วันอังคารที่ 21 ธันวาคม 2564 คณะกรรมการนโยบายพัฒนาไก่ไข่และผลิตภัณฑ์ (Egg Board) ครั้งที่ 2/2564 ผ่านระบบ VDO conference Application : ZOOM โดยมี นายนราพัฒน์ แก้วทอง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธาน และนายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งในที่ประชุมมีข้อสรุป ดังนี้
1.เห็นชอบรายชื่อผู้แทนภาคเอกชนในคณะกรรมการนโยบายพัฒนาไก่ไข่และผลิตภัณฑ์ ดังนี้ (1) นางพเยาว์ อริกุล เป็นผู้แทนสมาคมผู้เลี้ยงไก่ไข่ (2) นายดำรงค์ ธาราสมบัติ เป็นผู้แทนสหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่ (3) น.สพ.เอกลักษณ์ ธีรากรสกุล เป็นผู้แทนผู้ค้า (4) นายสุรชาติ กำหอม เป็นผู้แทนผู้ประกอบการ และให้กรมปศุสัตว์จัดทำคำสั่งคณะกรรมการนโยบายพัฒนาไก่ไข่และผลิตภัณฑ์ เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการภาคเอกชน เสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานกรรมการฯ ลงนามเพื่อให้มีผลบังคับใช้ต่อไป
2.เห็นชอบองค์ประกอบและมอบหมายให้กรมปศุสัตว์จัดทำคำสั่งคณะกรรมการนโยบายพัฒนาไก่ไข่และผลิตภัณฑ์ จำนวน 2 ชุด คือ (1)คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ไก่ไข่ (2)คณะกรรมการที่ปรึกษาของคณะกรรมการนโยบายพัฒนาไกไ่ข่และผลิตภัณฑ์ เสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานกรรมการฯลงนาม เพื่อให้มีผลบังคับใช้ต่อไป
3.เห็นชอบแผนการนำเข้าเลี้ยงไก่ไข่พันธุ์ (GP และ PS) ปี 2565 แบ่งเป็น ไก่ไข่ปู่ย่าพันธุ์ (GP) จำนวน 3,800 ตัว และไก่ไข่พ่อแม่พันธุ์ (PS) จำนวน 440,000 ตัว และให้กรมปศุสัตว์จัดสรรโควตาไก่ไข่พันธุ์ (GP และ PS) ปี 2565 ให้กับผู้ผลิตพันธุ์สัตว์ 16 บริษัท รายเดิม โดยให้ทุกบริษัทนำเข้าเลี้ยงจำนวนเท่ากับ ปี 2564 อาทิ บริษัทที่นำเข้าสูงสุด ได้แก่ บมจ.ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) นำเข้าพ่อแม่พันธุ์ไก่ไข่ (PS) จำนวน 116,000 ตัว และปู่ยาพันธุ์ไก่ไข่ (GP) 3,800 ตัว รองลงมา บจก.อาหารเบทเทอร์ จำนวน 72,480 เป็นต้น
4.ให้กรมปศุสัตว์ สรุปความเห็นของคณะกรรมการฯ ในประเด็นเรื่องการประกันราคาของสินค้าไข่ไก่ แจ้งไปยังกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ เพื่อพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง และรายงานความก้าวหน้าให้ Egg Board ทราบในการประชุมครั้งต่อไป
5.เห็นชอบให้มีการปรับปรุงด้านมาตรการของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เพื่อลดต้นทุนให้แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่รายย่อยโดยมอบหมายให้กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ พิจารณาดำเนินการ และรายงานความก้าวหน้าให้ Egg Board ทราบในการประชุมครั้งต่อไป
อย่างไรก็ดีก่อนหน้านี้ นายชัยพร สีถัน กรรมการผู้จัดการบริษัท ชัยพรสหฟาร์ม จำกัด เป็นหนึ่งในตัวแทนการ 9 ราย ที่จะขอแบ่งโควตานำเข้า จาก16 ราย เดิม สาเหตุที่จำเป็นต้องนำเข้า เพราะเกษตรกรตกเป็นเบี้ยล่างต้องซื้อพันธุ์สัตว์ผูกอาหารสัตว์ เป็นธรรมหรือไม่
อย่างไรก็ดีก่อนหน้านี้ นายชัยพร เคยกล่าวว่า จะเดินทางไปฟ้องศาลปกครองกลางหรือไม่ ต้องติดตาม กันต่อไป ว่าจะไปเมื่อไร อย่างไร แล้วผลการตัดสินของศาลจะพลิกมติหรือไม่