หมอธีระอัดหน่วยงานดูแลโควิด-19 เหตุใดไม่ให้ข้อมูลติดเชื้อจริงต่อสาธารณะ

09 ก.ย. 2564 | 03:13 น.
อัปเดตล่าสุด :09 ก.ย. 2564 | 10:12 น.

หมอธีระอัดหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดูแลโควิด-19 เหตุใดไม่ให้ข้อมูลผู้ติดเชื้อจริงต่อสาธารณะ แนะนำเสนอจำนวนตรวจที่ทำจริงในแต่ละวัน ทั้ง ATK และ RT-PCR และจำนวนเคสที่ตรวจพบจากแต่ละวิธี

รายงานข่าวระบุว่า รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ (หมอธีระ) คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก "Thira Woratanarat (ป๊ามี้คีน)" โดยมีข้อความว่า
พอคนรู้เท่าทันว่าจำนวนตรวจลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยดูจากจำนวนตรวจเฉลี่ยย้อนหลัง 7 วัน ที่นำเสนอ
สิ่งที่เห็นวันนี้คือ เอาข้อมูลจำนวนตรวจเฉลี่ยย้อนหลัง 7 วันออกไป 
สิ่งที่มาแทนที่คือ ร้อยละการตรวจพบเชื้อ เฉลี่ยย้อนหลัง 7 วัน
คำถามที่ควรถามไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องคือ เหตุใดจึงทำเช่นนี้?
สังคมปัจจุบันต้องการข้อมูลรายละเอียดที่แท้จริง ทันสมัย โปร่งใส ตรวจสอบได้ เพื่อที่จะทำให้คนรู้เท่าทันสถานการณ์ และปฏิบัติตัวได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
สิ่งที่ต้องนำเสนอคือ จำนวนตรวจที่ทำจริงในแต่ละวัน ทั้ง ATK และ RT-PCR และจำนวนเคสที่ตรวจพบจากแต่ละวิธี 
ยากมากเหรอครับกับการให้ข้อมูลจริงและเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ?

สำหรับสถานการณ์การติดเชื้อโควิด-19 (Covid-19) วันที่ 9 กันยายน 2564 ตามการรายงานจากศูนย์ข้อมูลโควิด-19 กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข "ฐานเศรษฐกิจ" พบว่า
มีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่ม 16,031 ราย
ติดในระบบ 12,436 ราย
ติดจากตรวจเชิงรุก 2955 ราย

สถานการณ์การติดเชื้อโควิด-19
ติดในสถานกักตัว 9 ราย
ติดในเรือนจำ 631 ราย
สะสมระลอกสาม 1,309,687 ราย
สะสมทั้งหมด 1,338,550 ราย
รักษาหาย 15,417 ราย
สะสม 1,182,000 ราย
รักษาตัวอยู่ 143,038 ราย
โรงพยาบาลหลัก 42,018 ราย

โรงพยาบาลสนาม 70,288 ราย
แยกกักที่บ้าน 25,750 ราย
อาการหนัก 4364 ราย
ใช้เครื่องช่วยหายใจ 940 ราย
เสียชีวิต 220 ราย
สะสมระลอกที่สาม 13,637 ราย
สะสมทั้งหมด 13,731 ราย
ติดเชื้อเข้าข่าย 1904 ราย
สะสม 99,353 ราย