แลกหมัดเดือด “นมโรงเรียน” ลั่น! ใครโกงใคร

01 มี.ค. 2565 | 09:42 น.
อัปเดตล่าสุด :01 มี.ค. 2565 | 17:27 น.

“นมโรงเรียน” นัยฤทธิ์ ประธานชุมนุมฯ ฉะ เดือด ซัดมาซัดกลับ แลกหมัดต่อหมัด ลั่น กลาง กระทรวงเกษตรฯ ” ใครโกงใคร” พร้อม 3 สมาคม ยื่นหนังสือ “เฉลิมชัย ศรีอ่อน” ชี้แจง หลัง 8 สหกรณ์-เอกชน ยื่นฟ้องนายกรัฐมนตรี จัดสรรโควตานมโรงเรียนไม่เป็นธรรม

สืบเนื่องจาก เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2565 นายอำนวย ทงก๊ก ประธานกรรมการสหกรณ์โคนมวังน้ำเย็น จำกัด  ร่วมกับ8 บริษัท-สหกรณ์ ประกอบด้วย สหกรณ์โคนมวังน้ำเย็น จำกัด , สหกรณ์โคนมไทยมิลค์  จำกัด , สหกรณ์โคนมมวกเหล็ก  จำกัด, สหกรณ์โคนมปากช่อง  จำกัด, สหกรณ์โคนมเชียงใหม่  จำกัด,

 

สหกรณ์โคนมเชียงราย  จำกัด, สหกรณ์โคนมพัทลุง  จำกัด และ บจก. เทียนขำแดรี่ คอร์ปอร์เรชั่น ได้ยื่นหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี โดยมี “แรมโบ้”  หรือ ดร. เสกสกล อัตถาวงศ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี  เพื่อขอความช่วยเหลือแก้ไขปัญหาน้ำนมดิบของเกษตรกรจําหน่ายไม่หมดและเรื่องการจัดสรรสิทธิ การจําหน่ายนมโรงเรียนไม่เป็นธรรม นั้น

 

ยื่นหนังสือ

 

 

นายนัยฤทธิ์ จำเล ตำแหน่ง ประธานกรรมการชุมนุมสหกรณ์โคนมแห่งประเทศไทย จำกัด เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ตามที่ได้ปรากฏเป็นข่าวบนเว็บไซต์ https/ww.thansettakj.com (ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล) พาดหัวข่าว "8 สหกรณ์- บริษัท" ร้องนายกรัฐมนตรี จัดสรรโควตา "นมโรงเรียน" ไม่เป็นธรรม  เมื่อวันที่  22 กุมภาพันธ์  2565  กล่าวว่า วันนี้  (1 มี.ค.65) ทางชุมนุมสหกรณ์โคนมแห่งประเทศไทย จำกัด พร้อมกับ 3 สมาคม ได้แก่ สมาคมผู้ผลิตนมพาสเจอร์ไรส์ สมาคมนม ยู.เอช.ที  และ สมาคมกลุ่มเกษตรกรผู้รวบรวมนํ้านมดิบ ได้ยื่นหนังสือผ่านนายประยูร อินสกุล รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ถึงปลัดเกษตรและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กักตัวมีคนใกล้ชิดติดโควิด

ทางชุมนุมสหกรณ์โคนมแห่งประเทศไทย จำกัด องค์กรกลางของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมของประเทศไทยขอนำเรียนข้อมูลเพิ่มเติมจากกรณีดังกล่าวข้างต้น ดังนี้

 

1. ประเด็นการช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโควิด – 19  จำนวน 1,400  ล้านบาท ซึ่งจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโควิด – 19  ดังกล่าวนั้น เป็นที่ทราบกันดีว่าประชาชนได้รับความเดือดร้อนเป็นวงกว้างทุกภาคส่วน รวมถึงภาคอุตสาหกรรมนม ซึ่งตลาดนมพาณิชย์มีการชะลอตัว ลดลงกว่า ร้อยละ 3 ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์นมสามารถจำหน่ายสินค้าได้ลดลง มีสต๊อกผลิตภัณฑ์นมค้างสต๊อกเป็นจำนวนมาก ซึ่งส่งผลต่อเนื่องต่อการจำหน่ายน้ำนมโคของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม ซึ่งเกษตรกรได้แก้ไขปัญหาเบื้องต้นของตนเอง

 

4 สมาคม มายื่นหนังสือ

 

ควบคู่กันไปด้วยโดยการพักรีดนม (Dry) เพื่อลดการผลิตน้ำนมโค รวมทั้งผู้ประกอบการแปรรูปผสิตภัณฑ์นมได้ช่วยเหลือเกษตรกร โดยนำน้ำนมโคที่ไม่มีที่จำหน่ายไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์นมโรงเรียน ยู เอซ ที่ แต่จะไม่สามารถนำไปจำหน่ายในตลาดนมพาณิชย์ได้ เพื่อเป็นการยืดอายุการเก็บรักษาน้ำนมโคของตนเอง โดยหากไม่สามารถจำหน่ายผลิตภัณฑ์นมดังกล่าวได้ จะเกิดความเสียหายและส่งผลกระทบต่อเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม

 

ศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบ รวมทั้งแรงงานในห่วงโซ่การผลิตนมและผลิตภัณฑ์นม ซึ่งการที่รัฐบาลได้พิจารณาให้การช่วยเหลือในการจัดซื้อผลิตภัณฑ์นมดังกล่าว มูลค่ากล่องละ  7 บาท ซึ่งต่ำกว่าราคากลางในการจำหน่ายที่กำหนดไว้กล่องละ 7.82  บาท แต่อย่างไรก็ตามสามารถช่วยเหลือบรรเทาปัญหาความเดือดร้อนเร่งด่วนของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโควิด -  ในช่วงระยะเวลาดังกล่าว ให้สามารถระบายผลิตภัณฑ์นมที่ผลิตไว้ และสามารถจำหน่ายน้ำนมโคได้ ไม่ต้องเทนมทิ้งทำให้เกษตรกรมีรายได้ไว้ใช้ในครัวเรือนในช่วงสถานการณ์โควิด

 

 

2. ชุมนุมสหกรณ์โคนมแห่งประเทศไทย จำกัด พิจารณาเห็นว่า มีความจำเป็นอย่างยิ่งในการที่จะนำข้อมูลปริมาณน้ำนมโค่ของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมจากบันทึกข้อตกลงการซื้อขายน้ำนมโค (MOU) มาใช้ในการบริหารจัดการน้ำนมโคทั้งระบบของประเทศไทย ซึ่งรวมถึงการจัดสรรสิทธิการจำหน่ายในโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน เนื่องจากการจัดทำบันทึกข้อตกลง(MOU) ดังกล่าว ในระยะเวลาที่ผ่านได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องและยาวนาน

 

8 สหกรณ์-บริษัท ร้องจัดสรรโควตาตามที่ขอ

 

 

เพื่อเป็นหลักประกันการซื้อขายน้ำนมโคให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมในภาคการผลิต เพื่อจำหน่ายให้กับทางผู้ประกอบการแปรรูปผลิตภัณฑ์นมในส่วนต่าง ๆ ทั้งในส่วนของการนำไปผลิตผลิตภัณฑ์นม ตามวัตถุประสงค์เพื่อจำหน่ายในตลาดพาณิชย์ หรือโควตานำเข้านมผงขาดมันเนย ตามมติครม. และเพื่อจำหน่ายในโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียนฐานข้อมูลน้ำนมดิบเดียวกันในการบริหารจัดการนมทั้งระบบของประเทศไทย ซึ่งจะมีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการมากกว่าการบริหารจัดการน้ำนมโคแบบแยกส่วน ที่การตรวจสอบความซ้ำซ้อนทำได้ยากกว่า อีกทั้งในการจัดทำบันทึก

 

3.ข้อตกลงการซื้อขายน้ำนมโค (MOU) มีขั้นตอน กระบวนการจัตทำและตรวจสอบข้อมูลต่าง ๆ จากทุกภาคส่วนในอุตสาหกรรมนม เป็นที่ยอมรับของภาคเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมและผู้ประกอบการแปรรูปผลิตภัณฑ์นม ในอุตสาหกรรมนมของประเทศไทย มาเกิน 15 ปี ส่วนใน กรณีการใช้ "พันธะสัญญาซื้อขายน้ำนมโค" ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 26 มีนาคม  2562 ควรนำมาเป็นหลักเกณฑ์เรือเงื่อนไขส่วนหนึ่งประกอบการจัดทำบันทีกข้อตกลงการซื้อขายน้ำนมโค (MOU)

 

เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำนมดิบโดยเป็นการใช้ฐานข้อมูลน้ำนมดิบเตียวกันในการบริหารจัดการนมทั้งระบบของประเทศไทย ซึ่งจะมีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการมากกว่าการบริหารจัดการน้ำนมโคแบบแยกส่วน รวมทั้งเป็นหลักประกันการจำหน่ายน้ำนมโคของเกษตรกรในอีกระดับหนึ่ง ซึ่งจะเป็นการช่วยรักษาผลประโยชน์ให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมที่มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น โดยยังคงอยู่ภายใต้ฐานข้อมูลเดียวกัน คือ ฐานข้อมูลปริมาณน้ำนมโคจากบันทึกข้อตกลงการซื้อขายน้ำนมโค (MOU)

 

 

นายกสมาคมพาสเจอร์ไรส์ ชี้แจงเพิ่มเติม

สำหรับประเด็นข้อเรียกร้องขอความช่วยเหลือจากนายกรัฐมนตรีให้กับกลุ่มสหกรณ์โคนมและบริษัทเอกชนที่ได้รับผลกระทบจากกลุ่มองค์กรและกลุ่มบุคคลที่ร่วมกันกระทำความผิดทุจริตคือช่วยเหลือพิจารณาให้กับผู้ร้องสามารถดำเนินธุรกิจการเลี้ยงโคนมและสิทธิจำหน่ายนมโรงเรียนปีการศึกษาหน้าและปีต่อๆไป อย่างมั่นคงเพื่อที่จะได้เป็นหลักประกันให้กับสมาชิกเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมของสหกรณ์และบริษัท รวมทั้งพนักงานลูกจ้างของสหกรณ์โคนมและบริษัทตลอดห่วงโซ่ที่เกี่ยวข้องได้สามารถดำรงอาชีพเพื่อเลี้ยงปากเลี้ยงท้องได้ และมีขีดความสามารถในการชำระหนี้สินที่มีอยู่กับสถาบันทางการเงินจนหมดสิ้นไปโดยกลุ่ม ฯ มีปริมาณน้ำนมโคที่รับจากเกษตรกรจริงและขอยื่นข้อเรียกร้องเพื่อเข้ารับการจัดสรรสิทธิและพื้นที่ในโครงการอาหารเสริมนมโรงเรียนต ามความเหมาะสม ดังต่อไปนี้

 

โดยขอให้ 8  ผู้ประกอบการ บริษัท ขอรับการจัดสรรสิทธิ์โควตานมโรงเรียน 446.487 ตัน/วัน  จากปริมาณน้ำนมโคที่รับซื้อจากเกษตรกรทั้งหมด  576.24  ตัน/วัน นั้น จะเห็นได้ชัดเจนว่าผู้ร้องมีวัตถุประสงค์ ต้องการรับการจัดสรรสิทธิให้ตนเองและพวก จำนวนผู้ประกอบการ-บริษัทฯ คิดเป็นร้อยละ 43  ของโครงการอาหารเสริม(นม)โรงเรียน หรือคิดเป็นร้อยละ 77.48 ของ ปริมาณน้ำนมดิบที่ที่ตนเองอ้างว่ามีน้ำนมติบและรับผิดชอบเกษตรกร

 

นัยฤทธิ์ จำเล

 

นายนัยฤทธิ์ กล่าวว่า ชุมนุมสหกรณ์โคนมแห่งประเทศไทย ขอเรียนว่า ปัจจุบันประเทศไทยสามารถผลิตน้ำนมดิบประมาณวันละ 3,516.719 ตัน  หากกลุ่มคนที่ร้องต้องการเข้าร่วมโครงการเพียงกลุ่มเดียวจะส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมอย่างแท้จริง ในการนี้ ชุมนุมสหกรณ์ฯ ขอขอบพระคุณฯพณฯ ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นอย่างสูง ที่ให้ความสำคัญและเข้าใจปัญหาความเดือดร้อนของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม รวมทั้งให้การส่งเสริม สนับสนุนและช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมของประเทศไทย เพื่อสืบสานและรักษาไว้ซึ่งอาชีพการเลี้ยงโคนม อาชีพที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 พระราชทานให้กับเกษตรกรไทย