KEY
POINTS
นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)กล่าวปาฐกถาพิเศษในงานสัมมนา “Big Heart Big Impact สร้างโอกาสคนตัวเล็ก..Power of Partnership จับมือไว้ไปด้วยกัน” ที่จัดโดยสำนักข่าว Thaipublica ในหัวข้อ “สร้างไทยเข้มแข็งด้วยท้องถิ่นนิยม Localism Future of Thailand” ว่า ประเทศไทยจะโตแบบเดิมไม่ได้ จะต้องหารูปแบบการเติบโตทีใหม่ที่ต่างจากที่เคยเติบโต โดยเฉพาะการเติบโตจากท้องถิ่น โดยมี 3 เรื่องที่สะท้อนว่า จะเติบโตไม่ได้ คือ
“ช่วงปี 2544-2548 ไทยมีมาร์เก็ตแชร์อยู่ที่ 0.57% สูงกว่าประเทศเพื่อนบ้านอย่างเวียดนามและอินโดนีเซีย แต่ปัจจุบันสัดส่วนการลงทุน FDI ของไทยค่อนข้างทรงตัว (Flash) ในทางกลับกันเวียดนามและอินโดนีเซียพุ่งสูงขึ้น สะท้อนว่าไทยจะนั่งเพื่อรอ FDI เข้ามาไม่ได้แล้ว เพราะไทยไม่ได้มีเสน่ห์เหมือนเดิม”
แม้ว่า การดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศจะเป็นเรื่องสำคัญ แต่ที่ผ่านมาสะท้อนว่า จะทำแบบเดิมไม่ได้ ไทยมีเสน่ห์ในเมื่อก่อน แต่ตอนนี้ต้องปรับตัว ออกแรงมากขึ้น และจะพึ่งพาต่างชาติเหมือนเดิมไม่ได้ จำเป็นต้องพึ่งความเข้มแข็งภายในมากขึ้น
“เราไม่ควรโตแบบล่าตัวเลข จีดีพี ล่าตัวเลขการลงทุนต่างๆ เพราะท้ายที่สุดที่แคร์คือ ชีวิตความเป็นอยู่ของ ประชาชน และที่ผ่านมาก็ไม่ได้สะท้อนความเป็นอยู่ของประชาชนที่ดีขึ้น ตัวเลขที่ควรล่าคือ ตัวเลขที่สะท้อนชีวิต ความเป็นอยู่ ทั้งเรื่องรายได้ ความมั่งคั่ง หรือตัวเลขอื่นๆ ที่สะท้อนความเป็นอยู่ของประชาชน เราทราบดีว่า ล่าตัวเลขยังไงก็ไม่ได้สวยหรูเหมือนที่ผ่านมา เท่าที่ควร การพึ่งการเติบโตที่กระจุกอยู่ไม่กี่ที่ไม่ยั่งยืน ต้องทำให้เข้ม แข็งกว่าเดิม เติบโตในฐานที่กว้างขึ้น”
สำหรับไทยต้องโตแบบเน้นท้องถิ่นมากขึ้น more local มากขึ้น โดยมีเหตุผลหลักคือ
อย่างไรก็ตาม การโตแบบเน้นท้องถิ่น ต้องโตแบบแข่งขันได้ และต้องมีความเป็นสากล competitive ไม่เช่น นั้นจะเป็นการเติบโตที่ไม่ยั่งยืน โดยยอมรับว่าเป็นเรื่องไม่ง่าย เพราะท้องถิ่นมีความท้าทายหลายด้าน ทำให้ แข่งขันได้ยาก
เช่น คนในท้องถิ่นกระจายตัว ไม่ได้กระจุกตัวเหมือนในกรุงเทพฯ ธุรกิจท้องถิ่นส่วนใหญ่เป็น ธุรกิจขนาดเล็ก ซึ่ง 10 ปีที่ผ่านมา กว่า 90% ของผู้ประกอบการในท้องถิ่นเป็นรายย่อย และมีภูมิศาสตร์และ วัฒนธรรมที่หลากหลาย ให้เศรษฐกิจและการเติบโตไม่กว้างและไม่ยั่งยืน
ทั้งนี้ วิธีการที่ทำให้ท้องถิ่นสากลได้จะต้องมี 5-6 องค์ประกอบด้วยกัน ได้แก่
“สุดท้ายรูปแบบการเติบโตเปลี่ยนไป ออกไปในเชิงท้องถิ่นสากลมากขึ้น สะท้อนความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ซึ่งจะเป็น Inclusive ทำให้การเติบโตยืดหยุ่นและทนท้าน หรือ Resiliency จะเป็นการเติบโตแบบกว้างมากขึ้น โดยจะก่อให้เกิดการแข่งขันระหว่างท้องถิ่น จะช่วยอัพนโยบายต่างๆ ทั้งความสามารถในการแข่งขัน ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ซึ่งเกิดการเติบโตยั่งยืน"