นายธิบดี วัฒนกุล ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ(สคร.)เปิดเผยว่า สคร.มีแผนตั้งคณะกรรมการบริหารหลักทรัพย์ของรัฐ ที่จะมีผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้ทรงคุณวุฒิร่วมเป็นกรรมการ โดยการจัดตั้งจะต้องเสนอระดับนโยบายอนุมัติในไม่ช้านี้
สำหรับวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งคณะกรรมการชุดดังกล่าวนั้น เพื่อร่วมกันพิจารณาภาพรวมของหลักทรัพย์ที่รัฐถือครองอยู่ว่าจะบริหารจัดการอย่างไร เช่น ถือหลักทรัพย์ต่อไป หรือ ขายออก โดยมองที่ผลประโยชน์ต่อรัฐสูงสุด
ทั้งนี้ ปัจจุบัน หลักทรัพย์ที่กระทรวงการคลังถือครองทั้งในและนอกตลาดหลักทรัพย์ ไม่นับรวมรัฐวิสาหกิจมีอยู่ประมาณ 117 หลักทรัพย์ แบ่งเป็น
ขณะที่กรณีที่การจัดเก็บรายได้รัฐบาลขณะนี้ ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ทางสคร.ยังคงเป้าหมายการนำส่งรายได้ของรัฐวิสาหกิจเข้าคลังหลวง ล่าสุดยอดนำส่งรายได้อยู่ที่ 1.12 แสนล้านบาท จากเป้าหมายที่ 1.75 แสนล้านบาท
อย่างไรก็ดี สคร.ยังไม่ได้รับนโยบายให้ดำเนินการขายหลักทรัพย์ตัวใดออกไป โดยกองทุนวายุภักษ์ที่มีสัดส่วนมูลค่าหลักทรัพย์สูงกว่า 3.4 แสนล้านบาทนั้น ทางสคร.ได้มอบหมายให้บลจ.MFC และ KTAM เป็นผู้จัดการกองทุน
สำหรับสถานการณ์มูลค่าหลักทรัพย์ที่รัฐถือครองอยู่ในรอบ 3 ปี หรือในช่วงปีงบประมาณ 2564 - 2566 แนวโน้มของมูลค่าหลักทรัพย์ของรัฐ 109 แห่ง (ไม่รวมรัฐวิสาหกิจ) ได้มีการปรับตัวสูงขึ้นจาก 348,241 ล้านบาท ณ สิ้นปีงบประมาณ 2564 เป็น 366,303 ล้านบาท ณ สิ้นปีงบประมาณ 2565 และ 376,997 ล้านบาท ณ สิ้นปีงบประมาณ 2566 ตามลำดับ หรือเพิ่มขึ้นรวมกว่า 8.3%
ทั้งนี้ มูลค่าหลักทรัพย์ ณ สิ้นปีงบประมาณ 2566 เป็นมูลค่าหลักทรัพย์จากกองทุนรวมวายุภักษ์หนึ่งจำนวน 341,693 ล้านบาท ซึ่งมูลค่าหลักทรัพย์ของกองทุนรวมวายุภักษ์หนึ่งได้มีการปรับขึ้นลงในช่วงที่เกิดเหตุการณ์โควิด โดยใน
นอกจากนี้ กระทรวงการคลังได้รับเงินปันผลจากหลักทรัพย์ของรัฐ (ไม่รวมรัฐวิสาหกิจ) จำนวน 3,064 ล้านบาท ในปีงบประมาณ 2565 และ 3,351 ล้านบาท ในปีงบประมาณ 2566
โดยหลักทรัพย์ของรัฐที่จ่ายเงินปันผลสูงสุด 5 อันดับแรกในปีงบประมาณ 2566 ได้แก่