกับ 15.2% ในปีงบประมาณ 2562 ซึ่งจะเป็นข้อจำกัดสำคัญต่อการใช้จ่ายของรัฐบาลและการดำเนินนโยบายทางการคลังในระยะต่อไป
โดยสัดส่วนสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) และสัดส่วนสินเชื่อจัดชั้นพิเศษ (SMLs) ของเอสเอ็มอีต่อสินเชื่อรวม ยังคงอยู่ในระดับสูงที่ 7.4% และ 12% เท่ากับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน และเทียบกับ 4.8% และ 3.2% ในไตรมาสเดียวกันของปี 2562
เช่นเดียวกับสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ในไตรมาสที่สามของปี 2566 อยู่ที่ 90.9% ลดลงจาก 91.5% ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน แต่ยังคงสูงกว่าเมื่อเทียบกับ 83% ในไตรมาสเดียวกันของปี 2562 ส่งผลให้สถาบันการเงินดำเนินมาตรการปรับโครงสร้างหนี้อย่างต่อเนื่อง เพื่อแก้ไขปัญหาหนี้อย่างยั่งยืนสำหรับกลุ่มธุรกิจ SME ลูกหนี้ภาคเกษตร รวมถึงครัวเรือนกลุ่มเปราะบางที่รายได้ยังฟื้นตัวช้า
อาจส่งผลให้ผลผลิตภาคเกษตรลดลงและราคาสินค้าเกษตรปรับตัวสูงขึ้น จากรายงานของ World Meteorological Organization (WMO) เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2566 ชี้ว่าสภาวะเอลนีโญ (El Niño) ที่เกิดขึ้นจะสิ้นสุดลงในเดือนเมษายน 2567 โดยอุณหภูมิผิวน้ำทะเลเฉลี่ยในเดือนมกราคม 2567 อยู่ที่ 20.97 องศาเซลเซียส สูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ และเป็นอุณหภูมิเฉลี่ยรายเดือนสูงสุดเป็นประวัติการณ์ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 8
สำหรับประเทศไทย อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยในช่วงเดือนมกราคม 2567 อยู่ที่ 26.3 องศาเซลเซียส สูงกว่าค่าเฉลี่ยปกติ 1.4 องศาเซลเซียส โดยอุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้นส่งผลกระทบต่อสินค้าเกษตรที่สำคัญในไตรมาสสุดท้ายของปี 2566 ได้แก่
นอกจากนี้ ปรากฎการณ์เอลนีโญยังส่งผลให้ระดับน้ำในคลองปานามาลดลงต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการขนส่งและราคาสินค้านำเข้าของไทย โดยเฉพาะจากสหรัฐฯ เนื่องจากการขนส่งทางทะเลผ่านคลองปานามาคิดเป็น 6% ของการค้าทางทะเลโลก
อีกทั้งยังเป็นเส้นทางหลักในการขนส่งสินค้าระหว่างสหรัฐฯ ฝั่งตะวันออกกับประเทศในภูมิภาคเอเชีย โดยพบว่า จำนวนเรือขนส่งสินค้าในเดือนมกราคม 2567 ที่เดินทางผ่านคลองปานามาลดลง 36% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ความเสี่ยงจากความผันผวนของระบบเศรษฐกิจและการเงินโลก อาจทำให้เศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลกขยายตัวต่ำกว่าสมมติฐานการประมาณการ โดยมีเงื่อนไขความเสี่ยงที่ต้องติดตามและประเมินสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ประกอบด้วย
1. ความเสี่ยงจากสถานการณ์ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ ทั้งสถานการณ์ความขัดแย้งในตะวันออกกลาง ระหว่างอิสราเอลและกลุ่มฮามาสที่ยังมีความไม่แน่นอนสูง และถูกซ้ำเติมโดยเหตุการณ์กลุ่มกบฏฮูตีในประเทศเยเมนเข้าโจมตีเรือขนส่งสินค้าในทะเลแดงตั้งแต่ช่วงกลางเดือนธันวาคม 2566 เป็นต้นมา
ประกอบกับความยืดเยื้อของความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน และการกีดกันทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนที่อาจยกระดับความรุนแรงจนทำให้เกิดการแบ่งแยกเชิงภูมิรัฐศาสตร์เศรษฐกิจ (Geo-economic fragmentation) มากขึ้นและส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่การผลิตโลกจนกระทบต่อแนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจและการค้าโลก รวมทั้งความผันผวนในตลาดเงินตลาดทุนมากขึ้น
2. ความผันผวนของระดับราคาพลังงานและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ท่ามกลางความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์โดยเฉพาะในภูมิภาคตะวันออกกลางที่ยังคงไม่แน่นอน รวมทั้งผลกระทบจากความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศ ซึ่งอาจสร้างแรงกดดันต่ออัตราเงินเฟ้อให้สูงขึ้นกว่าที่คาดและส่งผลต่อการดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลางให้ยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระดับสูงต่อเนื่อง
3. การชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนที่อาจรุนแรงกว่าที่คาดการณ์ไว้จากปัญหาหนี้สินในภาคอสังหาริมทรัพย์และหนี้ภาครัฐที่อยู่ในระดับสูง การชะลอตัวลงของการอุปโภคบริโภคภายในประเทศจนมีความเสี่ยงต่อภาวะเงินฝืด รวมทั้งทิศทางการปรับเปลี่ยนแนวนโยบายที่มุ่งเน้นการพึ่งพาเศรษฐกิจภายในประเทศมากขึ้น
สะท้อนจากการลดลงของการนำเข้าสินค้าของจีน ซึ่งอาจส่งผลต่อการฟื้นตัวของภาคการส่งออกและภาคการผลิตของกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาและเศรษฐกิจตลาดเกิดใหม่
4. การลดลงของพื้นที่ทางการคลังในหลายประเทศที่เผชิญกับภาระหนี้สินที่อยู่ในระดับสูงภายใต้อัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับสูง ซึ่งอาจส่งผลให้จำเป็นต้องดำเนินการเพิ่มศักยภาพทางการคลัง (Fiscal consolidation) มากขึ้นและกลายเป็นข้อจำกัดต่อแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในระยะต่อไป
5. ทิศทางการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจของหลายประเทศสำคัญที่ยังคงไม่แน่นอนและขึ้นอยู่กับผลการเลือกตั้งรัฐบาลใหม่
ปัจจัยข้างต้นเหล่านี้นับเป็นข้อจำกัดและปัจจัยเสี่ยงสำคัญ ซึ่งอาจกระทบต่อเศรษฐกิจไทยไม่มากก็น้อย ซึ่งทุกหน่วยงานจำเป็นต้องจับตาอย่างใกล้ชิดต่อไป