กรมวิชาการเกษตร ลุยขับเคลื่อนเกษตรอัจฉริยะ “ลดโลกร้อน”

31 ต.ค. 2567 | 03:04 น.
อัปเดตล่าสุด :31 ต.ค. 2567 | 03:04 น.

กรมวิชาการเกษตร ลุยขับเคลื่อนเกษตรอัจฉริยะ “ลดโลกร้อน” หนุนเกษตรกรปรับตัว เพื่อเข้าถึง สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ green loan มุ่งเป้ารตลาดที่ผู้บริโภคยินดีจ่ายเงินที่สูงขึ้นให้กับสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพ เป็นมิตรสิ่งแวดล้อม

กรมวิชาการเกษตร ลุยขับเคลื่อนเกษตรอัจฉริยะ “ลดโลกร้อน”

ดร.พงศ์ไท ไทโยธิน รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร เผยหลังประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “Advancing Climate - Smart Agriculture in Thailand"   มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลลัพธ์ของกิจกรรมโครงการในประเทศ และวางแผนกลยุทธ์ในอนาคตเพื่อส่งเสริมการนำการเกษตรอัจฉริยะด้านสภาพภูมิอากาศ (Climate Smart Agriculture : CSA) โดยมีผู้เข้าร่วมการประชุมจากหลายภาคส่วน อาทิ ผู้แทนสถานเอกอัครราชทูตออสเตรเลียประจำประเทศไทย ผู้แทนองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ ผู้แทนจากสถาบันความร่วมมือเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจลุ่มน้ำโขง ผู้แทนธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หน่วยงานภาครัฐในประเทศไทย และองค์กรระหว่างประเทศ เป็นต้น

 

ทั้งนี้ จากนโยบายของ นางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และนายรพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ในการการขับเคลื่อนการพัฒนาภาคการเกษตร ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และของกรมวิชาการเกษตร ที่สอดคล้องกับหลัก Climate Smart Agriculture หรือ CSA อาทิ 

  • 1. การเพิ่มผลิตภาพการผลิต (Productivity) ประกอบด้วย การนำเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ หรือ Gene Editing (Ged) มาใช้ในการพัฒนาพันธุ์พืช ที่ทนต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ต้านทานโรคและแมลงศัตรูพืช และให้ผลผลิตต่อไร่สูง, การกระจายพันธุ์ดีไปยังเกษตรกร (High-quality seed), การทำการเกษตรแบบแม่นยำ

 

เพื่อลดการใช้ปัจจัยการผลิตที่เกินความจำเป็น และช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคเกษตร (Precision farming), การให้เกษตรกรรายย่อยเข้าถึงเครื่องจักรกลและเทคโนโลยีสมัยใหม่ (Mechanization) ผ่านกลไกเกษตรแปลงใหญ่ สถาบันเกษตรกรและผู้ให้บริการทางการเกษตร, การจัดการโรคแมลงศัตรูพืชแบบผสมผสาน (IPM) การวิจัย และพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต (R&D)

 

 

กรมวิชาการเกษตร ลุยขับเคลื่อนเกษตรอัจฉริยะ “ลดโลกร้อน”

 

  • 2.ด้านการปรับตัวของเกษตรกร (Adaptation) ประกอบด้วย ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการเกษตร (Excellent Center and Knowledge transfer ) เพื่อเป็นแปลงต้นแบบและถ่ายทอดความรู้เกษตรสมัยใหม่ การจัดทำข้อมูล Agri-Map ประกอบการวางแผนผลิตของเกษตรกร, การปลูกพืชหมุนเวียน (Crop Rotation) และการประกันภัยพืชผล (Crop Insurance)  เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากความผันผวนของสภาพภูมิอากาศ

กรมวิชาการเกษตร ลุยขับเคลื่อนเกษตรอัจฉริยะ “ลดโลกร้อน”

  • 3.การมีส่วนลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของเกษตรกร (mitigation) ประกอบด้วย การเข้าสู่มาตรฐาน GAPและนโยบาย 3Rs เพื่อปลอดการเผาในภาคเกษตร และแก้ไขปัญหา PM2.5 การจัดทำข้อมูล Baseline การปล่อยก๊าซเรือนกระจกในพืชเศรษฐกิจสำคัญ (Baseline GHG emission)

เพื่อนำมาจัดทำเป็นคู่มือการเข้าสู่มาตรฐานการผลิตสินค้าเกษตรที่ปลอดภัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และนำไปสู่ ตลาด Carbon credit และ ฉลาก Carbon foot print ดังนั้นมาตรฐานด้านการเกษตรจึงเป็นเครื่องมือสำคัญในการส่งเสริมเกษตรกร เพื่อให้ได้ green product ภายใต้การสนับสนุนสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยต่ำ green loan และ การตลาดที่ผู้บริโภคยินดีจ่ายเงินที่สูงขึ้น green market ให้กับสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพ มีมาตรฐาน มีความปลอดภัยและมีกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

 

ดร.พงศ์ไท ไทโยธิน รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวในตอนท้ายว่า กรมวิชาการเกษตรจะใช้ แนวทาง หลัก Climate Smart Agriculture เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกร สามารถปรับตัวได้ทันกับสภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปของโลก ได้อย่างเหมาะสม