net-zero

"สนข." ดัน 6 มาตรการขนส่ง ลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก

    "สนข." ดัน 6 มาตรการขนส่ง เร่งพัฒนาระบบโลจิสติกส์ สร้างรถไฟทางคู่-อัพเกรดท่าเรือ ตั้งเป้าลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 42.4 ล้านตันคาร์บอน ภายในปีพ.ศ. 2608

นายปัญญา ชูพานิช ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยในงานสัมมนา Road to Net Zero 2024 The Extraordinary Green จัดโดย ฐานเศรษฐกิจ ช่วงนโยบายการพัฒนาระบบโลจิสติกส์อย่างยั่งยืน ว่า

ในทุกๆปีไทยมักจะพบเจอปัญหาฝุ่นPM 2.5 รวมถึงสถานการณ์น้ำท่วมและดินสไลด์ ซึ่งกลายเป็นชีวิตประจำวันแล้ว

ทั้งนี้กระทรวงคมนาคม ได้ให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ที่เกิดขึ้นจากสภาวะที่เปลี่ยนแปลงไป โดยการพัฒนาระบบขนส่งโลจิสติกส์ควบคู่ไปด้วยกัน

นายปัญญา กล่าวต่อว่า สำหรับเป้าหมายของการพัฒนาคมนาคมอย่างยั่งยืนนั้น

\"สนข.\" ดัน 6 มาตรการขนส่ง ลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก

โดยไทยได้ประกาศเจตจำนงที่จะยกระดับการแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศอย่างเต็มที่เพื่อบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน ภายในปีพ.ศ.2593

นอกจากนี้ได้ตั้งเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ ภายในปีพ.ศ.2608

โดยภาคขนส่งได้ตั้งเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 42.4 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์

นายปัญญา กล่าวต่อว่า ความท้าทายในการพัฒนาระบบโลจิสติกส์อย่างยั่งยืนมีหลายปัจจัย เช่น การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น

สภาพเศรษฐกิจโลก,ภูมิรัฐศาสตร์ และการขาดความตระหนักรู้ของประชาชน

"ความท้าทายเหล่านี้ถือเป็นโอกาสของไทยที่เป็นศูนย์กลางของอาเซียน ทำให้ไทยได้เป็นฮับด้านการบินและการขนส่ง หากเราสามารถเป็นตัวอย่างในการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้ จะทำให้ประเทศในภูมิภาคยึดเป็นแบบอย่างที่ดี" นายปัญญา กล่าว

\"สนข.\" ดัน 6 มาตรการขนส่ง ลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก

ขณะเดียวกันกระทรวงคมนาคมมีแผนปฏิบัติการลดก๊าซเรือนกระจกสาขาขนส่งภายในปี 2573 ดังนี้

1.มาตรการส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า ปัจจุบันบริษัทไทยสมาล์บัส จำกัด (TSB)ได้มีรถโดยสารไฟฟ้าในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลจำนวน 2,017 คัน

หลังจากนั้นจะเพิ่มหลังจากนั้นจะเพิ่มรถโดยสารไฟฟ้าเป็น 3,100 คัน ภายในปี 2567

ส่วนการเปลี่ยนรถโดยสารไฟฟ้าของขสมก.ปัจจุบันอยู่ระหว่างดำเนินการเปลี่ยนรถโดยสารเป็นรถโดยสารไฟฟ้าอีวี จำนวน 1,520 คัน ภายในปี 2568 เพื่อทดแทนรถโดยสารครีมแดง (รถร้อน)

2.มาตรการพัฒนาระบบขนส่งในเมือง เบื้องต้นกระทรวงคมนาคมยังมีแผนพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะเมืองหลักในภูมิภาค เช่น

รถไฟรางเบาจ.เชียงใหม่,รถไฟรางเบา จ.ขอนแก่น ,รถไฟรางเบา จ.ภูเก็ต ฯลฯ

ขณะเดียวกันสนข.มีแผนเดินหน้าร่างพระราชบัญญัติระบบตั๋วร่วม (พ.ร.บ.ตั๋วร่วม) พ.ศ. ....

คาดว่าร่างพ.ร.บ.ตั๋วร่วมฯ จะมีผลบังคับใช้ภายในเดือนกันยายน 2568 ซึ่งจะนำไปสู่การใช้ค่าโดยสารในราคาถูกลง

นายปัญญา กล่าวต่อว่า ส่วนการเดินหน้านโยบายรถไฟฟ้าสูงสุด 20 บาทตลอดสาย

โดยกระทรวงคมนาคมยืนยันว่ารถไฟฟ้าทุกสายทุกสีจะสามารถใช้อัตราค่าโดยสารตามนโยบายดังกล่าวได้ภายในเดือนกันยายน ปี 2568

\"สนข.\" ดัน 6 มาตรการขนส่ง ลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก

3.การพัฒนาระบบขนส่งโลจิสติกส์ระหว่างเมือง โดยมุ่งเน้นการพัฒนารถไฟทางคู่ ระยะที่ 1 จำนวน 7 เส้นทาง 993 กม.

ก่อสร้างแล้วเสร็จ 5 เส้นทาง และอยู่ระหว่างการก่อสร้าง 2 เส้นทาง ประกอบด้วย เส้นทางมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ และเส้นทางลพบุรี-ปากน้ำโพ

ด้านโครงการรถไฟทางคู่ ระยะที่ 2 ระยะทาง 1,479 กม.ซึ่งอยู่ในแผนดำเนินการภายในปี 2565-2569 จำนวน 7 เส้นทาง

ทั้งนี้กระทรวงคมนาคมยังมีแผนดำเนินการก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีด) 2 เส้นทาง ประกอบด้วย

รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมืองสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) และโครงการรถไฟความเร็วสูงช่วงกรุงเทพฯ - นครราชสีมา (ไฮสปีดไทย-จีน) ระยะที่ 1

นายปัญญา กล่าวต่อว่า จากการคาดการณ์ของการขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (IATA) ระบุว่า ภายในปี 2574 จะมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าไทย จำนวน 200 ล้านคน

\"สนข.\" ดัน 6 มาตรการขนส่ง ลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก

ทำให้กระทรวงคมนาคมมีแผนขยายสนามบินที่สำคัญ เช่น สนามบินสุวรรณภูมิ,สนามบินดอนเมือง,สนามบินอู่ตะเภาสนามบินภูเก็ต,สนามบินล้านนา และสนามบินอันดามัน

4.มาตรการเพิ่มประสิทธิภาพยานยนต์ โดยการเก็บภาษีคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งไทยมีแผนใช้มาตรฐานการปล่อยไอเสียยูโร 5 (มาตรฐานยูโร 5) หรือ EURO 5 สำหรับรถยนต์ใหม่ในประเทศ

5.มาตรการส่งเสริมพลังงานทางเลือกในอนาคต โดยมุ่งเน้นการใช้เชื้อเพลิงไฮโดรเจนและการใช้เชื้อเพลิงอากาศยานแบบยั่งยืน

6.มาตรการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการสนับสนุนด้านการคมนาคมขนส่ง

โดยเป็นการเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งสินค้าจากทางถนนสู่การขนส่งทางรางและทางน้ำ เช่น

การพัฒนาท่าเรือบก การพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 การพัฒนาท่าเรือมาบตาพุด ระยะที่ 3 ฯลฯ ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งและลดต้นทุนโลจิสติกส์