เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2567 เวลา 11.00 น. (เวลาท้องถิ่นประเทศเปรู) ณ ศูนย์การประชุม Lima คอนเวชั่นเซ็นเตอร์ กรุงลิมา สาธารณรัฐเปรู นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้หารือกับนางเกลาเดีย ซันอูเอซา ริเบโรส รัฐมนตรีช่วยด้านความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศของสาธารณรัฐชิลี ในช่วงการประชุมรัฐมนตรีเอเปค
นายพิชัย กล่าวว่า เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุน ระหว่างกัน ไทยและชิลีได้หารือแนวทางกระชับความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างกันให้แน่นแฟ้นและครอบคลุมยิ่งขึ้น ซึ่งรวมถึงความร่วมมือที่มีมานานภายใต้ FTA ไทย-ชิลี ที่กำลังจะครบรอบ 10 ปี ในเดือนพฤศจิกายน ปีหน้า (พ.ศ. 2568)
ขณะเดียวกัน ไทยและชิลีเห็นพ้องที่จะมีการประชุมคณะกรรมาธิการการค้าเสรีไทย-ชิลี ครั้งที่ 5 ในเดือนธันวาคม 2567 ที่ไทยจะเป็นเจ้าภาพ ซึ่งเป็นการประชุมในระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส โดยการประชุมดังกล่าวจะเป็นโอกาสสำคัญที่จะได้ติดตามความคืบหน้าการดำเนินการภายใต้ FTA ไทย-ชิลี ในภาพรวมให้มีประสิทธิภาพ
รวมถึงประเด็นการแก้ไขความตกลงข้างต้น และหารือแนวทางพัฒนาความร่วมมือระหว่างไทยและชิลีอย่างรอบด้าน เพื่อขยายโอกาสทางการค้าและการลงทุนระหว่างกันให้มากขึ้น
นอกจากนี้ การประชุมร่วมกันดังกล่าวเพื่อต้องการผลักดันการใช้ประโยชน์จาก FTA ในกรอบต่างๆ ที่ไทยเป็นภาคีอย่างเต็มที่ ตามนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในการสร้างแต้มต่อให้กับภาคเอกชนไทยในการเข้าสู่ตลาดของประเทศคู่ภาคีต่างๆ ที่ไทยจัดทำ FTA ด้วย รวมไปถึงการเสริมสร้างโอกาสสำหรับความร่วมมือในการพัฒนาเศรษฐกิจ และเพิ่มบทบาทไทยในเวทีระหว่างประเทศ
ปัจจุบัน ชิลีเป็นคู่ค้าอันดับที่ 44 ของไทย และเป็นคู่ค้าอันดับ 3 ของไทยในภูมิภาคลาตินอเมริกา รองจากบราซิล และอาร์เจนตินา โดยในปี 2567 (ม.ค.-ก.ย.) ไทยและชิลีมีมูลค่าการค้ารวม 874.80 ล้านดอลลาร์ ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2566 อยู่ที่ 3.59% โดยเป็นการส่งออก 351.98 ล้านดอลลาร์สำหรับสินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปชิลี เช่น
ทั้งนี้ การนำเข้าของไทยจากชิลีมีมูลค่า 522.82 ล้านดอลลาร์ โดยมีสินค้าสำคัญ เช่น
สำหรับการใช้สิทธิประโยชน์ภายใต้ความตกลงการค้าเสรีไทย-ชิลี (TCFTA) ในปี 2567 (ม.ค.-ก.ค.) มีสัดส่วนการส่งออกที่ใช้สิทธิประโยชน์ฯ ต่อมูลค่าการส่งออกสินค้าที่ได้รับประโยชน์ฯ มากเป็นอันดับ 2 จากความตกลงการค้าเสรีของไทยกับประเทศคู่ค้าทั้งหมด 97.06% ซึ่งสินค้าส่งออกของไทยที่ได้รับประโยชน์ลำดับต้น ๆ อาทิ รถยนต์และยานยนต์อื่น ๆ (ที่มีเครื่องดีเซล หรือกึ่งดีเซล) ปลาทูน่า ปลาสคิปแจ็ก และปลาโบนิโต (ชนิดซาร์ดา)
ขณะที่ มีสัดส่วนการนำเข้าที่ใช้สิทธิประโยชน์ฯ ต่อมูลค่าการนำเข้าสินค้าที่ได้รับประโยชน์ฯ มากเป็นอันดับ 2 เช่นกัน ที่ร้อยละ 78.56 โดยสินค้านำเข้าจากชิลีที่ได้รับประโยชน์ลำดับต้น ๆ เช่น เชอร์รี่อื่น ๆ ไวน์อื่น ๆ ที่ทำจากองุ่นสด และไขมันและน้ำมันของปลา เป็นต้น