นิคมกรีนอุดรฯ จ้บมือ AIS ทะยาน Smart Industrial

25 มี.ค. 2565 | 20:47 น.

นิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี จับมือเครือข่าย เอ ไอ เอส นำศักยภาพโครงข่าย 5G วางโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีดิจิทัล เดินหน้ายกระดับนิคมอุตสาหกรรมภาคอีสาน เสริมขีดความสามารถ ตอบโจทย์การทำงานแบบ Smart Industrial ที่สมบูรณ์แบบ 

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ ที่สำนักงานบริษัท เมืองอุตสาหกรรมอุดรธานี จำกัด  ภายในนิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี หรือ นิคมกรีนแห่งแรกของอีสาน ต.โนนสูง อ.เมืองอุดรธานี นายพิสิษฎ์ พิพัฒน์วิไลกุล  กรรมการผู้จัดการ   บริษัท เมืองทองอุตสาหกรรมอุดรธานี จำกัด ลงนามบันทึกความตกลงความร่วมมือ

 

กับบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส  โดยนายมหัณณพ อภินันทนพงศ์ หัวหน้างานปฏิบัติการภูมิภาค-ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  AIS เพื่อร่วมมืองานบริการวางโครงข่ายโทรคมนาคม บริการอินเตอร์เน็ต และงานบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี

นิคมกรีนอุดรฯ จ้บมือ AIS ทะยาน Smart Industrial

นิคมกรีนอุดรฯ จ้บมือ AIS ทะยาน Smart Industrial

นายพิสิษฏ์ พิพัฒน์วิไลกุล กรรมการผู้จัดการบริษัทเมืองอุตสาหกรรมอุดรธานี จำกัด กล่าวว่า การร่วมมือกับเอไอเอสครั้งนี้ ถือเป็นโอกาสที่ดีในการนำเทคโนโลยี 5G มาใช้ เพื่อยกระดับภาคอุตสาหกรรมในนิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี

 

เพื่อรองรับการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งนิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี ได้รับการคัดเลือกจากการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ให้เป็นนิคมอุตสาหกรรมแห่งแรกของภาคอีสาน ภายใต้แนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน และรับผิดชอบต่อสังคม

นายพิสิษฎ์ พิพัฒน์วิไลกุล  กรรมการผู้จัดการ   บริษัท เมืองทองอุตสาหกรรมอุดรธานี จำกัด

นิคมอุตสาหกรรมอุดรธานีแห่งนี้ จะเป็นกลไกหลักในการสร้างงาน สร้างรายได้ สร้างความเจริญเติบโตให้กับคนไทยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บนพื้นฐานความสมดุลของเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ความสอดคล้องกับกฎหมาย และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี

 

โดยได้รับความเห็นชอบรายงาน EIA จากสํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม   เป็นนิคมอุตสาหกรรมสีเขียวแห่งเดียวของภาคอีสาน  และจัดให้การกำหนดมาตรการการดำเนินการ ภายใต้มาตรการ BCG Industria Model อีกด้วย 

 

ปัจจุบันโครงการมีพื้นที่ 2,200 ไร่เศษ แบ่งการพัฒนาโครงการออกเป็น 2 เฟส เฟสแรกประมาณ 1,300 ไร่ พื้นที่ส่วนหนึ่งเป็นศูนย์กระจายสินค้า ปัจจุบันได้ดำเนินการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเกือบเสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยงานรก่อสร้างระบบสาธารณูปโภค และสิ่งอํานวยความสะดวก แล้วเสร็จกว่าร้อยละ 80

 

พร้อมเปิดให้นักลงทุนเข้ามาเช่าพื้นที่ลงทุนได้ตั้งแต่กลางปี 2565 เป็นต้นไป โดยคาดว่าจะมีนักลงทุนจากประเทศต่างๆ อาทิเช่น จีน ญี่ปุ่น กลุ่มประเทศจากยุโรป ให้ความสนใจเช่าพื้นที่ตั้งโรงงานประมาณ 100 โรงงาน การจ้างงานไม่ต่ำกว่า 20,000 อัตรา และวงเงินลงทุนไม่ต่ำกว่า 74,000 ล้านบาท
    

 

โครงการนิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี เป็นการลงทุนของเอกชน ภายใต้การกำกับดูแลของกนอ. ปัจจุบันได้ลงทุนไปกว่า 20,000 บาท  และได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานต่าง ๆ ในเรื่องสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐาน เช่น การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคตั้งสถานีไฟฟ้าย่อยภายในพื้นที่โครงการ กนอ.ตั้งศูนย์บริการแบบครบวงจร บริการจุดเดียว ไว้อำนวยความสะดวกแก่นักลงทุนในโครงการ การประปาส่วนภูมิภาคสนับสนุนวางระบบท่อส่งน้ำปะปา   การรถไฟแห่งประเทศไทยสนับสนุนการวางระบบราง จากพื้นที่ของรฟท. บริเวณสถานีหนองตะไก้ เข้าสู่พื้นที่ของโครงการ                  

นายมหัณณพ อภินันทนพงศ์ หัวหน้างานปฏิบัติการภูมิภาค-ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เอไอเอส

ด้านนายมหัณณพ อภินันทนพงศ์ หัวหน้างานปฏิบัติการภูมิภาค-ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส กล่าวว่า ที่ผ่านมาเอไอเอสได้นำศักยภาพของโครงข่ายอัจฉริยะ AIS 5G เข้าเชื่อมต่อ

 

เพื่อเสริมประสิทธิภาพการทำงานให้กับภาคธุรกิจ ภาคอุตสาหกรรม หรือแม้แต่ภาคการผลิต ผ่านความร่วมมือกับหน่วยงาน พันธมิตรภาคเอกชน และนิคมอุตสาหกรรมต่าง ๆ ในการเข้าไปวาง Digital Infrastructure

 

รวมถึงการพัฒนาโซลูชันด้านเทคโนโลยีดิจิทัล เข้าไปผลักดันส่งเสริมภาคอุตสาหกรรม ให้มีขีดความสามารถและศักยภาพ ที่พร้อมรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกรูปแบบ

 

อีกทั้งเรายังเชื่อว่าการมีองค์ประกอบด้านเทคโนโลยีในทุกกระบวนการทำงาน ภายใต้ Digital Ecosystem จะสามารถช่วยสร้างความแตกต่าง รวมทั้งสร้างแรงดึงดูดจากนักลงทุน ให้เข้ามาร่วมกันสร้างการเติบโตได้อย่างยั่งยืน 

 

ความร่วมมือในครั้งนี้ นับเป็นอีกก้าวสำคัญ ต่อการทำงานกับภาคธุรกิจในภาคอีสาน ที่นับว่าเป็นอีกพื้นที่ศักยภาพด้านการผลิต โดยเราได้วาง Digital Infrastructure จากโครงข่ายอัจฉริยะ AIS 5G และ Fiber Optic เพื่อให้พร้อมรองรับ และเสริมศักยภาพการบริหารจัดการ

 

ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการภายในนิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี สามารถใช้ศักยภาพจากโครงข่ายสัญญาณในการทำงาน รวมทั้งบริการ Smart Solution ต่าง ๆ อาทิเช่น Smart factory ระบบบริหารจัดการโรงงานอัจฉริยะ, Smart meter , Environment sensor

 

Smart tracking ระบบอุปกรณ์ติดตามรถ, บริการจัดเก็บข้อมูล on cloud ในรูปแบบ Enterprise Cloud, CCTV and video analytics, Smart parking และอื่น ๆ  ที่เอไอเอสมีความพร้อมในการพัฒนา เพื่อร่วมกันยกระดับภาคอุตสาหกรรมของจังหวัดอุดรธานี ให้มีขีดความสามารถและพร้อมแข่งขันในอนาคตต่อไป