ราคาทองคำสูงขึ้นจากวิกฤติยูเครน ด้วยปัจจัยอะไร ไทยได้ประโยนข์ไหม อ่านเลย

31 มี.ค. 2565 | 01:31 น.
อัปเดตล่าสุด :31 มี.ค. 2565 | 08:31 น.

ราคาทองคำสูงขึ้นจากวิกฤติยูเครน ด้วยปัจจัยอะไร ไทยได้ประโยนข์ไหม อ่านเลยที่นี่ ผ่านมุมมองการวิเคราะห์ของธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

ราคาทองคำกำลังจะได้รับอนิสงส์จากสครามระหว่างรัสเซีย และยูเครน เหตุผลเพราะอะไร บทความนี้มีคำตอบ
 

นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังโพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว Thirachai Phuvanatnaranubala เกี่ยวกับสงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครน โดระบุว่า

 

“เฝ้าระวังมหาวิกฤตเศรษฐกิจ” บทความที่ 39

 

แซงชั่นในอดีตเป็นระเบิดนาปาล์ม แต่กรณีรัสเซีย เป็นครั้งแรกที่ใช้แซงชั่นขนาดระเบิดนิวเคลียร์ ตัดประเทศออกจากระบบชำระเงิน และยึดทุนสำรอง

 

มาตรการแซงชั่นเหล่านี้ ไม่มีกฎหมายสากลรองรับ

 

แต่ประเทศที่ถูกแซงชั่น ก็ไม่มีหนทางฟ้องกลับใดๆ ดังนั้น จึงเป็นเรื่องน่ากลัวสำหรับประเทศที่ไม่มีอาวุธต่อสู้กลับ

 

ในด้านการชำระเงินค้าขายระหว่างประเทศ ต่อไปนี้ จะมีหลายประเทศคิดหาช่องทาง ที่แซงชั่นเอื้อมไม่ถึง

 

และรัสเซียกำลังฉายหนังตัวอย่างให้โลกดู โดยกำหนดให้ยุโรปจ่ายค่าก๊าซเป็นรูเบิล ถ้าไม่ยอม รัสเซียจะหยุดส่งก๊าซ

 

ถามว่า จะกระทบยุโรปอย่างไร?

 

ปัญหาหลักน่าจะอยู่ที่การผลิตไฟฟ้า เพราะจะกระทบเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

เศรษฐกิจหลักในยุโรปเรียงจาก เยอรมนี อังกฤษ ฝรั่งเศส อิตาลี สเปน เนเธอร์แลนด์

 

เสรษฐกิจหลักยุโรป

 

ข้อมูลปี 2020 เยอรมนีใช้ก๊าซผลิตไฟฟ้า 12% ซึ่งนับว่าสูง และเนื่องจากไม่ได้สร้างท่าเรือสำหรับนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว ก็จะต้องปิดไฟฟ้าเป็นส่วนๆ

 

เศรษฐกิจจะลดต่ำกว่า trend ไปหลายปี

 

ข้อมูลปี 2020 เยอรมนีใช้ก๊าซผลิตไฟฟ้า 12%

 

ทั้งนี้ สัดส่วนไฟฟ้าที่ผลิตจากลมก็สูงมากถึง 27% และจากภาวะโลกร้อน ปรากฏว่าในบางปี ช่วงฤดูใบไม้ร่วง เคยเกิดปัญหาความเร็วลมลดลง จนกังหันไม่หมุนอีกด้วย

อังกฤษรอดตัว เพราะซื้อก๊าซจากรัสเซียแค่ 4% จึงได้กล้าออกตัวแรงคู่กับสหรัฐ

 

ฝรั่งเศสผลิตไฟฟ้าจากนิวเคลียร์เป็นหลัก ใช้ก๊าซน้อยมาก จึงไม่เดือดร้อนด้านไฟฟ้า

 

อิตาลีเจอปัญหาหนักที่สุด เพราะผลิตไฟฟ้าจากก๊าซสูงมากถึง 33% และส่วนใหญ่เป็นก๊าซรัสเซีย

 

ซึ่งจะกระทบราคาพันธบัตรรัฐบาล ดอกเบี้ยระยะยาวจะสูงขึ้น กระทบบริษัทเอกชนที่ออกหุ้นกู้

 

สำหรับสเปนนั้นรอดตัว เพราะนำเข้าก๊าซจากแอฟริกาเป็นหลัก

 

ส่วนเนเธอร์แลนด์ ก็พึ่งพาก๊าซในการผลิตไฟฟ้าสูง และก็ซื้อก๊าซรัสเซียสัดส่วนไม่น้อย (ลูกศรสีน้ำตาล)

 

การพึ่งพาก๊าซในการผลิตไฟฟ้า

 

อย่างไรก็ดี ข้อมูลข้างต้น แสดงเฉพาะการผลิตไฟฟ้า แต่ถ้าคำนึงถึงการใช้ก๊าซเพื่อการหุงต้ม และเพื่อทำความอบอุ่น คนยุโรปที่เดือดร้อนจะโทษรัฐบาลของตน

 

ราคาก๊าซจากแหล่งอื่นในโลกก็จะสูงขึ้น นอกจากนี้ ก๊าซธรรมชาติเหลวที่ยุโรปจะนำเข้าทดแทน ก็ราคา 2-3 เท่าของก๊าซรัสเซีย

 

ของ visualcapitalist แสดงยุโรปใช้พลังงานนำเข้าในปี 2020 เท่ากับ 57.5% ของพลังงานทั้งหมด

 

โดยในประเทศใหญ่นั้น ระดับสูงมากถึง 60-70% ยกเว้นฝรั่งเศส (ไม่แสดงอังกฤษ)

 

ยุโรปซื้อน้ำมันจากรัสเซียอยู่มากถึง 26.9% ซึ่งมากกว่าสามอันดับถัดไปรวมกัน สัดส่วนสำหรับถ่านหินก็สูงถึง 46.7% และสำหรับก๊าซ 41.1% 

 

ที่ผ่านมา ยุโรปเก็งว่ารัสเซียเสพติดรายได้จากการขายพลังงาน เพื่อใช้ finance การทำสงคราม

 

เพราะลำพังรายได้จากก๊าซ ก็สูงถึงวันละ 800 ล้านดอลลาร์

 

แต่ตะวันตกได้ต้อนปูตินเข้ามุม ทำให้รัสเซียไม่มีทางเลือกทางเศรษฐกิจ เพราะแซงชั่นทำให้คนรัสเซียเดือดร้อนหนัก เงินรูเบิลที่อ่อน บีบให้เงินเฟ้อสูง

 

ประกอบกับในอีกสิบปีข้างหน้า ยุโรปจะเลิกซื้อพลังงานจากรัสเซียอยู่แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องรักษาน้ำใจลูกค้าเดิม ไปเอาใจลูกค้าประเทศอื่นแทนดีกว่า

 

สรุปแล้ว ยุโรปกำลังพบบูเมอแรงกลับ

 

ถ้ารัสเซียตัดก๊าซ รูเบิลจะอ่อน เงินเฟ้อในรัสเซียสูง ราคาพลังงานจะตก เศรษฐกิจยุโรปจะดิ่งลงเหว ขยายวงไปทั่วโลก

 

ถ้ายอมจ่ายเป็นรูเบิล รูเบิลจะแข็ง เงินเฟ้อในรัสเซียลด ราคาพลังงานจะสูงขึ้น เศรษฐกิจยุโรปจะชะลอตัว ขยายวงไปทั่วโลก

 

ตรงนี้ ผู้อ่านบางคนบอกว่า บทความของผมมีแต่การเตือนรัฐบาล (ซึ่งยังไม่เห็นทำอะไร) เตือนผู้อ่าน อ่านแล้วใจเสีย หดหู่

 

ผมจึงขอแจ้งว่า บทความนี้มีความสดใสในบางด้าน

 

ถ้าหากยุโรปไม่สามารถหาซื้อรูเบิลจากตลาดเงินได้ ก็ต้องกว้านซื้อทองคำ เอาไปขอแลกเป็นรูเบิลกับธนาคารชาติ กรณีนี้จะมีผลดีต่อราคาทองคำ

 

สองประเทศที่จะได้ประโยชน์ทันที คือจีนและรัสเซียที่สะสมเอาไว้มาก ส่วนไทยที่ซื้อในช่วงหลายปีนี้ ก็จะได้ประโยชน์ไปด้วย