new-energy

แผนพีดีพีใหม่ ดันพลังงานแสงอาทิตย์-ลม-ชีวมวล ลดคาร์บอน สะพัด 6.7 ล้านล้าน

    ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS ได้ทำการวิเคราะห์ ถึงร่างแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ.2567-80 (PDP 2024) ที่คาดว่าจะประกาศใช้ในช่วงปลายปี 2567 โดยภาครัฐได้ให้ความสำคัญกับความมั่นคงของระบบไฟฟ้า

นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญกับการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ในกระบวน การผลิตไฟฟ้าเพื่อให้ไทยสามารถบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี 2593 ซึ่งจะเปิดโอกาสให้เอกชนเข้ามาลงทุนโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนและระบบบริหารจัดไฟฟ้ามากขึ้นในช่วงปี 2567-2580 โดยเฉพาะการลงทุนโรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์ โรงไฟฟ้าพลังงานลม และโรงไฟฟ้าชีวมวลมากที่สุด

แผนพีดีพีใหม่ ดันพลังงานแสงอาทิตย์-ลม-ชีวมวล ลดคาร์บอน สะพัด 6.7 ล้านล้าน

ขณะเดียวกันภาครัฐมีแผนที่จะปลดระวางโรงไฟฟ้า พลังงานฟอสซิล เช่น ถ่านหิน และก๊าซธรรมชาติ จำนวนมาก เพื่อลดการปล่อยก๊าซ CO2 จากการผลิตไฟฟ้า

“การลงทุนก่อสร้างโรงไฟฟ้าดแสงอาทิตย์ดังกล่าว แบ่งเป็น โรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์ราว 9.82 แสนล้านบาท (33.5 ล้าน/เมกะวัตต์) และโรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์ ที่ติดตั้งระบบกักเก็บพลังงาน (BESS) ประมาณ 6.9 หมื่นล้านบาท (69.2 ล้านบาท/เมกะวัตต์) โดยประเมินอยู่ภายใต้สมมุติฐานที่ว่าต้นทุนแผงเซลล์อาทิตย์มีแนวโน้มลดลงเฉลี่ยปีละ 1.5% ในช่วงปี 2566-2579 ตามต้นทุนการผลิตไฟฟ้าจาก แสงอาทิตย์ที่คาดการณ์โดย สถาบันวิจัยด้านพลังงานหมุนเวียยนของสหรัฐอเมริกา(NREL)”

ขณะที่โรงไฟฟ้าพลังงานลม คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจาก 3% ในปี 2566 เป็น 8% ในปี 2580 โดยช่วงปี 2567-2580 ภาครัฐจะรับซื้อไฟฟ้าราว 7,845 เมกะวัตต์ เนื่องจากพลังงานลมปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพียง 11 กรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า/หน่วยไฟฟ้า (gCO2e/หน่วยไฟฟ้า) ซึ่งน้อยที่สุดในบรรดาโรงไฟฟ้าทั้งหมด ใช้เงินลงทุนราว 4.61 แสนล้านบาท(58.8 ล้านบาทต่อเมกะวัตต์) ผู้ประกอบการมีรายได้จากการขายไฟฟ้าตลอดอายุสัญญา 25 ปี ราว 1.35 ล้านล้านบาท สร้างเม็ดเงินหมุนเวียนรวม 1.81 ล้านล้านบาท

ส่วนโรงไฟฟ้าชีวมวล ภาครัฐจะรับซื้อไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าชีวมวลของภาคเอกชนที่จะเกิดขึ้นใหม่ในช่วงปี 2567-2580 ราว 1,436 เมกะวัตต์ มากเป็นอันดับ 3 โดยเชื้อเพลิงชีวมวล ปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพียง 230 กรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า/หน่วยไฟฟ้า (gCO2e/หน่วยไฟฟ้า) ต่ากว่าการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติที่เป็นเชื้อเพลิงหลักถึง 1.1 เท่า

ด้วยกำลังการผลิตดังกล่าว คาดว่าจะก่อให้เกิดเม็ดเงินหมุนเวียน ในธุรกิจโรงไฟฟ้าชีวมวลและธุรกิจที่เกี่ยวข้องราว 7.25 แสนล้านบาท แบ่งเป็น รายได้จากการขายไฟฟ้าให้กับภาครัฐตลอดอายุสัญญาขายไฟฟ้า 20 ปี ราว 5.96 แสนล้านบาท มีเม็ดเงินลงทุนในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวลราว 1.29 แสนล้าน บาท (90.2 ล้านบาทต่อเมกะวัตต์) หรือก่อให้เกิดเม็ดเงินหมุนเวียนรรวม 7.25 แสนล้านบาท

ทั้งนี้ แนวทางการสนับสนุนการลงทุนโรงไฟฟ้าดังกล่าว คาดว่าจะช่วยให้ไทยสามารถผลิตไฟฟ้า ซึ่งมีการปล่อยก๊าซ CO2 เพียง 0.25-0.29 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (kg CO2e)/ต่อหน่วยไฟฟ้า ในปี 2573 ซึ่งตํ่ากว่าเวียยดนามที่แผนพัฒนาพลังงานแห่งชาติฉบับที่ 8 (แผน PDP8) คาดว่าจะอยู่ราว 0.36-0.45 kg CO2e ต่อหน่วยไฟฟ้าในช่วงเวลาเดียวกัน ซึ่งจะทำให้ไทยมีความน่าสนใจในแง่ของการตั้งฐานการผลิตมากขึ้น เมื่อเทียบกับประเทศคู่แข่ง อย่างเวียดนาม โดยเฉพาะในมุมมองของบริษัทระดับโลกที่มี เป้าหมายที่จะบรรลุ Carbon Neutrality ในระยะเวลาที่ชัดเจน

อย่างไรก็ตาม Krungthai COMPASS ประเมินว่า การลงทุนโรงไฟฟ้า แสงอาทิตย์ พลังงานลม และชีวมวล อาจมีความเสี่ยงจากการที่ไม่สามารถ ผลิตไฟฟ้าตามสัญญาขายไฟฟ้า ซึ่งเป็นผลจากความเข้มของแสงอาทิตย์ และความเร็วลมที่ไม่เพียงพอ รวมทั้งปัญหาการขาดแคลนเชื้อเพลิงชีวมวล

ดังนั้น ผู้ประกอบการจึงควรทำการเก็บข้อมูลความเข้มของ แสงอาทิตย์และความเร็วลมในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง เพื่อพิจารณาความ เป็นไปได้ของการผลิตไฟฟ้าก่อนที่จะตัดสินใจลงทุน รวมทั้งควรเลือกใช้เครื่องจักรของโรงไฟฟ้าชีวมวลที่สามารถรองรับการใช้เชื้อเพลิงได้หลากหลายชนิด เพื่อให้สามารถบริหารจัดการเชื้อเพลิงชีวมวล ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น