นายรุ่งโรจน์ ซาลลี ประธานการจัดงาน Thailand Islamic Finance Forum 2024 (TIFF 2024) เปิดเผยว่า ได้ดำเนินการสร้างความรู้ความเข้าใจด้านการเงิน และสหกรณ์อิสลาม
การร่วมกำหนดทิศทางและนโยบายการดำเนินงานตลอดจนการสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านการเงิน และสหกรณ์อิสลามทั้งในและต่างประเทศ เพื่อการเติบโตและการขยายตัวอย่างมั่นคง สร้างความมั่งคั่ง อย่างยั่งยืน
นายธีระ ยีโกบ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การดำเนินดังกล่าวผ่านการจัดงาน Thailand Islamic Finance Forum 2024 (TIFF 2024) ร่วมกับธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ซึ่งจะทำให้เห็นถึง ทิศทางการเงินฮาลาล กับการพัฒนาเศรษฐกิจไทยอย่างยั่งยืน
รวมถึงการส่งเสริมและพัฒนาการเงินฮาลาลในประเทศไทยสู่มาตรฐานสากล ,สหกรณ์อิสลาม สถาบันการเงินฐานคุณธรรม กับการพัฒนาเศรษฐกิจไทย ,ทิศทางและโอกาสการเงินฮาลาล สู่การพัฒนาเศรษฐกิจไทย เชื่อมโยงเศรษฐกิจโลก
อีกทั้งยังมีเรื่องการพัฒนาสหกรณ์เติบโตอย่างมั่นคง สู่การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างมีเสถียรภาพและยั่งยืน ,การเงินฮาลาล กับการพัฒนาประชากรโลก สู่ความมั่งคั่งอย่างยั่งยืน
,ความมั่นคงอย่างยั่งยืนของสถาบันการเงินและสหกรณ์อิสลามมองผ่านกฎหมายในประเทศไทย ,การเงินฮาลาลเปลี่ยนผ่าน สู่ความมั่งคั่งอย่างยั่งยืน ,นวัตกรรมทางการเงินอิสลาม รากฐานสู่ความยั่งยืน
,นวัตกรรมทางการเงินอิสลาม รากฐานสู่ความยั่งยืน และการเงินฮาลาล การเงินฐานคุณธรรม เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนไทย โดยจะเป็นการรวมด้านการเงินอิสลาม สหกรณ์ ธนาคาร การลงทุน ตะกาฟุล การศึกษา และงานวิจัย
ร่วมกำหนดทิศทางและนโยบายการดำเนินงานสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านการเงินการลงทุน และสหกรณ์อิสลามทั้งในและต่างประเทศ เพื่อการเติบโตและการขยายตัวอย่างมั่นคง เครือข่ายสหกรณ์อิสลามแห่งประเทศไทย ชุมนุมสหกรณ์อิสลามแห่งประเทศไทยจำกัด ร่วมกับธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย และภาคีเครือข่ายด้านการเงินอิสลาม เป็นการร่วมกันของเครือข่ายสหกรณ์อิสลามแห่งประเทศไทย เพื่อให้ได้รู้ความก้าวหน้าของระบบการเงินของอิสลามรวมถึงนวัตกรรมทางการเงินอิสลามซึ่งเป็นระบบคุณธรรมที่ไม่มีดอกเบี้ย
ระบบการเงินอิสลาม ต้องอยู่บนพื้นฐานกฎหมายอิสลาม หรือหลักชะรีอะฮ์ เพื่อให้การดำเนินธุรกิจหรือธุรกรรมที่เกี่ยวข้องถูกต้องตามหลักชะรีอะฮ์ ที่เกี่ยวกับการให้ทำได้ (หะลาล) และการห้าม (หะรอม) ซึ่งข้อห้ามหลักในการทำธุรกรรมสำหรับการเงินอิสลาม คือ ห้ามริบา (Riba) หรือดอกเบี้ย ซึ่งเป็นการเอารัดเอาเปรียบ และซ้ำเติมลูกหนี้ ระบบการเงินอิสลามจึงใช้ระบบแบ่งปันผลกำไรขาดทุน (profit and loss sharing) แทนระบบดอกเบี้ย
หมายถึงทั้งฝ่ายธนาคาร ผู้ฝากเงิน ทุกฝ่ายมีความเสี่ยงร่วมกัน แนวคิดของระบบการเงินอิสลาม เป็นเรื่องของคนที่มีกำลังมากกว่าสนับสนุนคนที่มีกำลังน้อยกว่า ไม่ใช่เรื่องดอกเบี้ย เรื่องหลักคือการทำให้คนแข็งแรง ความแข็งแรงของคน ของชุมชน เป็นส่วนสำคัญในการพยุงและยกระดับสังคม เป็นระบบการเงินที่อยู่บนพื้นฐานของของความยุติธรรมและเป็นธรรม (justice & fairness) ซึ่งก็คือหลัก ESG