เปิดรายงานการประชุมคณะกรรมการ กนง. ครั้งที่ 4/67

04 ก.ย. 2567 | 07:34 น.
อัพเดตล่าสุด :04 ก.ย. 2567 | 07:38 น.

เปิดรายงานกนง.ฉบับย่อ พบภาวะการเงินโดยรวมตึงตัวขึ้น ยันตระหนักถึงความเชื่อมโยงระหว่างภาคเศรษฐกิจและภาคการเงิน (macro-financial linkages) เห็นสัญญาณการด้อยคุณภาพที่เริ่มกระจายจากครัวเรือนกลุ่มรายได้น้อยไปยังกลุ่มรายได้ที่สูงขึ้น

การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ครั้งที่ 4/2567 เมื่อวันที่ 16 สิงหาคมและ 21 สิงหาคม 2567 กรรมการเข้าร่วมประชุมคือ นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ประธานกรรมการ นางอลิศรา มหาสันทนะ รองประธาน นางรุ่ง มัลลิกะมาส นายไพบูลย์ กิตติศรีกังวาน นายรพี สุจริตกุล นายรุ่งโรจน์ รังสิโยภาส นายสันติธาร เสถียรไทย

ประเด็นสำคัญที่คณะกรรมการฯ อภิปราย

คณะกรรมการฯประเมินว่า เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวตามที่ประเมินไว้ โดยเศรษฐกิจในระยะข้างหน้าจะขยายตัวสมดุลขึ้นจากทั้งอุปสงค์ในประเทศและภาคต่างประเทศ อย่างไรก็ดี คณะกรรมการฯ มีความกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจในบางภาคส่วนโดยเฉพาะ

  1. การบริโภคภาคเอกชนที่แรงส่งอาจชะลอกว่าที่ประเมินไว้ จากปัจจัยต่าง ๆ เช่น รายได้แรงงานมีแนวโน้มฟื้นตัวช้าลง โดยเฉพาะลูกจ้างภาคการผลิต และผู้ประกอบอาชีพอิสระ ความเชื่อมั่นผู้บริโภคในกลุ่มครัวเรือนรายได้ปานกลางถึงต่ำที่ปรับลดลง รวมทั้งคุณภาพสินเชื่อของครัวเรือนบางกลุ่มที่ปรับต้อยลง
  2. การส่งออกและภาคการผลิตในกลุ่มที่ฟื้นตัวช้าและมีแนวโน้มถูกกดดันต่อเนื่องจากปัจจัยเชิงโครงสร้างและความสามารถในการแข่งขันที่ปรับ ลดลง ซึ่งอาจส่งผลต่อการลงทุนภาคเอกชนในระยะต่อไป และอาจมีนัยสำคัญต่อศักยภาพการเติบโต ของเศรษฐกิจในระยะยาว

คณะกรรมการฯประเมินว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มทยอยกลับสู่กรอบเป้าหมายในช่วงปลายปี 2567 และมีแนวโน้มทรงตัวอยู่ใกล้เคียงขอบล่างของกรอบเป้าหมาย ส่วนหนึ่งจากปัจจัยเชิงโครงสร้าง เช่น การส่งผ่านผลของอัตราแลกเปลี่ยนไปยังเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำ และตลาดแรงงานที่มีความยืดหยุ่น จากการมีลูกจ้างอิสระและแรงงานต่างด้าวที่สามารถกลับเข้ามาเป็นลูกจ้างนอกภาคเกษตรได้

จึงทำให้การขยายตัวของเศรษฐกิจส่งผลต่อการปรับขึ้นค่าจ้างแรงงานจำกัดประกอบกับ การนำเข้าสินค้าจีน ที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี อัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับต่ำไม่ได้สะท้อนภาวะเงินฝืด (deflation) และ มีส่วนช่วยบรรเทาปัญหาค่าครองชีพ

โดยเฉพาะครัวเรือนกลุ่มรายได้น้อยที่เผชิญกับอัตราเงินเฟ้อที่สูงกว่า ครัวเรือนกลุ่มอื่นในช่วงที่ผ่านมา เนื่องจากครัวเรือนกลุ่มรายได้น้อยมีสัดส่วนการบริโภคในหมวดอาหารที่สูงกว่า ประกอบกับการปรับราคาของสินค้าราคาถูกมักเพิ่มขึ้นในอัตราที่มากกว่าสินค้าชนิดเดียวกันที่ ราคาแพงกว่า 

ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ เห็นว่า กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อที่ 1-3% มีส่วนช่วยยึดเหนี่ยวเงินเฟ้อคาดการณ์ระยะปานกลางได้ดีและมีความยืดหยุ่นเพียงพอในการรองรับความผันผวนจากปัจจัยด้านอุปทาน เช่น การปรับขึ้นของราคาพลังงานโลกในช่วงที่ผ่านมา รวมทั้งส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อไม่สูงค้างนาน จากปัจจัยดังกล่าว

นอกจากนี้ เศรษฐกิจไทยในระยะข้างหน้าจะเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงของราคา ที่มาจากปัจจัยด้านอุปทานรวมถึงปัจจัยเชิงโครงสร้างที่มีความไม่แน่นอนสูงขึ้น กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อ ที่ยืดหยุ่นจึงมีบทบาทสำคัญในการดูแลเสถียรภาพด้านราคาในระยะปานกลาง

คณะกรรมการฯ ตระหนักถึงความเชื่อมโยงระหว่างภาคเศรษฐกิจและภาคการเงิน (macro-financial linkages) คุณภาพสินเชื่อครัวเรือนชะลอลงโดยเฉพาะสินเชื่อที่อยู่อาศัยและเช่าซื้อ อีกทั้งเห็นสัญญาณของการด้อยคุณภาพที่เริ่มกระจายจากครัวเรือนกลุ่มรายได้น้อยไปยังกลุ่มรายได้ที่สูงขึ้น

จึงเห็นควรให้ ติดตามผลกระทบของคุณภาพสินเชื่อที่อาจส่งผลให้สถาบันการเงินเข้มงวดกับการปล่อยสินเชื่อใน ภาพรวมเพิ่มขึ้น ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อต้นทุนการกู้ยืมและการขยายตัวของสินเชื่อในภาพรวม

รวมทั้ง ส่งผลต่อเนื่องไปยังกิจกรรมทางเศรษฐกิจผ่านการลงทุนและการบริโภคภาคเอกชน และจะย้อนกลับมา กระทบคุณภาพสินเชื่ออีกครั้ง โดยต้องเฝ้าระวังวงจรสะท้อนกลับเชิงลบระหว่างภาคเศรษฐกิจและ ภาคการเงินดังกล่าว (adverse feedback loop) 

กรรมการส่วนใหญ่เห็นว่า อัตราดอกเบี้ย ปัจจุบันอยู่ในระดับที่สอดคล้องกับการขยายตัวของเศรษฐกิจ ที่โน้มเข้าสู่ศักยภาพและการรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจและการเงิน โดยพิจารณาว่า

  • เศรษฐกิจไทยมี แนวโน้มขยายตัวใกล้เคียงกับที่ประเมินไว้
  • หนี้ครัวเรือนยังอยู่ในระดับสูง กระบวนการปรับลดสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อรายได้ (debt deleveraging) ควรเกิดขึ้นต่อเนื่อง

ทั้งนี้ กรรมการจะติดตาม ผลกระทบของคุณภาพสินเชื่อที่ด้อยลงต่อภาวะการเงินและเศรษฐกิจโดยรวมอย่างใกล้ชิด รวมถึงนัยต่อการดำเนินนโยบายการเงินในระยะต่อไป

ขณะที่กรรมการ 1 ท่านเห็นควรให้ลดอัตราดอกเบี้ย นโยบาย โดยเห็นว่า

  1. เพื่อให้สอดคล้องกับศักยภาพเศรษฐกิจที่ขยายตัวต่ำลงจากปัจจัยเชิงโครงสร้างที่ ชัดเจนขึ้น
  2. มีส่วนช่วยบรรเทาภาระลูกหนี้ได้บ้าง โดยเฉพาะครัวเรือนรายได้น้อยและธุรกิจขนาดเล็กที่มี ข้อจำกัดในการปรับตัวจากปัญหาเชิงโครงสร้าง
  3. มีความกังวลว่ากลุ่มที่มีความเปราะบางอาจขยาย ฐานกว้างขึ้น

การดำเนินนโยบายการเงิน

คณะกรรมการฯ มีมติ 6 ต่อ 1 ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 2.50% ต่อปี โดย 1 เสียง เห็นควรให้ ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ต่อปี

"คณะกรรมการฯ เห็นว่า เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวตามที่ประเมินไว้จากการท่องเที่ยวและอุปสงค์ใน ประเทศ ขณะที่การส่งออกโดยรวมฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยการส่งออกสินค้าบางกลุ่มยังถูกกดดันจาก ปัจจัยเชิงโครงสร้างและความสามารถในการแข่งขันที่ลดลง"

ทั้งนี้ เศรษฐกิจในแต่ละภาคส่วนยังฟื้นตัวแตกต่างกัน โดยรายได้แรงงานในภาคการผลิตและผู้ประกอบอาชีพอิสระมีแนวโน้มฟื้นตัวช้ากว่ากลุ่มอื่น ด้านอัตราเงินเฟ้อ มีแนวโน้มปรับลดลงกว่าที่ประเมินไว้ โดยคาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะทยอยกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายในช่วงปลายปี 2567

ขณะที่ภาวะการเงินโดยรวมตึงตัวขึ้นบ้าง ต้นทุนการกู้ยืมของภาคเอกชนผ่านธนาคารพาณิชย์และตลาดตราสารหนี้ทรงตัวใกล้เคียงเดิม แต่ธุรกิจ SMEs และครัวเรือนบางกลุ่มมีภาวะการเงินที่ตึงตัวขึ้นสะท้อนจากสินเชื่อที่ชะลอลงและคุณภาพสินเชื่อที่ปรับด้อยลงโดยเฉพาะสินเชื่อครัวเรือน

ส่วนหนึ่งจากความสามารถในการชำระหนี้ของครัวเรือนกลุ่มเปราะบางที่ปรับลดลงจากรายได้ที่ฟื้นตัวช้าและบางส่วนมาจากลูกหนี้ที่อยู่ภายใต้มาตรการช่วยเหลือทางการเงินที่ดำเนินการมาตั้งแต่ช่วง COVID-19 แต่ไม่สามารถชำระหนี้ได้

ทั้งนี้ ประเมินว่า สัดส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพจะไม่เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด ด้านสินเชื่อภาคธุรกิจโดยรวมทรงตัว แต่สินเชื่อใน อุตสาหกรรมยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์หดตัวส่วนหนึ่งจากปัญหาเชิงโครงสร้าง ขณะที่สินเชื่อ SMEs หดตัว จากความเสี่ยงด้านเครดิตที่สูงขึ้น

"คณะกรรมการฯ เห็นว่า ควรติดตามผลกระทบของคุณภาพ สินเชื่อที่ด้อยลงต่อต้นทุนการกู้ยืมและการขยายตัวของสินเชื่อในภาพรวม รวมถึงนัยต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ"

คณะกรรมการฯ ตระหนักถึงปัญหาการเข้าถึงสินเชื่อของ SMEs จึงสนับสนุนมาตรการเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวเช่น มาตรการค้ำประกันสินเชื่อ รวมทั้งยังสนับสนุนนโยบายของ ธปท. ที่ให้สถาบันการเงินช่วยเหลือลูกหนี้ ผ่านการปรับโครงสร้างหนี้ ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาที่ตรงจุดและมีส่วนช่วยให้กระบวนการปรับลดสัดส่วนหนี้ ครัวเรือนต่อรายได้ (debt deleveraging) เกิดขึ้นต่อเนื่อง

ภายใต้กรอบการดำเนินนโยบายการเงินที่มีเป้าหมายรักษาเสถียรภาพราคา ควบคู่กับดูแลเศรษฐกิจให้ เติบโตอย่างยั่งยืน และรักษาเสถียรภาพระบบการเงิน กรรมการส่วนใหญ่เห็นว่าอัตราดอกเบี้ยปัจจุบัน ยังสอดคล้องกับแนวโน้มเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ และเอื้อต่อการรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจการเงินในระยะยาว

อย่างไรก็ดี คณะกรรมการฯ จะติดตามพัฒนาการของเศรษฐกิจและภาวะการเงินที่มี ความเชื่อมโยงกัน ระยะข้างหน้า โดยจะพิจารณานโยบายการเงินให้เหมาะสมกับแนวโน้มเศรษฐกิจและเงินเฟ้อใน