ร้องผู้ตรวจการฯ มติปรับสูตรขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาท ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

08 ก.ค. 2567 | 09:48 น.
อัปเดตล่าสุด :08 ก.ค. 2567 | 10:22 น.

"5 กรรมการค่าจ้าง" ร้องผู้ตรวจการแผ่นดิน ตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของปลัดกระทรวงแรงงาน กรณีมีมติให้ "ปรับสูตรคำนวณค่าจ้างขั้นต่ำใหม่ เป็น 400 บาท" และการจดรายงานการประชุม ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

วันนี้ (8 ก.ค. 67) นางเนาวรัตน์ ทรงสวัสดิ์ชัย และพวกรวม 5 คนจากสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย ซึ่งเป็นคณะกรรมการค่าจ้างชุดที่ 2 ได้เข้ายื่นคำร้องต่อผู้ตรวจการแผ่นดินขอให้ตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของ นายไพโรจน์ โชติกเสถียร ปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานะประธานกรรมการค่าจ้าง ชุดที่ 22 และเจ้าหน้าที่งานวิชาการแรงงาน จัดทำรายงานการประชุมคณะกรรมการค่าจ้าง ชุดที่ 22 ครั้งที่ 5/2567 เมื่อวันที่ 14 พ.ค 2567 เนื่องจากเห็นว่า การประชุมวันดังกล่าวที่มีมติให้ปรับสูตรคำนวณค่าจ้างขั้นต่ำใหม่ และการจดรายงานการประชุม ไม่ชอบด้วยกฎหมายคุ้มครองแรงงาน 

นางเนาวรัตน์ กล่าวว่า พวกตนได้รับผลกระทบเนื่องจากการประชุมวันดังกล่าว ได้มีการพิจารณาข้อหารือแนวทางการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาท ตามนโยบายของรัฐบาล โดยมีผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 36 คน และสรุปได้ว่า การพิจารณาปรับสูตรอัตราค่าจ้างดังกล่าวเป็นการพิจารณาที่ไม่ได้ปฏิบัติตาม มาตรา 87 พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน 2541

ต่อมา ได้มีการลงมติเห็นชอบโดยเสียงส่วนใหญ่ 7 ต่อ 5 เสียง ว่า ให้ปรับสูตรคำนวณค่าจ้างขั้นต่ำใหม่ ซึ่งพวกตนไม่เห็นด้วย เพราะมองว่าการปรับสูตรคำนวณค่าจ้างขั้นต่ำใหม่ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ซึ่งมาตรา 82 กฎหมายเดียวกัน กำหนดให้ต้องมีมติที่ประชุมด้วยคะแนนเสียงอย่างน้อย 2 ใน 3 ของคณะกรรมการที่เข้าร่วมประชุมและพิจารณา ดังนั้น มติการประชุมดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย

"การที่จะขอเปลี่ยนแปลงสูตรคำนวณค่าจ้างขั้นต่ำใหม่ ไม่ได้แจ้งวาระให้เราทราบก่อนล่วงหน้า มีแค่ว่าหารือในเรื่องอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ซึ่งสูตรคำนวณได้มีมติในคณะกรรมการในการปรับค่าจ้างไปแล้ว เมื่อวันที่ 27 ก.พ. 2567 เรียบร้อยแล้ว

 

เราจึงได้คัดค้านในที่ประชุมว่า ถ้าหากจะมีการขอแก้ไขสูตรคำนวณจริง ควรจะต้องทำเป็นวาระแยกต่างหาก และตั้งคณะกรรมการย่อยขึ้นมา เพื่อศึกษาสูตรที่จะขอปรับปรุงเปลี่ยนแปลง แต่กลับไม่จดรายงานบันทึกการประชุมให้ถูกต้อง” 

                           เนาวรัตน์ ทรงสวัสดิ์ชัย

ดังนั้น การกระทำของนายไพโรจน์ เจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นผู้จดรายงานการประชุม และตรวจรายงานการประชุม จึงก่อให้เกิดความเดือดร้อนเสียหายให้แก่พวกตน ในฐานะกรรมการค่าจ้างชุดที่ 22 ที่ต้องผูกพันกับมติการประชุมที่เป็นเท็จ 

"ก่อให้เกิดความเดือดร้อนเสียหายแก่ประชาชน และส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อเศรษฐกิจ หรือ การคลังของประเทศ เป็นเหตุให้เกิด”