หลังจากครม.รับทราบรายงานการแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก ระหว่างสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) และบริษัทอู่ตะเภา อินเตอร์เนชั่นแนล เอวิเอชั่น จำกัด หรือ UTA เอกชนคู่สัญญา ในรูปแบบ PPP Net Cost ซึ่งเอกชนขอใช้สิทธิผ่อนผันตามสัญญาร่วมลงทุนจากความผันผวนทางเศรษฐกิจ รวมถึงกรณีเกิดโรคระบาดที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
หลังได้รับการผ่อนผันดังกล่าว ทางบริษัท อู่ตะเภา อินเตอร์เนชั่นแนล เอวิเอชั่น จำกัด หรือ UTA ได้เดินหน้าเพิ่มทุนจดทะเบียนของบริษัท UTA จาก 4,500 ล้านบาท เป็น 15,000 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 10,500 ล้านบาท เพื่อเดินทางลงทุนขยายสนามบิน
3 ผู้ถือหุ้นเพิ่มทุนจดทะเบียน UTA โดยเป็นการเพิ่มทุนตามสัดส่วนการถือหุ้น ได้แก่
ทั้งนี้หลังการเพิ่มทุนแล้วเสร็จ UTA ก็จะเดินหน้าลงทุนในการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก จาก 4,500 ล้านบาทเป็น 40,000 ล้านบาท และเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาโครงการฯ กรรมสิทธิ์ในงานพัฒนาเมืองการบินฯ ทั้งหมดจะตกเป็นกรรมสิทธิ์ของรัฐ
ปรับแผนลงทุนสนามบินอู่ตะเภา จากเดิมกำหนดไว้ 4 ระยะ ขยายเป็น 6 ระยะ ได้แก่
ทั้งนี้เพื่อให้สามารถรองรับผู้โดยสารของแต่ละระยะสอดคล้อง กับประมาณการผู้โดยสารที่เปลี่ยนแปลงไป โดยในระยะแรกจะพัฒนาให้งานหลักฯ มีขีดความสามารถในการรองรับผู้โดยสาร ไม่น้อยกว่า 12 ล้านคนต่อปี และจะลงทุนในระยะถัดไป (ระยะที่ 2 – 6) เมื่อมีปริมาณผู้โดยสารถึง 80% ของขีดความสามารถ ในการรองรับของระยะปัจจุบัน โดยโครงการฯ ยังกำหนดเป้าหมายให้สนามบินอู่ตะเภารองรับ ผู้โดยสารในปีสุดท้ายได้ 60 ล้านคนต่อปีเท่าเดิม
ส่วนการปรับเกณฑ์การจัดสรรรายได้ และการจ่ายค่าตอบแทนให้รัฐใหม่ ก็มีการตกลงปรับหลักเกณฑ์ใหม่ ว่า หากมีการก่อสร้างโครงการฯ แล้วเสร็จ แต่ปริมาณผู้โดยสารมีไม่ถึง 5.6 ล้านคนต่อปี ให้เลื่อนการเริ่มนับระยะเวลาปีที่ 1 ในปีที่มีปริมาณ ผู้โดยสารต่อปี จำนวน 5.6 ล้านคน โดยช่วงเวลาที่ยังไม่มีการเริ่มนับปีที่ 1 นั้น ให้เอกชนคู่สัญญา ชำระค่าตอบแทนรัฐ ดังนี้
1. ชำระค่าเช่าที่ดินและสิ่งก่อสร้างแก่รัฐจำนวน 100 ล้านบาทต่อปี จากเดิม 820 ล้านบาทต่อปีในช่วง 3 ปีแรกของการให้บริการและการบำรุงรักษาโครงการฯ และเพิ่มขึ้น ทุก ๆ 3 ปี จนสิ้นสุดระยะเวลาโครงการฯ
2. ชำระรายได้ของรัฐ 100 ล้านบาทต่อปี จากเดิม 1,300 ล้านบาท ในปีที่1 และเพิ่มขึ้นในปีถัดไปทุกปีจนสิ้นสุดระยะเวลาโครงการฯ
3. ชำระรายได้ของรัฐแก่ สกพอ. เป็นจำนวนเท่ากับกระแสเงินสดคงเหลือ จากการดำเนินโครงการฯ ภายหลังการชำระดอกเบี้ยพร้อมเงินต้นที่จำเป็นต้องชำระตามสัญญาเงินกู้แล้ว ไม่เกิน 5% ของรายได้ที่เกิดขึ้นจริงในปีนั้น ๆ ของเอกชนคู่สัญญา
นายวีรวัฒน์ ปัณฑวังกูร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร UTA เผยว่า UTA อยู่ระหว่างปรับแผนพัฒนาสนามบิน อู่ตะเภาให้สอดคล้องกับจำนวนผู้โดยสารที่ลดลงจากโควิด-19 ซึ่งขยายเฟสการพัฒนาจาก 4 เฟส เป็น 6 เฟส โดยปรับเฟสแรกจากรองรับที่ 15.9 ล้านคนต่อปี เป็น 12 ล้านคนต่อปี คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างในปี 2567 เฟสแรก ใช้เวลาก่อสร้าง 3 ปี
จากนั้นมีการทดสอบระบบคาดว่าเปิดให้บริการได้ในปี 2570 และเมื่อมีจำนวนผู้โดยสารถึงระดับ 80% ของขีดการรองรับ จะเริ่มก่อสร้างเฟส 2 โดยหารือกับอีอีซี และที่ปรึกษา สัญญาสัมปทาน 50 ปีในการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภารองรับผู้โดยสาร 60 ล้านคนต่อปี
แผนงานการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบิน ของ UTA จะลงทุน ใน 5 ส่วนหลัก ได้แก่
ทั้งนี้ตามแผนงานการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบิน แบ่งเป็น 3 ส่วน
ส่วนแรก ประกอบด้วย 3 เรื่อง ได้แก่ 1. การบินและผู้โดยสาร และองค์ประกอบของสนามบิน 2. Airport City โดยมีแนวคิดการพัฒนาเพื่อเป็นศูนย์กลางด้านธุรกิจ ที่อยู่อาศัย สันทนาการ การท่องเที่ยว 3. ศูนย์ธุรกิจขนส่งสินค้าและโลจิสติกส์ (Cargo Logistic Center) เพื่อตอบโจทย์การขนส่งสินค้าในภูมิภาคโดยเป็นศูนย์รวมและกระจายของขนส่ง 4 โหมดครบวงจร ทั้งทางอากาศ ทางราง ทางถนน และทางนํ้า หรือ Multimodel Transport
ส่วนที่สอง เป็นการเตรียมความพร้อมด้านการก่อสร้างและด้าน Operation ซึ่งที่ผ่านมา UTA ได้มีการออกแบบเพื่อเตรียมก่อสร้างและวางคอนเซ็ปต์ด้านวิศวกรรมศาสตร์ โดยประสานกับอีอีซี กองทัพเรือ เพื่อจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบทางด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม (EHIA) ให้เรียบร้อย
รวมถึงแนวคิดการพัฒนาทางธุรกิจที่จะก่อสร้างเมืองการบินใน 1-2 ปีนี้ แต่ตอบโจทย์ใน 5-10 ปีข้างหน้า ที่สามารถดึงดูดการท่องเที่ยว นอกจากนี้ ยังได้เตรียมการด้าน Operation จัดเตรียมด้านบุคลากรในการให้บริการสนามบิน
ส่วนที่สาม เป็นความร่วมมือกับพันธมิตร ทั้งอีอีซี กองทัพเรือ และผู้เชี่ยวชาญการพัฒนาสนามบิน เพื่อหาแนวทางการพัฒนาที่จะทำให้มีจำนวนผู้โดยสารกลับมาเท่าหรือเพิ่มมากกว่าช่วงก่อนเกิดโควิด-19 ซึ่งเป็นโจทย์ที่ต้องร่วมกัน โดย UTA ได้มีการว่าจ้างที่ปรึกษาผู้บริหารสนามบินระดับโลก 3 ราย
ประกอบด้วย นาริตะ อินเตอร์เนชั่นแนล แอร์พอร์ต ดูแลด้านการบริหารจัดการสนามบิน, มิวนิค อินเตอร์เนชั่นแนลแอร์พอร์ต ช่วยด้านการวางผังพัฒนาสนามบิน, ฮ่องกง อินเตอร์เนชั่นแนล แอร์พอร์ต ดูแลด้านคาร์โก้ โลจิสติกส์ ซึ่งแผนการลงทุนมีหมดแล้วรอแค่การส่งมอบพื้นที่เท่านั้น
ปัจจุบันการลงทุนโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก ของบริษัท อู่ตะเภา อินเตอร์เนชั่นแนล เอวิเอชั่น จำกัด (UTA) ถือว่าล่าช้าไปอีกร่วม 1 ปี จากเดิมรัฐต้องส่งหนังสือแจ้งให้ UTA เริ่มงาน (Notice to Process: NTP) ตั้งแต่เดือนม.ค.ปี 2566 ส่งผลให้ไทม์ไลน์ล่าสุด UTA คาดว่าในปี 2567 จะได้เห็นการเริ่มตอกเสาเข็มก่อสร้างสนามบินอู่ตะเภาเฟส 1
อุปสรรคที่ทำให้การพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา ไม่สามารถเดินตามแผนเดิมที่วางไว้ หลักๆ ติดเงื่อนไขใน 5 ข้อของหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องที่มีความคืบหน้าในการดำเนินงานล่าช้ากว่าแผน จึงทำให้อีอีซียังไม่สามารถส่งหนังสือแจ้งให้ UTA เริ่มงานได้