นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กล่าวถึงอนาคตสินทรัพย์ดิจิทัล หรือ คริปโตเคอเรนซี่ ในประเทศไทย ซึ่งเป็นเนื้อหาส่วนหนึ่งของ The BIG ISSUE 2022 จัดโดยหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ และฐานดิจิทัล ในงานมีผู้คร่ำวอดจากหลากหลายวงการที่เกี่ยวของกับสินทรัพย์ดิจิทัล
สาระสำคัญเลขาธิการก.ล.ต. ระบุว่า ที่ผ่านมา ก.ล.ต. ไม่เคยปฎิเสธประโยชน์ของดิจิทัล โดยได้นำหลักคิดและกลไกของบล็อกเชนมาปูพื้นโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลของตลาดทุนไทย คือ โครงการแนวทางการนำ Distributed Ledger Technology (DLT) เพื่อการออกเสนอขายหลักทรัพย์ การชำระราคา การส่งมอบ ที่เป็นลักษณะที่ใช้บล็อกเชนเข้ามาเพื่อความโปร่งใส ตรวจสอบ ติดตามได้
โครงการดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจากกองทุนส่งเสริมการพัฒนาตลาดทุน (Capital Market Development Fund: CMDF) สมาคมธนาคารไทย สมาคมบริษัทหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เป็นอย่างดี
นอกจากนี้ก.ล.ต.ยังจัดทำยุทธศาสตร์ของ ก.ล.ต.ในปี 2565 ไปจนถึงปี 2567 มองเป้าหมายไปสู่ความสามารถในการแข่งขันในเรื่อง Inclusiveness และการสร้างความน่าเชื่อถือ ซึ่งมีอยู่ 5 ด้านหลักด้วยกัน แต่ที่ให้น้ำหนักมากที่สุดก็คือการทำให้เป็นตลาดทุนดิจิทัล เพราะต้องการจะทำให้ทุกคนเห็นว่า ก.ล.ต.ตอบรับเพื่อส่งเสริมศักยภาพเศรษฐกิจของประเทศ
ทั้งเรื่อง การพัฒนาอีโคซิสเต็ม การใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมและเทคโนโลยี เพื่อประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งโจทย์นี้จะพูดถึงแลนด์สเคปของสินทรัพย์ดิจิทัล
นอกจากนี้ยังได้ศึกษาพัฒนา เมตาเวิร์ส (metaverse) และเรื่องการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนาและกำกับตลาดทุน ด้วยการออก พ.ร.ก.สินทรัพย์ดิจิทัล ฯ เพราะหน้าที่ของ ก.ล.ต.ตั้งแต่ปี 2535 ก.ล.ต.ได้รับมอบหมายให้ดูแลเรื่องการกระอันไม่เป็นธรรม หน้าที่ถูกกำหนดโดยกฎหมาย ต้องดำเนินการ ต้องรับฟังทุกภาคส่วน พร้อมไปกับความปลอดภัยไซเบอร์ชีเคียวริตี้
สำหรับแผนพัฒนาตลาดทุนไทยฉบับที่ 4 กระทรวงคลังให้โจทย์มาว่า ก.ล.ต. เป็นเจ้าภาพร่วมกับทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง เพราะเราอยากเห็นการใช้ดิจทัล มาส่งเสริมประเทศอย่างแท้จริง ซึ่งก.ล.ต. และเอกชนรวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะเสนอแผนตลาดทุนร่วมกัน ส่วนเรื่องการแก้กฎหมายหลักทรัพย์ ได้เสนอร่างไปกระทรวงการคลังแล้ว อยู่ระหว่างรอกระทรวงคลังพิจารณาความสมบูรณ์ รอบคอบ และเสนอจะ ครม. ต่อไป
เลขาธิการ ก.ล.ต. ได้ไฮไลท์เรื่องการปรับเปลี่ยนเรื่องสินทรพย์ดิจัทัลที่มีสภาพคล้ายคลึงกับหลักทรัพย์ หรือ โทเคนดิจิทัล ซึ่งทาง ก.ล.ต. ยืนยันว่าจะดึงนักลงทุนโทเคน มาอยู่ในกฎหมาย ซึ่งมีการออกไอซีโอไปแล้ว 1 ราย ที่เหลือ 10 กว่าราย เป็นอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องทั้งโรงแรม เครื่องจักร การเปิดแฟรนไชน์ร้านค้า ฯลฯ
“เราพร้อมสนับสนุน จะใช้กลไกโทเคนดิจิทัล ไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศให้ชัดเจน อยู่ในกรอบพัฒนาและดูแลเช่นเดียวกับหลักทรัพย์”