เคล็ดลับการนำธุรกิจครอบครัวเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ ตอน 2

24 ต.ค. 2567 | 22:27 น.

เคล็ดลับการนำธุรกิจครอบครัวเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ ตอน 2 : Family Business Thailand รศ.ดร.เอกชัย อภิศักดิ์กุล คณบดีคณะวิทยพัฒน์และผู้อำนวยการศูนย์ธุรกิจครอบครัว มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย [email protected]

นอกจากนี้ธุรกิจครอบครัวยังมีผู้นำที่มั่นคงกว่าและสร้างความไว้วางใจจากพนักงานและลูกค้าได้มากกว่าอีกด้วย แม้การเข้าตลาดหลักทรัพย์อาจจำเป็นหรือมีประโยชน์ต่อการเติบโตของบริษัท แต่ก็มีความเสี่ยง เช่น เปิดโอกาสให้สมาชิกครอบครัวที่ไม่สนใจธุรกิจขายหุ้นให้กับนักลงทุนภายนอก และเสี่ยงต่อการเผชิญกับนักลงทุนเชิงกิจกรรม (activist investors)

แต่ความเสี่ยงมากที่สุดคือการสูญเสียการควบคุมเชิงกลยุทธ์ ธุรกิจครอบครัวส่วนใหญ่จึงมักพยายามหลีกเลี่ยงการเข้าตลาดหลักทรัพย์ เพื่อรักษาความมั่นคงและการเติบโตของธุรกิจ หรือหากตัดสินใจเข้าตลาดหลักทรัพย์ ก็ยังคงต้องการรักษาคุณลักษณะของธุรกิจครอบครัวไว้ เช่น การให้ความสำคัญกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ความสอดคล้องกับค่านิยมครอบครัว และวิสัยทัศน์ระยะยาว เป็นต้น

เคล็ดลับการนำธุรกิจครอบครัวเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์  ตอน 2

อย่างไรก็ตามธุรกิจครอบครัวที่เลือกเข้าตลาดหลักทรัพย์สามารถลดความเสี่ยงในการสูญเสียการควบคุมเชิงกลยุทธ์ได้ โดยการเตรียมสมาชิกครอบครัวให้พร้อมรับตำแหน่งผู้นำ ควบคุมคณะกรรมการบริษัท และรักษาสิทธิ์ในการลงคะแนนผ่านการออกหุ้นสองประเภท (dual-class shares) เป็นต้น

โดยในฐานข้อมูลของ Brown-Forman ที่เก็บข้อมูลธุรกิจครอบครัวกว่า 130 บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหุ้น New York Stock Exchange (NYSE)  และ Nasdaq  ของสหรัฐอเมริกา พบว่า 55% มีซีอีโอที่เป็นสมาชิกครอบครัว และ 84% มีประธานบริษัทที่เป็นสมาชิกครอบครัว

3. ศึกษาทางเลือกต่างๆ ธุรกิจครอบครัวมีหลายทางเลือกในการใช้ประโยชน์จากการเป็นบริษัทในตลาดทรัพย์ ขณะที่ยังคงรักษาการควบคุมเชิงกลยุทธ์และการดำเนินงานได้ เช่นการรักษาการควบคุม: ธุรกิจครอบครัวยังคงสามารถควบคุมการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ได้ แม้จะเข้าตลาดหลักทรัพย์ ด้วยการออกหุ้นสองประเภท (dual-class shares) ที่ให้สิทธิ์การออกเสียงมากขึ้นแก่ครอบครัว

การเพิ่มกรรมการอิสระเพื่อเสริมความเชื่อมั่น : การเพิ่มกรรมการอิสระเข้าไปในคณะกรรมการบริษัท ช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ถือหุ้นที่ไม่ใช่สมาชิกครอบครัว และช่วยให้การกำกับดูแลกิจการมีความโปร่งใสมากขึ้น

การจัดการโครงสร้างผู้นำอย่างสมดุล : หากซีอีโอเป็นสมาชิกครอบครัว การมีประธานคณะกรรมการบริษัทที่ไม่ใช่สมาชิกครอบครัวหรือกรรมการอิสระจะช่วยรักษาความสมดุลและเพิ่มความรับผิดชอบในการบริหาร เช่น การตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจ เพิ่มความโปร่งใส ความหลากหลายทางความคิด เป็นต้น ทำให้บริษัทมีการบริหารจัดการที่รอบคอบและยั่งยืนมากขึ้น

ที่สุดแล้วแม้การเข้าตลาดหลักทรัพย์อาจเป็นทางเลือกที่ยากสำหรับธุรกิจครอบครัว แต่หากมีการเตรียมการที่ดีและสามารถรักษาการควบคุมได้อย่างรอบคอบ ครอบครัวก็จะสามารถผสานความสำเร็จระยะยาวของธุรกิจกับการเติบโตในฐานะบริษัทมหาชนได้อย่างยั่งยืน

 

หน้า 15 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 4,038 วันที่ 24 - 26 ตุลาคม พ.ศ. 2567