นางสาวอธิวีณ์ แดงกนิษฐ์ ผู้อำนวยการฝ่ายเศรษฐกิจยาง การยางแห่งประเทศไทย เผยผ่านงาน “Talk About Rubbe” ประจำเดือน พฤษภาคม 2565 กยท.มีการประเมินผลผลิตยาง ในช่วงเดือนมกราคม – เมษายน 2565 ผลผลิตยางทั่วโลกมีประมาณ 4.426 ล้านตัน และมีการใช้ยางประมาณ 4.523 ล้านตัน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าทั่วโลกมีความต้องการใช้ยางมากกว่าผลผลิตยางที่ออกสู่ตลาด ประมาณ 97,000 ตัน
สำหรับประเทศไทยในไตรมาสที่ 2/2565 คาดมีผลผลิตออกสู่ตลาด 0.763 ล้านตัน ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อน 14.37% โดยในเดือนพฤษภาคม และเดือนมิถุนายน คาดว่าจะมีผลผลิตประมาณ 0.209 ล้านตัน และ 0.393 ล้านตัน ตามลำดับ
ในส่วนปัจจัยที่ส่งผลให้ปริมาณผลผลิตยางลดลงในไตรมาสนี้ เนื่องจากสภาพอากาศและฝนที่ตกอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงเดือนเมษายน และผลจากพายุไซโครน โดยกรมอุตุนิยมวิทยา คาดการณ์ว่าประเทศไทยจะมีฝนตกต่อเนื่องไปจนถึงปลายเดือนมิถุนายน ประกอบกับสถานการณ์โรคใบร่วง จึงส่งผลให้ผลผลิตยางไตรมาสนี้ออกสู่ตลาดลดลง
การส่งออกยางและสต๊อกยาง ในช่วงไตรมาสที่ 1 ไทยส่งออกยางธรรมชาติ 1.118 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 5.38% สำหรับไตรมาสที่ 2/2565 คาดว่าจะมีการส่งออกยาง 0.994 ล้านตัน ลดลง 6.36% ในขณะที่สต็อกยางของประเทศจีน ซึ่งเป็นตลาดหลักผู้ซื้อยางจากไทย พบว่า ช่วงไตรมาสที่ 1/2565 มีปริมาณยางในสต๊อกเพิ่มขึ้นจากปลายปี 2564
แต่น้อยกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนสต๊อกยางเดือนเมษายนที่ผ่าน ก็ลดลงจากเดือนนาคมด้วย ถือเป็นปัจจัยหนึ่งที่ช่วยหนุนให้การส่งออกเพิ่มขึ้น
อย่างไรก็ดีตัวชี้วัดการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศผู้ใช้ยาง เศรษฐกิจของประเทศผุ้ใช้ยางทั้งสหรัฐอเมริกา EU ญี่ปุ่น ยังคงขยายตัว เช่นเดียวกับดัชนี PMI ซึ่งเป็นดัชนีชี้นำ GDP ประเทศสหรัฐอเมริกา EU ญี่ปุ่น ยังคงขยายตัวอยู่เหนือระดับ 50 อยู่ที่ 59.20 55.50 และ 53.50 ตามลำดับ
อุตสาหกรรมยางล้อเพิ่มการผลิตสูงขึ้น อุตสาหกรรมยางล้อรถยนต์นั่งขนาดเล็กฟื้นตัวขึ้นหลังสถานการณ์ Covid – 19 เริ่มคลี่คลาย โดยเฉพาะ จีน สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น มียอดผลิตและความต้องการเพิ่มขึ้น 10.2% 19.3% และ 13.1% ตามลำดับ ด้านอุตสาหกรรมยางล้อรถบรรทุก มียอดผลิตและความต้องการเพิ่มสูงกว่าช่วงก่อนสถานการณ์ Covid – 19 โดยจีน อินเดีย และสหรัฐอเมริกา มีผลิตเพิ่มขึ้น 2.5% 16.9% และ 16.4% ตามลำดับ
นางสาวอธิวีณ์ กล่าวถึงโอกาสของยางพารา ไตรมาส 2/2565 ปริมาณการผลิตรถยนต์/รถยนต์ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น ยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าทั่วโลกในปี 2021 อยู่ที่ 6.5 ล้านคัน เพิ่มขึ้น 109% จากปีก่อนหน้า ซึ่งจีนมียอดขายรถยนต์ไฟฟ้ามากถึง 3.2 ล้านคัน ส่วนแบ่งตลาด 15% จากยอดขายรถยนต์ใหม่ในจีน คิดเป็นส่วนแบ่งราวครึ่งหนึ่งของยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าทั่วโลก ทำให้จีนเป็นตลาดที่มีศักยภาพในการเติบโตอย่างมากในปี 2022 นี้ ซึ่งรถยนต์ไฟฟ้าต้องใช้ยางล้อโดยเฉพาะ ดังนั้น ความต้องการใช้ยางเพื่อนำไปผลิตยางล้อจึงเพิ่มสูงขึ้นด้วย
“สถานการณ์การขนส่งทางเรือดีขึ้น ทิศทางของค่าขนส่งทางเรือปรับตัวลดลง รวมถึงภาวะขาดดุลทางอุปทานยางธรรมชาติที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในปีนี้ อีกทั้ง ยอดผู้ติดเชื้อ Covid – 19ลดลง ทำให้กิจกรรมในหลายประเทศกลับมาเป็นปกติ เศรษฐกิจของหลายประเทศเริ่มฟื้นตั
สำหรับความท้าทายของยางพาราไตรมาส 2/2565 ต้นทุนการผลิตในอุตสาหกรรมยางเพิ่มสูงขึ้น เป็นผลมาจากราคาพลังงานและสินค้าโภคภัณฑ์โลกที่ปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน การปรับขึ้นอัตราธนาคารกลางของประเทศสหรัฐอเมริกา สร้างความเสี่ยงต่อภาวะเงินทุนไหลออกและกดดันให้บางประเทศในเอเซียปรับนโยบายการเงินในขณะที่เศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่
อย่างไรก็ดี การให้ความสำคัญกับความยั่งยืนของยางพารา ปัจจุบันเทรนของโลกและหลายหน่วยงานต่างให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน กยท. จึงส่งเสริมในเรื่องการปลูกสร้างสวนยางตาม FSC และการนำระบบ Rubberway เข้ามาใช้สำรวจและเก็บข้อมูลของชาวสวนยาง โดยส่งเสริมให้ปลูกยางตามมาตรฐานและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
นอกจากนี้ กยท. นำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาพัฒนาระบบประมูลยาง เริ่มใช้กับการประมูลยางก้อนถ้วย ช่วยให้ผู้ประมูลยางสามารถเข้าประมูลยางได้สะดวกขึ้นผ่านหน้าจอมือถือ โดยสามารถทราบข้อมูลยาง เช่น DRC และเห็นสภาพของยาง การจัดเก็บยาง เพื่อประกอบการตัดสินใจ ซึ่งจะได้รับยางพาราที่มีคุณภาพเหมาะสมกับราคา ทั้งนี้ เป็นการประมูลแบบปิด ผู้ประมูลแต่ละรายจะไม่ทราบราคาประมูลของกันและกัน เพื่อความเป็นธรรม ราคาประมูลจะเป็นไปตามกลไกตลาด มีการกำหนดราคากลางเปิดตลาดร่วมกันโดย กยท. และสถาบันเกษตรกรผู้ขายยาง
ด้าน นายณกรณ์ ตรรกวิรพัท ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) เปิดเผยว่า ในสถานการณ์ปัจจุบันสภาพอากาศมีการเปลี่ยนแปลงส่งผลโดยตรงกับภาคการเกษตรของประเทศไทย ตามที่ทราบกันดีว่าประเทศไทยเป็นประเทศด้านเกษตรกรรม การเพิ่มขึ้นหรือลดของอุณหภูมิส่งผลอย่างมากต่อผลผลิต ดังนั้น การคาดการณ์ปริมาณผลผลิตของยางพารา อาจต้องมาดูกันใหม่ โดยคาดการณ์ในทุกๆ ไตรมาส ซึ่ง กยท. ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ มาตรการ ZERO CARBON จะเข้ามาเพิ่มโอกาสทางการเกษตรโดยเฉพาะยางพารา
โดย กยท. จะเริ่ม Set Zero ในปี 2565 และมาวิเคราะห์ดูว่ามาตรการ ZERO CARBON จะมีข้อดีข้อเสียกับภาคการเกษตรของเกษตรกรชาวสวนยางอย่างไรบาง ในมุมของ กยท. มองว่าคือโอกาสของเกษตรกรชาวสวนยาง วันนี้ กยท. พร้อมขับเคลื่อนมาตรการนี้ โดย กยท.เป็นผู้นำที่เริ่มการขับเคลื่อนมาตรการ ZERO CARBON ในภาคการเกษตร ขณะนี้ เรามีการทำแผน
โดยในปี 2565 เราจะทำสวนต้นแบบของ กยท. และในอีก 3 ปี ข้างหน้าเราจะต้องเข้าสู่กระบวนการอย่างเต็มรูปแบบ และภายใน 10 ปี สวนยางพาราในประเทศไทยอย่างน้อย 1,000,000 ไร่ ต้องเข้าสู่กระบวนการคาร์บอนเครดิต สวนยางของประเทศไทยจะต้องได้ประโยชน์จากคาร์บอนเครดิต (การประเมินค่าคาร์บอน 0.059 ตันต่อไร่)
ผู้ว่าการ กยท. กล่าวเพิ่มเติมว่า กยท. ไม่ได้ดำเนินการโครงการ ZERO CARBON เพียงหน่วยงานเดียวเรามีความร่วมมือจากหลากหลายภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็น องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ หน่วยงานภาคการศึกษา เช่น มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ที่เข้ามามีส่วนร่วมกับ กยท. รวมไปถึงสภาอุตสาหกรรม และผู้ประกอบการที่ส่งออกทางเรือ เป็นต้น ซึ่
“เราร่วมกันผักดันโครงการนี้ และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ก็ผลักดันเรื่องนี้สู่เชิงนโยบาย ซึ่งจะใช้เป็นกลไกลสนับสนุนการค้าระหว่างประเทศ กยท. พร้อมจะขับเคลื่อนเรื่องนี้อย่างเต็มที่ เราจะต้องร่วมกันสร้างความยั่งยืนเพื่ออนาคต”