KS ชำแหละ"ความเสี่ยงตลาดหุ้นกู้ไทย" น่าห่วงหรือกังวลเกินเหตุ

25 ม.ค. 2567 | 04:32 น.
อัปเดตล่าสุด :25 ม.ค. 2567 | 05:10 น.

บล.กสิกรไทย (KS) ประเมินภาพรวมตลาดหุ้นกู้ไทยยังอยู่ใน"เกณฑ์ดี" สะท้อนจากอัตราผิดนัดชำระหนี้ แม้ยอดสูง 3.92 หมื่นล้าน แต่แค่ 0.8% ของหนี้คงค้างทั้งหมด และส่วนต่างผลตอบแทน (credit spread) ยังมีเสถียรภาพ มองความเสี่ยง rollover หุ้นกู้ 8.9 แสนล้านบาท "กังวลมากกว่าปัญหา"

บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) กสิกรไทย หรือ KS ประเมินปัญหาสภาพคล่องที่ตึงตัวและความเสี่ยงการ rollover หุ้นกู้ 8.9 แสนล้านบาทในปี 2567 ว่าเป็น"ข้อกังวลมากกว่าปัญหา" บทวิเคราะห์ KS ซึ่งเผยแพร่ล่าสุด (25 ม.ค.67 ) ระบุว่า KSได้เชิญ คุณศิรินารถ อมรธรรม รองประธานอาวุโสฝ่ายวิจัยและพัฒนา สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) เข้าร่วมงาน KS-Expert-Series เมื่อวานนี้ โดยมีผู้จัดการกองทุนจากสถาบันในประเทศ 75 คน เข้าร่วมการประชุมหัวข้อสำคัญ ได้แก่ 

  • 1) การเติบโตอย่างรวดเร็วของตลาดตราสารหนี้ไทยและเหตุผลที่อยู่เบื้องหลัง
  • 2) การผิดนัดช่าระหนี้ของหุ่นกู้และผลกระทบต่อดลาด และ 
  • 3) ตลาดสินเชื่อที่ตึงตัวและความเสี่ยงในการออกหุ้นกู้ใหม่เพื่อทดแทนหุ้นกู้เดิมที่ครบกำหนดอายุ (Roll-over risk) ปีนี้

ความเสี่ยง roll over หุ้นกู้ในปี 2567 เป็นข้อกังวลมากกว่าปัญหา

ตลาดตราสารหนี้ได้กลายเป็นหนึ่งในสามเสาหลักของตลาดการเงินของประเทศไทย มูลค่ารวมของตลาดตราสารหนี้อยู่ที่ 16.5 ล้านล้านบาท ซึ่งใกล้เคียงกับมูลค่าตลาดของตลาดหุ้นไทยและตลาดสินเชื่อของธนาคารซึ่งมีมูลค่า 17.0 ล้านล้านบาท และ 18.3 ล้านล้านบาทตามลำดับ ณ สิ้นปี 2566 โดยตลาดตราสารหนี้ไทยเติบโตอย่างรวดเร็วที่ 5.5% ระหว่างปี 2561-2566 เป็น 16.5 ล้านล้านบาท โดยมีสภาพคล่องสูงและอัตราดอกเบี้ยต่ำ 

อย่างไรก็ตาม ตลาดหุ้นกู้ซึ่งคิดเป็น 30% ของตลาดตราสารหนี้ ได้เดิบโตอย่างรวดเร็วขึ้นด้วยอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปี (CAGR) ในช่วง 5 ปีที่ 7.0% ระหว่างปี 2561-2566 เป็น 4.8 ล้านล้านบาท จากหุ้นกู้ทั้งหมดในตลาด จำนวน 90% เป็นตราสารหนี้ระดับลงทุน ในขณะที่อีก 10% เป็น Junk bond และตราสารหนี้ที่ไม่มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ

ทั้งนี้ภาคเอกชน มีการออกหุ้นกู้โดยเฉลี่ยประมาณ 1 ล้านล้านบาท ในแต่ละปีตั้งแต่ปี 2562 และจะมีหุ้นกู้มูลค่า 8.9 แสนล้านล้านบาท จะครบกำหนดชำระและจำเป็นต้อง rolloverไปในปี 2567 ทั้งนี้ในจำนวนหุ้นกู้ที่ครบกำหนดชำระในปี 2567 จะมีหุ้นกู้ Junk bond และไม่มีอันดับเครดิตอยู่ 1 แสนล้านบาท นักลงทุนหลายรายกังวลว่าตลาดสินเชื่อจะตึงตัว และขาดความเชื่อมั่นจากการผิดนัดชำระหนี้ของหุ้นกู้ในปีที่แล้วและแนวโน้มเศรษฐกิจที่อ่อนแออาจทำให้เกิด Roll-over risk ในปีนี้ 

 

KS ชำแหละ\"ความเสี่ยงตลาดหุ้นกู้ไทย\" น่าห่วงหรือกังวลเกินเหตุ

หลังจากการพูดคุยกับ คุณศิรินารถ เรามีความมั่นใจมากขึ้นว่าตลาดตราสารนี้ยังอยู่ในกณฑ์ดี เนื่องจากการผิดนัดชำระหนี้ของหุ้นกู้ยังอยู่ในระดับต่ำ และส่วนต่างอัตราผลตอบแทนของตราสารหนี้ภาคเอกชน (credit spread) มีเสถียรภาพ ภาครัฐและผู้ที่เกี่ยวข้องกำลังจับตาตลาดและพร้อมให้ความช่วยเหลือในกรณีที่ตลาดการเงินทำงานไม่ปกติ (Market dysfunction) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และกระทรวงการคลัง เคยจัดตั้งกองทุนเพื่อรองรับตลาดในช่วงการระบาดของไวรัสโควิด-19

การผิดนัดชำระหนี้หุ้นกู้ (ไม่รวมการฟื้นฟูกิจการ) อยู่ที่ 0.8 ของยอดคงค้างรวม ณ สิ้นปี 2566 ณ สิ้นปี 2566 มีหุ้นกู้ที่ผิดนัดชำระหนี้จำนวน 3.92 หมื่นล้านบาท และหุ้นกู้ภายใต้โครงการฟื้นฟูจำนวน 7.3 หมื่นล้านบาท การผิดนัดชำระนี้ของหุ้นกู้ (ไม่รวมการฟื้นฟูกิจการ)เพิ่มขึ้น 1.64 หมื่นล้านบาท หรือ 70% YOY เป็น 3.9 หมื่นล้านบาท ในปี 2566 ซึ่งประกอบด้วย ACAP,ALL, APEX, DR, IFEC, JKN และ STARK การผิดนัดชาระหนี้หุ้นกู้ทั้งหมดอยู่ที่ 0.8% ของยอดคงค้างทั้งหมด  และมีบริษัทฯ สามแห่งที่อยู่ภายใต้โครงการฟื้นฟูกิจการ ได้แก่ THAI, PACE,และ RICH

ตลาดหุ้นกู้ยังอยู่ในเกณฑ์ดี  สะท้อนจากความต้องการประมูล bid-to-cover ratio ของตราสารหนี้ระดับลงทุนสูงกว่า 80% ในปี 2566 ในขณะที่ bid-to-cover ratio ของหุ้นกู้ระดับ "A" และระดับที่สูงกว่านั้นสูงกว่า 94-100%  bid-to-cover ratio สำหรับตราสารหนี้ที่ไม่มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ที่ 50-80% 

นอกจากนี้ส่วนต่างผลตอบแทน(credit spread) ของหุ้นกู้ระดับลงทุนลดลง 9 -28bps YOY ในปี 2566 แม้ว่าการผิดนัดชำระหนี้หุ้นกู้จะเพิ่มขึ้น (+70% YoY ในปี 2566) ซึ่งดีกว่าในช่วงที่มีการระบาดของโควิด-19 ในปี 2563 เมื่อ credit spread ของหุ้นกู้ระดับลงทุนเพิ่มขึ้น 28 -150 bps YoY