BreadTalk งัด "เฟสทีฟ" เมนูสู้ศึกเบเกอรี่ 3 หมื่นล้าน

10 ม.ค. 2566 | 09:20 น.
อัปเดตล่าสุด :10 ม.ค. 2566 | 16:52 น.

“ตลาดเบเกอรี่” หลังโควิดทรงตัวใกล้เคียงก่อนโควิด ครองมูลค่าตลาด 3 หมื่นล้านบาท สวนทางการแข่งขันดุเดือดจากผู้เล่นรายย่อยหน้าใหม่ BreadTalk งัด เฟสทีฟเมนู กระตุ้นยอดขายทุกไตรมาส ควบคู่เปิดสาขาโลคอล

ในปี 2563 มูลค่ารวมตลาดเบเกอรีสูงเฉียด 30,000 ล้านบาท แบ่งเป็น ขนมปัง 53% ขนมเค้ก 22% และขนมอบ (เช่น พาย ครัวซองต์ คุ้กกี้) 25% ขณะที่ข้อมูลจาก Food & Hospitality Thailand 2022 ระบุว่า ในปี2565 ธุรกิจเบเกอรี่ยังคงเป็นธุรกิจที่ได้รับความนิยมจากนักลงทุนและผู้ประกอบการและจัดอยู่ในกลุ่มธุรกิจดาวรุ่งโดยมูลค่าตลาดยังคงทรงตัวในระดับเดียวกับก่อนโควิดหรือประมาณ 30,000 ล้านบาท เติบโตปีละ 7% ขณะเดียวกันยังคงมีปัจจัยเสี่ยงเข้ามากระทบไม่ว่าจะเป็นราคาต้นทุนวัตถุดิบที่สูงขึ้น อัตราเงินเฟ้อที่อาจกระทบกำลังซื้อของผู้บริโภคและการแข่งขันในธุรกิจที่รุนแรงขึ้น 

BreadTalk งัด "เฟสทีฟ" เมนูสู้ศึกเบเกอรี่ 3 หมื่นล้าน

นายวินเซนท์ โทช์ ผู้จัดการภูมิภาคประจำประเทศไทย บริษัท บีทีเอ็ม (ไทยแลนด์) จำกัด หรือ “เบรดทอล์ค” (BreadTalk) เปิดเผยว่า ในปี 2566 นี้ตลาดเบเกอรี่ในประเทศไทยจะขยายตัวและเติบโตอย่างต่อเนื่อง จากการฟื้นตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจและการทยอยกลับมาของนักท่องเที่ยวต่างชาติ และเชื่อว่าจะเป็นปีที่ “เบรดทอล์ค”กลับมาเติบโตได้จากแรงหนุนของนักท่องเที่ยวที่กลับมาและความมั่นใจของผู้บริโภคต่อสภาพเศรษฐกิจต่างๆ

 

 

อย่างไรก็ตามตลาดรีเทลเบเกอรี่หลังโควิดมีการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านการแข่งขันที่สูงขึ้น เนื่องจากมีแบรนด์เบเกอรี่เปิดใหม่ทางออนไลน์และนอนเชนแบรนด์ที่เกิดใหม่ในช่วงโควิดจำนวนมาก ขณะเดียวกันพฤติกรรมของผู้บริโภคเริ่มลดการสั่งซื้อผ่านช่องทางออนไลน์และเดลิเวอรี ลง จากการที่คนสามารถออกมาใช้ชีวิตนอกบ้านได้ปกติทำให้ทราฟฟิกหน้าร้านคึกคักมากขึ้น และคาดหวังประสบการณ์ที่ดีจากการนั่งทานในร้านมากขึ้นเช่นกัน

นายวินเซนท์ โทช์ ผู้จัดการภูมิภาคประจำประเทศไทย บริษัท บีทีเอ็ม (ไทยแลนด์) จำกัด หรือ “เบรดทอล์ค”

และอีกหนึ่งพฤติกรรมผู้บริโภคที่เป็นความท้าทายของแบรนด์ เบเกอรี่ คือ คนไทยรับประทานเบเกอรี่เป็น ของหวานหรือขนมไม่ใช่อาหารจานหลัก  แต่จากประสบการณ์ในช่วง5-6 ปีให้หลังพบว่าคนไทยชอบ สินค้าใหม่ๆ เพราะฉะนั้นสิ่งที่ดึงดูดให้ลูกค้าเข้ามาที่หน้าร้านไม่ว่าจะเป็น“เบรดทอล์ค”  หรือเบเกอรี่แบรนด์อื่นๆก็คือสินค้าใหม่

ดังนั้นในปี 2566 นี้ “เบรดทอล์ค” มีจะล๊อนซ์สินค้าใหม่ๆอย่างน้อยทุกไตรมาส และออกสินค้าใหม่ล้อเทศกาล เริ่มไตรมาสแรกด้วยเมนูรับเทศกาลตรุษจีน “Hoppy Prosperity” และเมนู  “ Mala Pot ” ที่มีความเฮลตี้ เป็นมงคลและเป็นเทรนด์อาหารในปีนี้ ควบคู่ไปกับการเน้นคุณภาพสินค้าเพื่อให้ลูกค้ากลับเข้ามาใช้บริการที่ร้านบ่อยๆ 

BreadTalk งัด "เฟสทีฟ" เมนูสู้ศึกเบเกอรี่ 3 หมื่นล้าน

“เราเริ่มต้นปีกระต่ายจากเทศกาลตรุษจีน สินค้าใหม่จะล้อไปกับตรุษจีนโดยดีไซน์เกี่ยวกับกระต่ายและใช้อักษรจีนคำมงคลในขนมปัง เวลาส่งขนมปังให้ใครก็เสมือนส่งมอบความโชคดีต้อนรับปีกระต่าย ปีนี้เรามั่นใจว่าเทศกาลตรุษจีนทั้งในไทยและต่างประเทศจะคึกคักมากเพราะไม่ได้ฉลองเทศกาลนี้มา 3 ปีแล้วและคาดว่าจะมีการตอบรับที่ดีถ้าดูจาก feedback งานคอนเสิร์ตต่างๆที่เข้ามา ซึ่งคนให้การตอบรับจำนวนมาก ส่วนช่วงเดือนเมษายนเราจะล๊อนสินค้าและกิมมิคใหม่ๆที่ล้อกับเทศกาลสงกรานต์ และคาดหวังว่าจะได้ทราฟฟิกใหม่เพิ่มขึ้น 10-15%”

BreadTalk งัด "เฟสทีฟ" เมนูสู้ศึกเบเกอรี่ 3 หมื่นล้าน

นอกจากนี้ “เบรดทอล์ค”  ยังมีแผนสาขาเพิ่มอีก4 สาขา จากปัจจุบัน 59 สาขาในกรุงเทพฯ85% และต่างจังหวัด 15% (ภูเก็ต โคราช พัทยา ขอนแก่น อุดรธานี) “เมื่อก่อนเราจะมีสาขาแค่ในกรุงเทพฯและภูเก็ต แต่ตอนนี้เราจะลงไปที่เมืองโลคอลมากขึ้นเพื่อเข้าถึงกลุ่มลูกค้าใหม่ๆ  เริ่มจากปี2565เปิดสาขาที่ ขอนแก่น อุดรธานีซึ่งได้รับผลตอบรับที่ดีมาก