ในที่สุดการตรวจสอบประวัติ 5 ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ (รธน.) ชุดใหม่ ที่ยืดยื้อยาวนานกว่า 4 เดือน ก็ได้ข้อสรุป โดยในวันที่ 11 กุมภาพันธ์นี้ ที่ประชุมวุฒิสภา (ส.ว.) มีวาระพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลผู้ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
ภายหลังคณะกรรมาธิการ (กมธ.) สามัญเพื่อทำหน้าที่ ตรวจสอบประวัติ ความประพฤติ และพฤติกรรมทางจริยธรรมของบุคคลผู้ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และได้ดำเนินการพิจารณาเสร็จเรียบร้อยแล้ว
5 ว่าที่ตุลาการ
สำหรับบุคคลที่ได้รับ การแต่งตั้งเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญให้วุฒิสภาพิจารณาให้ความเห็นชอบจำนวน 5 คน ได้แก่ นายวิรุฬห์ แสงเทียน ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกา นายอุดม สิทธิวิรัชธรรม ประธานแผนกคดีคำสั่งคำร้องและขออนุญาตฎีกาในศาลฎีกา นาย จิรนิติ หะวานนท์ ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกา นายชั่งทอง โอภาสศิริวิทย์ ตุลาการศาลปกครองสูงสุด และ นายนภดล เทพพิทักษ์ อดีตอธิบดีกรมเอเชียใต้ตะวันออกกลางและแอฟริกา ที่มาจากสัดส่วนผู้ทรงคุณวุฒิ
ว่าที่ตุลาการศาลรัฐ ธรรมนูญ ทั้ง 5 คนดังกล่าว จะมาแทนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชุดเก่าที่พ้นจากตำแหน่ง เนื่อง จากมีอายุครบ 70 ปี จำนวน 5 คน ประกอบด้วย นายนุรักษ์มาประณีต ประธานศาลรัฐธรรมนูญ และตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอีก 4 คนคือ นายจรัญ ภักดีธนากุล นายชัช ชลวร นายบุญส่ง กุลบุปผา และ นายอุดมศักดิ์ นิติมนตรี
ขั้นตอนตั้งตุลาการใหม่
สำหรับขั้นตอนในการพิจารณา 5 ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชุดใหม่ วุฒิสภาจะต้องให้ความเห็นชอบบุคคลผู้ได้รับการเสนอชื่อดังกล่าวด้วยการออกเสียงลงคะแนนลับ ผู้ได้รับความเห็นชอบจะต้องได้รับคะแนนเสียงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภา หรือ 125 คะแนน
เมื่อที่ประชุมวุฒิสภาพิจารณาให้ความเห็นชอบแล้วเสร็จ ต้องรอระยะเวลาอีก 15 วัน เพื่อให้ว่าที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้ง 5 คน ไปลาออกจากตำแหน่งเดิมก่อน จากนั้นว่าที่ตุลาการทั้ง 5 คน จะประชุมร่วมกับตุลาการชุดเดิมที่ยังไม่หมดวาระ อีก 4 คน คือ นาย วรวิทย์ กังศศิเทียม นายทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ นายนครินทร์ เมฆไตรรัตน์ และ นายปัญญา อุดชาชน เพื่อเลือกประธานศาลรัฐธรรมนูญ และนำรายชื่อประธานศาลรัฐธรรมนูญ รวมทั้งตุลาการคนใหม่ขึ้นทูลเกล้าฯ ต่อไป
พลิกปูม 5 ว่าที่ตุลาการ
1. นายวิรุฬห์ แสงเทียน ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกา สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีนิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เคยเป็นผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอาญา, ประธานแผนกคดีพาณิชย์และเศรษฐกิจในศาลฎีกา, รองประธานศาลฎีกา
2. นายอุดม สิทธิวิรัช-ธรรม ประธานแผนก คดีคำสั่งคำร้องและขออนุญาตฎีกาในศาลฎีกา ปริญญาตรีนิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง ปริญญาโทนิติศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อดีตรองประธานศาลอุทธรณ์, อธิบดีผู้พิพากษาภาค 1, อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญากรุงเทพใต้, ผู้พิพากษาศาลฎีกา, ประธานศาลอุทธรณ์ภาค 5, ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา
3. นายจิรนิติ หะวานนท์ ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกา จบปริญญาตรีนิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปริญญาโท Master of Lows Harvard University และปริญญาเอก Doctor of Juridical Science George Washington University ประธานแผนกคดีผู้บริโภคในศาลอุทธรณ์ภาค 2, ประธานแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวในศาลอุทธรณ์, อธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง
4. นายชั่งทอง โอภาสศิริวิทย์ ตุลาการศาลปกครองสูงสุด จบปริญญาตรี วิศวกรรม ศาสตรบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหา วิทยาลัย ปริญญาโท รัฐศาสตร์ (บริหารรัฐกิจ) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปี 2535 ปริญญาเอก จากมหาวิทยาลัยรังสิต
5. นายนภดล เทพพิทักษ์ อดีตอธิบดีกรมเอเชียใต้ตะวัน ออกกลางและแอฟริกา อดีตเอกอัครราชทูต ณ กรุงไคโร สาธารณรัฐอียิปต์
หน้า 10 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 40 ฉบับที่ 3,547 วันที่ 9-12 กุมภาพันธ์ 2563