รศ.ดร.วิษณุ อรรถวานิช อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญงานวิจัยด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการเกษตร เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ในอดีตและปัจจุบันภาคการเกษตรมีความสำคัญต่อประเทศไทยเป็นอย่างยิ่ง ถือว่าเป็นแหล่งการจ้างงานที่สำคัญ 12.62 ล้านคน และมีครัวเรือนในภาคเกษตร 8.06 ล้านครัวเรือน (สศก. 2564)
จากการขยายตัวทางเศรษฐกิจในอดีตทำให้เกิดปัญหาความเหลื่อมล้ำระหว่างภาคอุตสาหกรรมและภาคเกษตร จีดีพี ภาคเกษตรในปี 2563 คิดเป็นสัดส่วนเพียงร้อยละ 8.63% ซึ่งการขยายตัวทางเศรษฐกิจในอดีตทำให้เกิดปัญหาความเหลื่อมล้ำระหว่างภาคอุตสาหกรรมและภาคเกษตร เป็นที่ทราบอาชีพเกษตรกรส่วนใหญ่ของประเทศยังมีฐานะยากจน
แม้ว่าในปัจจุบันเกษตรกรได้นำเครื่องจักรกลการเกษตรสมัยใหม่มาใช้มากขึ้น แต่การผลิตในภาคเกษตรไทยยังมีปัจจัยภายนอกอีกหลายอย่างที่ส่งผลกระทบต่อการผลิตของเกษตรกร และเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของครัวเรือนเกษตร รัฐบาลไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันได้ใช้นโยบายเกษตรในหลากหลายรูปแบบ
อาทิ การแทรกแซงราคาตลาด การส่งเสริมการเรียนรู้ การส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรเชิงพื้นที่ ส่งเสริมมาตรฐานสินค้าเกษตร เป็นต้น ซึ่งในแต่ละนโยบายต่างๆ จำเป็นที่จะต้องใช้งบประมาณในแต่ละปีจำนวนมาก วัตถุประสงค์การของการศึกษาเพื่อประเมินผลกระทบของนโยบายสาธารณะในภาคเกษตรต่อรายได้สุทธิและภาระหนี้สินของครัวเรือนเกษตรกรไทยที่เข้าร่วมโครงการ
1.ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) เป็นศูนย์กลางในการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิต การบริหารจัดการ และการตลาดแก่เกษตรกร รวมทั้งการให้บริการทางการเกษตรและเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ปัจจุบันมี 882 ศูนย์ และ 8,898 ศูนย์เครือข่าย
2. แปลงใหญ่ เป็นนโยบายส่งเสริมการรวมกลุ่มเกษตรกร รวมถึงเชื่อมโยงไปถึงผู้ประกอบการภาคเอกชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เกษตรกรสามารถลดต้นทุนการผลิต มีผลผลิตต่อหน่วยเพิ่มขึ้น ผลผลิตมีคุณภาพ และสอดคล้องกับความต้องการของตลาด
3. การบริหารจัดการน้ำ นโยบายจัดหาพัฒนาก่อสร้าง ปรับปรุงแหล่งน้ำ พัฒนาแหล่งกักเก็บน้ำ ขยายและเพิ่มประสิทธิภาพระบบชลประทาน และก่อสร้างแห่งน้ำในไร่นาและชุมชน และการบรรเทาแก้ไขปัญหาน้ำท่วม และการแก้ไขปัญหาคุณภาพน้ำ
4. แผนการผลิตข้าวครบวงจร บริหารจัดการโดยใช้หลักการตลาดนำการผลิต วางแผนการผลิตข้าวเพื่อให้เกิดความสมดุลกับความต้องการเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการผลิตข้าว
5. Zoning by Agri-Map ก็คือการบริหารจัดการและสนับสนุนจูงใจให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนการผลิตในพื้นที่เหมาะสมเล็กน้อย และพื้นที่ไม่เหมาะสม ให้มีการปรับเปลี่ยนพืชที่เหมาะสม เพิ่มรายได้และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
6. ธนาคารสินค้าเกษตร อาทิ ธนาคารโค กระบือ ปุ๋ยอินทรีย์ เมล็ดพันธุ์ข้าวชุมชน
7. มาตรฐานสินค้าเกษตร GAP/ เกษตรอินทรีย์ เพื่อพัฒนาและยกระดับมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารให้ได้มาตรฐานสากล และมุ่งหมายให้ผู้ผลิตและผู้บริโภคปลอดภัย
8. โครงการส่งเสริมเกษตรทฤษฎีใหม่ บริหารจัดการที่ดินและน้ำเพื่อการเกษตรในที่ดินขนาดเล็กให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ทั้งนี้โดยภาพรวมเกษตรกร 79.29% ของครัวเรือนเกษตรเข้าร่วมอย่างน้อย 1 นโยบาย และมี ร้อยละ 0.52% ของครัวเรือนเกษตรเข้าร่วมทั้ง 8 นโยบาย
โดยสรุปในเรื่องความแตกต่างรายได้เกษตรทางตรงจากการเข้าร่วมแต่ละนโยบายของครัวเรือนเกษตรกร เมื่อเทียบกับกรณีที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการ พบว่า
ขณะที่
ส่วนนโยบายอื่นๆ ที่เหลือไม่พบว่าทำให้รายได้ครัวเรือนเกษตรกรเปลี่ยนแปลง
ความแตกต่างของรายได้เกษตรกรทางตรงต่อไร่ถือครอง จากการเข้าร่วมแต่ละนโยบายของครัวเรือนเกษตรกรเมื่อเทียบกับกรณีที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการ (บาท/ไร่/ปี)
ขณะที่
ส่วนนโยบายอื่นๆ ที่เหลือไม่พบว่าทำให้รายได้/ไร่/ปีครัวเรือนเกษตรกรเปลี่ยนแปลง
ความแตกต่างของต้นทุนการผลิตจากการเข้าร่วมแต่ละนโยบายของครัวเรือนเกษตร เมื่อเทียบกับกรณีที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการ (บาท/ครัวเรือน/ปี)
ขณะที่
ส่วนนโยบายอื่นๆ ที่เหลือไม่พบว่าทำให้ต้นทุนของครัวเรือนเกษตรเปลี่ยนแปลง
ความแตกต่างของต้นทุนผลิตต่อไร่ถือครองจากการเข้าร่วมแต่ละนโยบายของครัวเรือนเกษตรเมื่อเทียบกับกรณีทีไม่ได้เข้าร่วมโครงการ (บาท/ครัวเรือน/ปี)
ขณะที่
นโยบายอื่นๆ ที่เหลือไม่พบว่าการทำให้ต้นทุน/ไร่/ปีของครัวเรือนเกษตร เปลี่ยนแปลง
ความแตกต่างของรายได้สุทธิเกษตรทางตรงจากการเข้าร่วมแต่ละนโยบายของครัวเรือนเกษตรเมื่อเทียบกับกรณีที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการ (บาท/ครัวเรือน/ปี)
ขณะที่
นโยบายอื่นๆ ที่เหลือไม่พบว่าการทำให้รายได้สุทธิของครัวเรือนเกษตร เปลี่ยนแปลง
ความแตกต่างของรายได้สุทธิเกษตรทางตรงต่อไร่ถือครอง จากการเข้าร่วมแต่ละนโยบายของครัวเรือนเกษตรเมื่อเทียบกับกรณีทีไม่ได้เข้าร่วมโครงการ (บาท/ครัวเรือน/ปี)
ขณะที่
นโยบายอื่นๆ ที่เหลือไม่พบว่าการทำให้รายได้สุทธิ/ไร่/ปี ของครัวเรือนเกษตรเปลี่ยนแปลง
ความแตกต่างของสัดส่วนหนี้สินต่อทรัพย์สินรวมของครัวเรือนเกษตรที่เข้าร่วมแต่ละนโยบายเมื่อเทียบกับกรณีที่ไม่ได้เข้าร่วม
ขณะที่
นโยบายอื่นๆ ที่เหลือไม่พบว่าการทำให้สัดส่วนหนี้สินต่อทรัพย์สินรวมของครัวเรือนเกษตรเปลี่ยนแปลง
เมื่อนำรายได้สุทธิคูณกับจำนวนครัวเรือนเกษตรกรที่ได้รับประโยชน์จากนโยบาย สมมติให้ครัวเรือนเกษตร เท่ากับ 8.06 ล้านครัวเรือน การบริหารจัดการน้ำ (26.23% ของครัวเรือนเกษตรเข้าถึงนโยบาย สามารถเพิ่มมูลค่าได้ +378,221 ล้านบาท/ปี
รศ.ดร.วิษณุ กล่าวว่า มูลค่าของผลกระทบจากทั้ง 8 นโยบาย เท่ากับ 180,686.25 ล้านบาท/ปี เมื่อนำมาหักลบงบประมาณที่ใช้จ่ายตลอด 3 ปี 8 นโยบายสร้างมูลค่าผลกระทบเชิงบวก รวม +106,908 ล้านบาท โดยสรุปแม้ว่าโดยภาพรวม 8 นโยบายจะสร้างผลกระทบเชิงบวก แต่จะพบว่าทั้งหมดเกิดขึ้นจากนโยบายการบริหารจัดการน้ำเท่านั้น ดังนั้นควรพิจารณาหาแนวทางปรับปรุงนโยบายอื่นๆ ให้ดียิ่งขึ้น
ข้อเสนอ
1. ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) เน้นการฝึกฝนในภาคปฏิบัติพร้อมการประเมินผลสัมฤทธิ์ที่ไม่ได้วัดเพียงจำนวนผู้เข้าร่วมอบรม และพิจารณาปรับเปลี่ยนผู้นำให้เป็นเกษตรกรรุ่นใหม่
2. แปลงใหญ่ เน้นส่งเสริมแปลงติดกันให้มากขึ้น เพื่อจัดการง่าย และเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน
3. การบริหารจัดการน้ำ ส่งเสริมการขยายแหล่งน้ำนอกเขตชลประทาน อาทิ ส่งเสริมการทำบ่อจิ๋ว และธนาคาน้ำใต้ดิน
4. แผนการผลิตข้าวครบวงจร ลดอำนาจการผูกขาดตลาด และใช้แรงจูงใจแบบมีเงื่อนไขให้เกษตรกรมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการผลิต
5. Zoning by Agri-Map ควรหาวิธีการสร้างแรงจูงใจและสนับสนุนการเงินที่เพียงพอสำหรับเกษตรกรเพื่อดึงดูดการตัดสินใจปลูกพืชอื่นที่มีความเหมาะสมแทนพืชเดิมที่ปลูก
6. ธนาคารสินค้าเกษตร ไม่ยั่งยืนเนื่องจากภาครัฐเป็นฝ่ายให้การสนับสนุนปัจจัยการผลิตตลอดหากหยุดส่งเสริมเมื่อไรโครงการก็จะไม่สามารถดำเนินต่อได้ ดังนั้นควรหาแนวทางที่จะให้พื้นที่ดูแลตนเองเมื่อไม่มีความช่วยเหลือของภาครัฐ
7. มาตรฐานสินค้าเกษตร GAP/ เกษตรอินทรีย์ ควรใช้เทคโนโลยีในการติดตามและจัดทำมาตรฐานสินค้าเกษตรเพื่อลดข้อจำกัดของบุคลากรที่มีไม่มากและลดขั้นตอนการขอมาตรฐาน และให้ความรู้กับเกษตรกร
8. โครงการส่งเสริมเกษตรทฤษฎีใหม่ ควรเน้นคุณภาพของเกษตรกรที่เข้าร่วมและลดการพิจารณาเป้าหมายของจำนวนเกษตรกร กำหนดรูปแบบให้ยืดหยุ่นในการส่งเสริมเกษตรและการใช้พื้นที่แปลง