หลายประเทศได้ให้คำมั่นและตั้งเป้าหมายเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gases : GHGs) ให้เป็น net-zero target โดยก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมารวมแล้วกว่า 50% มาจากการใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน การขนส่ง และการผลิตในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกนี้สามารถลดหรือกำจัดไปได้ถ้าใช้พลังงานสะอาด เพื่อลดภาวะโรคร้อน
จำนวนกว่า 83 ประเทศ หรือคิดเป็น 74.2% ของการปล่อย GHGs ทั่วโลก ได้ประกาศเป้าหมายในการสร้างความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutral) เห็นได้จากนโยบายหลายประเทศที่ได้ออกมาตรการส่งเสริมให้มีการใช้พลังงานทดแทนในหลากหลายด้าน ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ การสนับสนุนให้คนเปลี่ยนมาใช้ยานยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicles : EV) แทนยานยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิงจาก Fossil แบบเดิม โดยในหลายประเทศ เช่น นอร์เวย์ เนเธอร์แลนด์ อังกฤษ และอื่น ๆ อีกหลายประเทศ ได้ประกาศการ Phase out หรือหยุดจากการใช้รถยนต์ที่ใช้น้ำมันมาเป็นรถยนต์ไฟฟ้าตั้งแต่ปี 2025 เป็นต้นไป
รถยนต์ไฟฟ้ามีการพัฒนาต่อเนื่องมาโดยตลอด ซึ่งหากพูดถึงรถยนต์ไฟฟ้าจะหมายถึงรถยนต์ที่ใช้มอเตอร์ไฟฟ้าตั้งแต่หนึ่งตัวขึ้นไปในการขับเคลื่อน รวมไปถึง
ซึ่งเหล่านี้โดยเราจะเรียกรวมกันว่า รถยนต์ไฟฟ้า หรือที่คุ้นหูกับคำว่า EV
สำหรับปัจจุบัน ประเทศที่เป็นผู้นำด้านรถยนต์ไฟฟ้าในตลาดโลก ได้แก่ จีน สหรัฐฯ และยุโรป โดย Bloomberg คาดการณ์ว่า ในปี 2040 ยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าจะคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 55% ของยอดขายรถยนต์ใหม่ทั้งหมด และมากกว่า 33% ของจำนวนรถยนต์ที่ใช้บนถนนทั่วโลกคือรถยนต์ไฟฟ้า
ขณะที่ประเทศไทยหากพิจารณาตัวเลขการจดทะเบียนรถยนต์ไฟฟ้าใหม่ ในปี 2017 และ 2021 พบว่ามีจำนวนประมาณ 12,000 คัน และ 38,000 คัน ตามลำดับ โดยจากตัวเลขนี้มีอัตราการเติบโตประมาณ 216% และหากพิจารณาในช่วงระยะเวลาดังกล่าวเป็นรายปี พบว่าเป็นการจดทะเบียนรถยนต์ไฟฟ้าใหม่เพิ่มขึ้นทุกปี
ในส่วนของผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ 18 ราย จาก 20 ราย เช่น BMW group, Toyota, Ford มุ่งมั่นที่จะเพิ่มการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าเพื่อรองรับปริมาณความต้องการที่เพิ่มขึ้น ซึ่งบริษัทเอกชนที่ต้องการดำเนินธุรกิจแบบ zero-emission เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ได้มีการส่งสัญญาณว่าจะปรับระบบการขนส่งสินค้าของบริษัทมาใช้รถยนต์ไฟฟ้าแทน อาทิเช่น Amazon, DHL Group, FedEx, Ingka Group (IKEA) และ Walmart
นอกเหนือจากรถยนต์ไฟฟ้าแล้ว อุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องทั้งหมด เช่น แบตเตอรี่ เซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจน สินแร่ที่ใช้ผลิต และ Internet of Vehicles (IoV) มีโอกาสที่จะเติบโตควบคู่กันไปด้วย โดยจากปี 2015 ถึง 2030 นักวิเคราะห์เชื่อว่าความต้องการแบตเตอรี่ลิเธียมทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นถึง 1,829% รวมไปถึงรายได้จากแร่ต่าง ๆ เช่น ลิเธียม ทองแดง ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า ก็คาดว่าจะเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน
สำหรับ Internet of Vehicles (IoV) ที่ใช้เชื่อมโยงระหว่างรถยนต์ด้วยกัน และโครงสร้างพื้นฐานภายนอก เช่น Sensors, Software และเทคโนโลยีอื่นๆ โดยรถยนต์ใหม่ที่จำหน่ายในจีน ยุโรป และสหรัฐฯ พบว่า ภายในปี 2022 จะเป็น Connected Car เกือบทั้งหมด ซึ่งรถเหล่านี้จะสามารถเชื่อมต่อและสื่อสารระหว่างกันผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งนี้ บริษัทต่าง ๆ เช่น NXP Semiconductor และ Aptiv ที่ให้บริการโซลูชั่นการเชื่อมต่อของรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งมีปัญญาประดิษฐ์ (AI) การเชื่อมต่อระหว่างยานพาหนะ (V2V) และการเชื่อมต่อระหว่างยานพาหนะ to Everything (V2X) รวมไปถึงบริษัทที่ให้บริการด้านจัดการข้อมูลมีส่วนในเทรนด์นี้ด้วยเช่นกัน
จากภาพรวมอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องตามกล่าวไปข้างต้นนี้ จึงนับว่าเป็นหนึ่งในโอกาสการลงทุนใน Electric Vehicles ที่คาดว่าจะเติบโตไปพร้อมกับเศรษฐกิจโลกในระยะยาวมากกว่า 10 ปีข้างหน้า