ความคืบหน้า “โครงการส่งเสริมการเปลี่ยนเมล็ดพันธุ์ข้าว ปี 2566 " ของกรมการข้าวมีเป้าหมายการดำเนินการเปลี่ยนเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดี จำนวน 58,700 ตัน ให้แก่ชาวนาไม่น้อยกว่า 205,965 ครัวเรือน ในพื้นที่ 76 จังหวัด เพื่อส่งเสริมให้ชาวนาสามารถเข้าถึงและได้ใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดีจากศูนย์ข้าวชุมชนทั่วประเทศ ทั้งหมด 20 สายพันธุ์ได้แก่ กลุ่มข้าวหอมมะลิ จำนวน 3 หมื่นตัน,ข้าวข้าวเจ้าพื้นแข็ง จำนวน 23,000 ตัน รวมถึงข้าวเจ้าพื้นนุ่ม,ข้าวเหนียว และข้าวหอมไทย
อย่างไรก็ดีก่อนหน้านี้ ประธานศูนย์ข้าวชุมชนระดับประเทศได้ให้สัมภาษณ์ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ศูนย์ข้าวชุมชน สามารถดำเนินการได้ 2 วิธี (คลิกอ่าน) ได้แก่ วิธีที่ 1 ก็คือข้าวพันธุ์แลกข้าว เช่น เกษตรกรนำข้าวหอมมะลิ 1 กิโลกรัม(กก.) จะแลกพันธุ์ข้าว 1 กิโลกรัม เพื่อที่จะดึงข้าวเกษตรกรออกจากยุ้งฉาง แต่ถ้าหากขายข้าวไป ก็เกรงว่าเกษตรกรจะนำข้าวราคาต่ำไปขาย นี่คือข้อกังวล และวิธีที่ 2 คือขายข้าวตามชนิด ตั้งแต่ ราคา 3-5 บาทต่อ กก. ซึ่งเป็นแนวทางปฏิบัติตามคู่มือ ล่าสุดได้มีความเคลื่อนไหวแล้ว
นายณัฏฐกิตติ์ ของทิพย์ อธิบดีกรมการข้าว กล่าวว่า โครงการส่งเสริมการเปลี่ยนเมล็ดพันธ์ุข้าว ปี 2566 งบประมาณกว่า 1,001 ล้านบาท เป็นแผนการดำเนินงานโครงการต่อเนื่องอย่างน้อย 3 ปี ซึ่งต้องทำตามแนวทางการปฎิบัติของศูนย์ข้าวชุมชนและ หากไม่ทำตามคู่มือมือ หรือผิดระเบียบ จะทำให้กลายเป็นปัญหาร้องเรียนกันเป็นเรื่องเป็นราว หากศูนย์ข้าวชุมชนไม่ปฏิบัติตามคู่มือก็ต้องรับผิดชอบกันเอง เพราะกรมการข้าวได้มอบนโยบายให้ทำตามคู่มือทุกอย่างเท่านั้น จะไปแปลงสารเป็นอย่างอื่นไม่ได้
“ก่อนที่จะทำโครงการนี้ก็ได้มีการเรียกประธานศูนย์ข้าวชุมชนระดับประเทศมาตกลง และมอบนโยบายมาแล้วจะมาทำแบบนี้ไม่ได้ ซึ่งมีวิธีเดียวเท่านั้น”
เช่นเดียวกับ นายกฤษฎิน คำตัน รักษาการแทนผู้อำนวยการกองเมล็ดพันธุ์ข้าว กล่าวว่า ยืนยันว่าโครงการนี้ต้องทำตามคู่มือเท่านั้น จะต้องขายข้าวกิโลกรัมละ 3-5 บาท ตามชนิดของพันธุ์ข้าว ซึ่งอธิบดีกรมการข้าวได้สั่งการให้แต่ละศูนย์ฯ(ปัจจุบันมี 29 ศูนย์)ดำเนินตามนโยบายและกฎกติกาอย่างเคร่งครัด
ทั้งนี้ในขั้นตอนปฏิบัติ จะให้เกษตรกรในพื้นที่สมัครเข้าร่วมโครงการ โดยศูนย์ข้าวชุมชนจะช่วยในการคัดกรองเกษตรกร เพราะจะทราบว่าคนไหนเป็นเกษตรกรตัวจริงหรือไม่ และมีความต้องการเมล็ดพันธุ์จริง ซึ่งจะได้รับการช่วยเหลือตามพื้นที่ปลูกจริงที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรครัวเรือนละไม่เกิน 30 ไร่ ไร่ละ 15 กิโลกรัม รายละไม่เกิน 450 กิโลกรัม
ในกรณีเกษตรกรให้ความสนใจจัดซื้อเมล็ดพันธุ์มากกว่าเป้าหมายที่ได้รับแต่ละจังหวัด ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวจะพิจารณา ตามลำดับ ดังนี้
1.เกษตรกรที่เก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้เอง (ไม่เคยเปลี่ยนพันธุ์ข้าว)
2. เกษตรกรที่ซื้อพันธุ์ข้าวจากเกษตรกรเพื่อนบ้านในชุมชน
3. เกษตรกรที่เคยใช้พันธุ์ข้าวคุณภาพดี จากกรมการข้าว หรือ แหล่งผลิตเมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพดีอื่น ๆ
ทั้งนี้ เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการต้องชำระเงินค่าเมล็ดพันธุ์ข้าวให้กับศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าว โดยอาจดำเนินการผ่านผู้นำชุมชน/ประธานศูนย์ข้าวชุมชนก็ได้ ตามราคาเมล็ดพันธุ์
ความเป็นมา "โครงการส่งเสริมการเปลี่ยนเมล็ดพันธ์ข้าว ปี 2566 " ข้าวเป็นพืชที่มีความสำคัญกับสังคมไหยทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมมาช้านาน "การทำนา" เป็นอาชีพเกษตรกรรมส่วนใหญ่ของประชากรในประเทศ ประมาณ 9.6 ล้านครัวเรือน สามารถผลิตข้าวได้ปีละกว่า 30 ล้านตันข้าวเปลือก
ดังนั้น อาชีพชาวนาจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาประเทศ ในแง่เป็นกำลังสำคัญในการผลิตข้าวในการบริโภค หรือต้านการด้าข้าวเพื่อการส่งออก สามารถนำเงินรายได้เข้าสู่ประเทศประมาณปีละ 2 แสนล้านบาท สำหรับพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปถูกข้าวปีการผลิต 2564/65 รอบที่ 1 ภายใต้แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร รอบที่ 1 จำนวน 60.25 ล้านไร่ ประกอบต้วย ข้าวหอมมะลิ 27.50 ล้านไร่ข้าวหอมปทุม 1.64 ล้านไร่ ข้าวเจ้า 15.00 ล้านไร่ ข้าวเหนียว 15.50 ล้นไร่ ข้าวตลาดเฉพาะ 0.61 ล้านไร่(กรมการข้าว,2564)
แม้ว่าประเทศไทยจะเป็นประเทศผู้ส่งออกสินค้าข้าวคุณภาพดีเป็นอันตับต้นๆ ของโลก แต่ผลผลิตเฉลี่ยข้าว ยังมีผลผลิตอยู่ในเกณฑ์ต่ำ ผลผลิตเลี่ยเพียง 353 กิโลกรั่มต่อไร่ สาเหตุหนึ่งมาจากการใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวที่เกษตรกรเก็บไว้เองหลายรอบซึ่งมีคุณภาพต่ำ กรที่จะปลูกข้าวให้ได้ผลดีมีปีจจัยหลายอย่าง
ทั้งคุณภาพของดินปริมาณน้ำ และเทคโนโลยี แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ พันธุ์ดีที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ซึ่งให้ผลผสิตเฉลี่ยสูง ต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูพืชและได้เมล็ตพันธุ์ข้าวที่มีคุณภาพดีตรงตามความต้องการของตลาด ปัญหาสำคัญที่พบและเป็นปัญหาเร่งด่วนในปัจจุบันเพราะมีผลโดยตรงต่อปริมาณและคุณภาพข้าวไทย ก็คือ ชาวนาขาดแคลนเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดีขาวนามักจะใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวที่เก็บไว้ใช้องต่อเนื่องกันหลายปีส่งผลให้ผลผลิตทั้งปริมาณและคุณภาพต่ำ
จากสาเหตุมีข้าวแดงและพันธุ์อื่นปนทำให้ไม่สามารถแข่งชันกับประเทศคู่แข่งได้ กรมการข้าวจึงเห็นสมควรส่งเสริมให้เกษตรกรเปลี่ยนไปใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดีที่ผลิตและจำหน่ายโดยศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวเพื่อยกระตับปริมาณและคุณภาพผลผลิตข้าวให้สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้