“ธรรมนัส”แจงสภา ตั้งงบ 67 ยกระดับชีวิตภาคเกษตร

03 ม.ค. 2567 | 14:56 น.
อัปเดตล่าสุด :03 ม.ค. 2567 | 15:00 น.

”ธรรมนัส“ ชี้แจงสภาฯตอบทุกข้อข้องใจภาคเกษตร ย้ำการใช้งบ คุ้มค่า เกิดประโยชน์ทุกบาท ย้ำ ถึงแม้งบปี 2567 จะน้อย แต่จะบริหารจัดการให้ดีที่สุด เดินตามวิสัยทัศน์ประเทศไทย มีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ยกระดับชีวิตภาคเกษตร

ร้อยธรรมนัส พรหมเผ่า สส.พะเยา เขต 1 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.) ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ชี้แจงต่อที่ประชุมสภาฯ วาระพิจารณา ร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 วงเงิน 3.48 ล้านล้านบาท วาระแรกว่า ตนต้องขอขอบคุณเพื่อนสมาชิกที่นำข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นกับชาวนามาให้ข้อมูล ปัจจุบันเกษตรกรติดกับวงจรความยากจน เราต้องปรับโครงสร้างการพัฒนาเกษตรกรให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นให้ได้ใน 4 ปีนี้ โดยจะต้องพยายามที่จะทำภายใต้กรอบงบประมาณที่มีจำนวนจำกัด

"ปีงบประมาณ 67 กรมการข้าวได้งบประมาณ 4,000 กว่าล้านบาท ซึ่งเป็นเงินใช้จ่ายประจำอยู่แล้วเกือบ 1,000 กว่าล้านเงินที่ใช้ในการพัฒนาคุณภาพข้าว ถามว่ามีเพียงพอต่อพี่น้องชาวนาหรือไม่ ก็ต้องยอมรับว่า ไม่เพียงพอ ก็ต้องเป็นหน้าที่ในการวางแผนของตน สิ่งที่ตนกำลังจะทำภายใต้ขีดจำกัดของงบประมาณคือ เราต้องเปิดกว้าง คือ การศึกษาการวิจัยจะต้องใจกว้างว่าเขาวิจัยเมล็ดพันธุ์ข้าว รับรองแล้ว นำมาประกาศให้ ชาวนาได้ทดลองพันธุ์ข้าวพันธุ์ ซึ่งผมได้นัดหมายกับสถาบันการศึกษาและหรือสถาบันวิจัยต่างๆ หลังจากที่เราเสร็จสิ้นงบประมาณในวาระ 2 จะเปิดโอกาสให้กับสถาบันหรือศูนย์วิจัยต่างๆได้มีเมล็ดข้าวพันธุ์ใหม่"

“หลายท่านตั้งประเด็นว่า งบประมาณสำหรับกระทรวงเกษตรฯซึ่งถือว่าเป็นกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับพี่น้องคนไทยเกือบครึ่งหนึ่งของประเทศ แต่เป็นกระทรวงใหญ่ที่ถูกตัดงบประมาณจากปีที่แล้วได้ 120,000 กว่าล้านปีนี้เหลือ 118,000 กว่าล้าน ถามว่าโดนตัดไปแล้วจะต้องทำอย่างไร คำตอบคือ อย่างแรก เราต้องเปิดหู เปิดตา รับฟังเสียงวิพากษ์วิจารณ์ทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน และบริหารจัดการภายใต้งบประมาณที่มีอย่างจำกัด”ร.อ.ธรรมนัส กล่าว

 

ร.อ.ธรรมนัส กล่าวต่อว่า ในส่วนงบประมาณ 15,000 ล้านบาทที่ใช้ในปี 2566 กรมการข้าวไม่ได้ใช้สักบาทเดียว ได้นำเงินไปจ่ายช่วยเหลือชาวนา ไร่ละ 1,000 บาท  (คลิกอ่าน) ส่วนเงินที่เหลือถามว่าจะมีเพียงพอต่อพี่น้องชาวนาหรือไม่ ตอบได้เลยว่าไม่เพียงพอ และกระทรวงเกษตรฯ จะทำอย่างไร ซึ่งเป็นงานหนักที่จะต้องกลับมาคิดและวางแผน ดังนั้นสิ่งที่กำลังจะทำภายใต้ขีดจำกัดของงบประมาณ

 

“ล่าสุดกำลังจะให้กรมส่งเสริมการเกษตร ขึ้นทะเบียนเปิดโอกาสให้กับพี่น้องที่เป็นเกษตรกร หรือไม่ใช่เกษตรกร ที่มีเครื่องจักรและเทคโนโลยีใหม่ขึ้นทะเบียนแล้ว ให้บริการแต่ละตำบลแต่ละอำเภอโดยมีการจัดตั้ง จัดระเบียบใหม่ จะทำได้ง่ายไหม ก็คงไม่ง่ายแต่เราต้องทำภายใต้กรอบวงงบประมาณที่มีจำกัด”

 

สำหรับการจัดการน้ำของกรมชลประทาน มีหลักเกณฑ์ในการจัดสรรงบประมาณสำหรับการปรับปรุงแหล่งน้ำจำนวน 374 แหล่งในแต่ละจังหวัด โดยใช้แนวทางคัดเลือกพื้นที่ดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการยื่นขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามที่สำนักงบประมาณกำหนด เป็นต้นว่า ต้องเป็นโครงการตามภารกิจที่สนับสนุนการขับเคลื่อนพัฒนาประเทศให้บรรลุเป้าหมาย ตามวิสัยทัศน์ประเทศไทย มีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ด้วยการพัฒนาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง

 

โดยคำนึงถึงความจำเป็นความต้องการของพื้นที่ เพื่อให้เกิดสิทธิภาพ ความคุ้มค่าในการจ่ายงบประมาณ และสัมฤทธิ์ผลในการจัดการภาครัฐ หรือเป็นโครงการที่มีความเร่งด่วน เป็นรายการที่มีความพร้อมในการดำเนินการ และมีความพร้อมด้านพื้นที่ด้วย หรือให้ความสำคัญกับโครงการที่ประชาชนมีส่วนร่วม และเป็นความต้องการของประชาชนทั้งในระดับชาติ ระดับพื้นที่ ระดับภาค ระดับกลุ่มจังหวัด และระดับท้องที่ และมีการบูรณาการระหว่างหน่วยงานของภาครัฐทุกส่วน

 

ในส่วนที่ สส.ตั้งข้อสังเกตว่า งบประมาณในการบริหารจัดการกระทรวงเกษตรกรปี 67 มีจำนวนจำนวนน้อย แต่กระทรวงเกษตรเกษตรกรมีกองทุนที่อยู่ภายใต้การดูแลของกระทรวงเกษตรกรจำนวนมากนั้น ร.อ.ธรรมนัส  ชี้แจงว่า กระทรวงเกษตรฯมีกองทุนและเงินทุนหมุนเวียนในสังกัดรวมทั้งสิ้น 14 กองทุน แต่กองทุนที่มีความสำคัญ และมีเม็ดเงินที่จะสามารถใช้ในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาคุณภาพชีวิตของพี่น้องเกษตรกรได้เพียง 5 กองทุน เช่นกองทุนหมุนเวียนเพื่อการกู้ยืมแก่เกษตรกรและผู้ หรือ กองทุนสงเคราะห์การเกษตร

 

ยกตัวอย่างกรณีโครงการ ส.ป.ก.4-01 เป็นโฉนดเพื่อการเกษตร ด้วยงบประมาณที่มีจำนวนจำกัด 1,000 กว่าล้านบาท ไม่เพียงพอต่อการดำเนินการเปลี่ยนส.ป.ก.4-01 เป็นโฉนดเพื่อการเกษตร จำนวน 22 ล้านไร่ ในกรอบระยะเวลาที่กำหนด เราจึงใช้เงินจากกองทุนที่กองทุนปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมซึ่งเราจะจะมีคณะกรรมการเป็นที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเป็นผู้บริหารกองทุนนี้ และกองทุนที่สำคัญอีกกองทุนหนึ่ง ซึ่งเกี่ยวข้องกับพี่น้องชาวสวน เราเรียกว่ากองทุนพัฒนายางพารา ของการยางแห่งประเทศไทย ซึ่งจะมีคณะกรรมการการยางแห่งประเทศไทยกำกับดูแล เราได้นำเงินส่วนนี้ไปช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรผู้ปลูกยางจากทั่วประเทศ

 

“สิ่งที่หลายท่านตั้งข้อสังเกตและซักถามว่าเงินกองทุนเหล่านี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้นำไปใช้ให้ประโยชน์กับพี่น้องเกษตรกรหรือไม่ ผมก็ขอชี้แจงดังนี้ กระทรวงเกษตรกรภายใต้กรอบงบประมาณที่มีจำนวนจำกัด แต่เป็นเรื่องของคนส่วนใหญ่ของประเทศ ผมให้ความสำคัญกับวิถีชีวิตของพี่น้องเกษตรกร ปัญหาต่างๆไม่ว่าจะเป็นปัญหาเรื่องที่ดินทำกิน เรื่องแหล่งน้ำ เรื่องของชาวประมงทั้ง 22 จังหวัด กฎหมายสำคัญๆที่มีอุปสรรคต่อการทำอาชีพประมงทั้งพื้นบ้าน และตามพี่น้องชาวประมงได้เรียกร้อง ผมได้แก้ไขและประกาศในราชกิจจาเป็นที่เรียบร้อย โดยผมจะใช้งบประมาณทุกกลุ่ม ทุกส่วน ของกระทรวงเกษตรกรให้เกิดประโยชน์และคุ้มค่าให้เกิดประโยชน์กับพี่น้องเกษตรกร“